fbpx

ทำไมลูกเราไม่สูงเท่าคนอื่นเขาล่ะ ?

Writer : giftoun
: 11 กันยายน 2560

เมื่อลูกของเราอยู่ในวัยเจริญเติบโตนั้น คุณแม่ยอมคาดหวังที่จะเห็นความสูงของลูกที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ แต่ก็อดเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นไม่ได้ บางทีก็มีความสงสัยในใจว่าทำไมลูกเราไม่สูงเท่าคนอื่นเขาล่ะ ? ตอนนี้ทาง Parents One ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วดังนี้ค่ะ

นอนหลับไม่เพียงพอ

ในขณะที่ลูกยังเล็กนั้นควรจะได้นอนพักอย่างน้อย 7- 8 ชั่วโมงต่อวัน การพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้ growth hormone ที่ทำให้สูงขึ้นนั้นทำงาน การปล่อยให้เด็กดูทีวี, โทรศัพท์คุยกับเพื่อนนานๆ หรือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์จนดึกจะทำให้ลูกเจริญเติบโตช้าลง ทางที่ดีเด็กวัยเรียนควรนอนก่อน 3-4 ทุ่มและหลับรวดเดียวถึงเช้าค่ะ

ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

การที่ลูกของเราได้รับสารอาหารและแคลอรี่ที่ไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกและในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ดังนั้นควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และมีปริมาณเพียงพอจะทำให้ความสูงของลูกเพิ่มขึ้นค่ะ

การเจ็บป่วยเรื้อรังในเด็ก

การเจ็บป่วยเรื้อรังในเด็ก เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคเลือด ฯลฯ ถ้าโรคเหล่านี้มีอาการค่อนข้างมาก จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ แม้ว่าจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถรักษาและควบคุมได้การดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถทำให้การเจริญเติบโตของเด็ก กลับเข้าใกล้เคียงตามเกณฑ์ปกติเหมือนเด็กคนอื่นได้ค่ะ

ความเครียดทางจิตใจ

ถ้าเด็กมีความเครียดทางจิตมากและเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเด็กในรายที่มีภาวะเครียดทางจิตใจที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่อายุยังน้อยๆ เช่น วัยทารก ก็จะมีผลทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ช้าลง เช่น เด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กถูกทำร้าย ฯลฯ ดังนั้นความอบอุ่นของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมาก คอยถามลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอและสังเกตอย่างใกล้ชิดถึงจะดีที่สุดค่ะ

ขาดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็สำคัญมาก ส่วนใหญ่เด็กๆในกรุงเทพ จะใช้เวลาในการเดินทางไปกลับระหว่างโรงเรียนกับบ้านค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาการจราจร อีกทั้งยังต้องเรียนพิเศษนอกเวลา ทั้งช่วงเย็น และในช่วงวันหยุดอีก ทำให้ไม่มีเวลาออกกำลังกายกันเลย ยิ่งทำให้การเจริญเติบโตของลูกช้าเข้าไปใหญ่ คุณแม่จึงควรจะหาโอกาสให้ลูกได้เล่นและได้ออกกำลังกายด้วยถึงจะดีค่ะ

ความผิดปกติของฮอร์โมน

ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยนั้น สามารถแบ่งออกเป็นฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิดคือ ธัยรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid hormone) และ ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (โกรทฮอร์โมน=Growth hormone) ทั้งนี้สามารถขอคำแนะนำในการตรวจเช็คอาการเหล่านี้ได้จากคุณหมอค่ะ

โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง

โรคทางพันธุกรรมบางอย่างมีส่วนทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าลงได้เหมือนกัน เช่น ในเด็กผู้หญิง ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างผิดปกติและไม่สูง อาจเป็น Turner’s syndrome พบในอัตราประมาณ 1 ต่อ 2,000 ราย ซึ่งเป็นความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (X chromosome) แทนที่จะเป็น XX อย่างปกติ กลับมีขาดหายไปหนึ่ง X กลายเป็น XO ซึ่งเด็กจะดูเตี้ยและมีความผิดปกติของรังไข่ ทำให้เมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่นจะไม่มีประจำเดือน ซึ่งการรักษาแม้ว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ครโมโซมที่ผิดปกติได้ แต่แพทย์ก็สามารถให้ฮอร์โมนบางอย่างเพื่อช่วยทดแทนการทำงานของรังไข่ที่ไม่สร้างฮอร์โมนของรังไข่เหมือนคนปกติค่ะ

โดยหลักแล้วหากคุณแม่อยากให้ลูกมีการเจริญเติบโต เต็มที่สมวัยของเขาแล้ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ การได้รับอาหาร และ มีภาวะโภชนาการที่ดี มีเวลานอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรหมั่นสังเกตลูกน้อยสักนิดว่ามีความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจหรือไม่ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

ที่มา – คลินิกเด็ก.คอม

 

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
3 กรกฏาคม 2560
ข้อกังวลเมื่อลูกถนัดซ้าย
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
น้ำนมไม่ไหลทำอย่างไรดี ?
เตรียมตัวเป็นแม่
ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
29 สิงหาคม 2560
12 ข้อดีจากการให้นมแม่
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save