ช่วงนี้ต้องบอกก่อนเลยว่า เดี๋ยวฝนก็ตก เดี๋ยวแดดก็ออก ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ หลายต่อหลายคนก็ป่วยไปตามๆ กัน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ป่วยง่าย ทำให้ช่วงนี้ไม่สบายเอาแบบง่ายๆ เลยค่ะ
ซึ่งช่วงหน้าฝนแบบนี้เด็กๆ คนหนีไม่พ้นการเป็นไข้หวัด ซึ่งคุณแม่ๆ ทราบกันหรือไม่ว่า นอกจากไข้หวัดที่สามารถติดเด็กๆ แล้ว การที่เด็กเล็กเป็นหวัด ก็ทำให้เขา เป็น “โรคหวัดขึ้นหู” ได้ด้วยค่ะ แล้วเจ้าโรคนี้จะเป็นอย่างไร อันตรายกับลูกของเราหรือไม่ ไปดูกันเลยค่ะ
โรคหวัดขึ้นหู คืออะไร
โรคหวัดขึ้นหู มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อย่างเช่น เป็นหวัด ลำคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แล้วเชื้อเกิดลุกลามผ่านท่อปรับความดันของหูที่อยู่ในโพรงหลังจมูก หรือ “ท่อยูสเตเชี่ยน” เข้าไปยังหูชั้นกลาง
พบว่า “ร้อยละ 80 ของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ” เคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง
อาการ
คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะหากเป็นกลุ่มเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถสื่อสารหรือพูดได้นั้น ต้องสังเกตให้ดีกว่าเด็กโต ซึ่งอาการต่างๆ ได้แก่
- ร้องไห้โยเยเสียงดังโดยไม่มีสาเหตุ
- ชอบจับ / ดึง ตรงบริเวณรูหู
- หากใครเอามือถูกหู ผ จะร้องไห้ทันที
- มีกลิ่นเหม็นบริเวณช่องหู
- ลูกบ่นว่าปวดหู / หูอื้อ
- ได้ยินไม่ชัดเจน
- พูดเสียงดังกว่าปกติ
- ไม่สนใจเมื่อถูกเรียก
การดูแลรักษา
- ตรวจและวินิจฉัยโรคโดยใช้เครื่องตรวจวัดความดันในห้องหูชั้นกลาง และใช้กล่องส่องหู เพื่อตรวจสอบความรุนแรง
- รักษาตามอาการของไข้หวัด เช่น ดูน้ำมูก เสมหะ โดยใช้ลูกยางแดง หรือใช้น้ำเกลือหยอดจมูกให้น้ำมูกละลาย แล้วจึงดูดน้ำมูกออก
- หากลูกมีเสมหะตามอาการ เช่น น้ำมูกเขียว อาจให้ยาปฎิชีวนะ หรือ ยาหยอดจมูกเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
- ดูเอาหนองออกมา และให้ยาหยอดหรือยากินแก้อักเสบ กรณีที่หมอรักษาจนหนองแห้แล้ว ควรพยายามไม่ให้น้ำเข้าหูลูก เพราะแก้หูยังทะลุอยู่นั้นเอง หากน้ำไม่สะอาดเข้าหูไป อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นกลางอีกรอบก็ได้
- การประคบด้วยน้ำอุ่นที่หู ช่วยลดอาการปวดได้ และอาจจะให้ลูกดูดน้ำอุ่นหรือนมบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ท่อยูสเตเชี่ยนเปิด และลดอาการปวดหูได้
- ในเด็กโต อาจจะให้ลูกเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยลดอาการปวดหูได้ค่ะ
- ในการรักษาที่ดีที่สุด คือ ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหวัดนั้นเองค่ะ
- ในกรณีที่เด็กมีโรคประจำตัว เช่น เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นหลังรักษาด้วยยา คุณหมอจะรักษาด้วยการฝังท่อปรับความดันแก้วหู โดยต้องวางยาสลบ และพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 วัน หรือบางกรณีที่ไม่ต้องนอนพักฟื้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ร่างกายจะดันท่อที่ฝังให้ออกมาเองค่ะ
เพราะฉะนั้น เมื่อลูกเป็นไข้ หรือมีอาการปวดหู หูอื้อก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการและพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังสื่อสารไม่ได้ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด อย่าละเลย เพราะอาจจะทำให้มีโรคแทรกซ้อนได้ในที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : fcdthailand.org , amarinbabyandkids , doctor.or.th , Enfababy