บางทีคุณแม่ก็สงสัยว่าทั้งๆ ที่เลี้ยงลูกเองแท้ๆ แต่ทำไมลูกถึงยังดื้อกับคุณแม่มากกว่าใครกันนะ คำถามนี้มีคำตอบที่น่าสนใจหลายข้อด้วยกัน จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ
คุณแม่ตามใจ
ส่วนมากคุณแม่มักจะเป็นผู้คุมกติกาของครอบครัวอยู่แล้ว ถ้าคุณแม่ผู้กฎเป็นคนตามใจลูกเสียเอง จะทำให้ลูกได้ใจและดื้อกับคุณแม่ ยิ่งคนในบ้านตามใจลูกด้วยแล้ว ลูกก็จะดื้อกับคุณแม่ที่ดูแลใกล้ชิดยิ่งกว่าค่ะ
เป็นช่วงวัยที่ติดแม่
เด็กในวัย 6 – 9 เดือนจะติดคุณแม่เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คุณแทบจะกระดิกตัวไม่ได้เลยก็ว่าได้ พอติดคุณแม่แล้วนั้นก็จะดื้อกับคุณแม่ได้โดยง่าย ถ้าคุณแม่ให้ลูกอยู่ในกฎเกณฑ์มีระเบียบมาตลอดตั้งแต่ก่อน 6 เดือนจะลดอาการนี้ลงได้ค่ะ
โตจนใกล้เวลาแยกตัวแล้ว
เมื่อลูกมีอายุใกล้สามขวบแล้ว ใกล้เวลาที่จะแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่จริงๆ แล้ว จะเป็นเวลาที่ลูกนั้นทดสอบเสาหลักของบ้านอย่างแม่หนักขึ้นไปอีก เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ที่รักนั้นจะยังดีเท่านี้ ตลอดไปค่ะ
ต้องการแม่เป็นพิเศษ
บางทีลูกอาจเกิดมาเป็นเด็กที่ต้องการคุณแม่มากเป็นพิเศษจริงๆ ซึ่งทางนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ได้ยืนยันว่าเวลาพบเด็กแบบนี้ จะไม่มีคำว่าติดมากไป ในทางตรงข้ามถ้าคุณแม่หักดิบบางอย่างทิ้งไป ลดความสนิทลงมา ความเสียหายจะตามมาจนลูกกลายเป็นเด็กดื้อก็เป็นได้ค่ะ
อยากได้รับความสนใจ
การที่เราดื้อกับคนที่รักนั้น คงเป็นเพราะอยากได้รับความสนใจกับคนที่รักมากที่สุด ลูกก็เช่นเดียวกันค่ะ ลูกนั้นอยากได้รับความรักและความสนใจจากคุณแม่มากที่สุดและการดื้อเป็นสิ่งลูกนั้นแสดงออกถึงการอยากได้รับความสนใจนั้นค่ะ
กลิ่นแม่เฉพาะตัว
เพราะตัวของคุณแม่นั้นมีกลิ่นน้ำนมและกลิ่นตัวเฉพาะของคุณแม่เอง เมื่อลูกเจอเป็นต้องดื้อต้องดิ้น เป็นพฤติกรรมที่ทำมานานตั้งแต่เกิดแล้วค่ะ
คิดว่ายังไงคุณแม่ก็รัก
ด้วยความที่ลูกจะสนิทกับแม่ เลยคิดว่าถึงจะดื้อยังไงคุณแม่ก็รักอยู่ดี ส่วนคนอื่นนั้นไม่สนใจว่าจะเป็นยังไง ไม่รักก็ไม่สนใจขนาดนั้น บางทีก็อยากได้แค่ขนมก็พอ เจอกันแปบเดียวเลยยังไม่ทันได้ดื้อใส่ค่ะ
ที่มา