fbpx

พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ทำให้หนูน้อยติดสมาร์ทโฟน

Writer : Jicko
: 8 มีนาคม 2562

พฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่กังวลใจอย่างหนึ่ง ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่ติดสมาร์ทโฟนมาก แล้วบอกลูกว่าไม่ควรเล่นสมาร์ทโฟนนานๆ บอกกับลูกยังไงก็คงไม่ได้ผลหรอกค่ะ

เหล่าคุณพ่อคุณแม่  ควรจะเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นแบบอย่างที่ดีเสียก่อนก่อนที่จะบอกเด็กๆ นะคะ ว่าแล้วเรามาดูกันเลยว่า พฤติกรรมของพ่อแม่ที่เป็นจุดกำเนินที่ทำให้เด็กๆ ติดสมาร์ทโฟนมีอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

  • ก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนขณะที่อยู่กับลูก

ต้องคิดเสมอว่า พฤติกรรมของเราในวันนี้ส่งผลต่อลูกในวันหน้า ถ้าคุณเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ติดสมาร์ทโฟนแล้ว มาเรียกร้องให้ลูกหยุดเล่นได้นั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างได้ด้วย ถ้าไม่อยากให้ลูกก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟน เราก็ต้องไม่มัวแต่ก้มหน้าก้มตาด้วยนะคะ

  • ให้สมาร์ทโฟนเป็นพี่เลี้ยง

คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องทำงานนอกบ้านอาจจะต้องมีอาการเหนื่อยล้ากันบ้าง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็อยากจะใช้เวลากับตัวเอง อยากพักผ่อน แต่เมื่อเจอลูกงอแงขึ้นมา ก็ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการส่งสมาร์ทโฟนให้กับลูก เพื่อหวังว่าเราจะได้พักเหนื่อย แต่รู้ไหมว่า เมื่อลูกได้สัมผัสเจ้าเทคโนโลยีแล้ว เขาก็จะเรียกร้องและนำไปสู่การติดหนึบมากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนเอาไม่อยู่เลยนะคะ แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่างเราต้องมานั่งกลุ่มใจภายหลังที่ทำพฤติกรรมแบบนี้นี่เองค่ะ

  • สนใจสมาร์ทโฟนมากกว่าเล่นกับลูก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่มัวแต่สนใจสมาร์ทโฟนมากกว่า เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมต่างๆ กับลูก จะทำให้เขาเห็นพฤติกรรมของเราแล้วนำไปเป็นแบบอย่างได้นะคะ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่เมื่อถึงเวลาที่เด็กๆ ได้ทำกิจกรรม ควรส่งเสริมอย่างเต็มที่และทำกิจกรรมร่วมกับเขขา ชักชวนกันไปทำกิจกรรมในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ค่ะ พยายามพาเขาไปทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้หนูน้อยสนใจกิจกรรมและเรียนรู้ถึงการใช้เวลาว่างและการมีงานอดิเรกนั้นเองค่ะ

  • ให้รางวัลลูกด้วยสมาร์ทโฟนตั้งแต่เล็ก

คุณพ่อคุณแม่บางคนคิดว่าเด็กยุคนี้เขาต้องเติบโตมาในยุคดิจิทัล ที่ต้องฝึกเขาตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดนะคะ เพราะเขาเติบโตมาในยุคดิจิทัลอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาที่เขาได้สัมผัสแล้ว เด็กๆ จะสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่วกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดไว้เสียอีกค่ะ แต่ถ้าอยากให้ฝึกจริงๆ อาจจะต้องรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมและฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับวัยของเขามากกว่าค่ะ

  • ไม่จำกัดเวลาหรือสร้างกฎกติกาครอบครัว

การมีกติกาของครอบครัว มิใช่เป็นการฝึกเฉพาะลูกเท่านั้น แต่ยังให้สมาชิกในครอบครัวได้มีกฎกติการ่วมกันภายในบ้านให้เหมาะสมอีกด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีกติกาว่าเด็กๆ หรือคนในครอบครัวควรจะใช้เมื่อไหร่ ควบคุมเรื่องเวลา หรืออาจมีข้อตกลงร่วมกัน เช่น เมื่อทานอาหารห้ามใครก็ตามเล่นสมาร์ทโฟนถ้าไม่จำเป็น เป็นต้น แล้วหันมาสื่อสารกันในรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ที่ควรจะมีการสื่อสารผ่านความรู้สึก สี หน้า ท่าทาง แววตา และมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เล็กจนโตนั้นเองค่ะ

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจำไว้ว่า การพูดคุยกับลูกคือการสอน ส่วนอุปกรณืดิจิทัลเป็นสิ่งของที่ขัดขวางการสอนและการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ถึงแม้เราจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ยุคดิจิทัลที่สมาร์ทโฟนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้วก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นคนสำคัญที่จะสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิตของลูกน้อยนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
22 เมษายน 2562
ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save