fbpx

รู้จักสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ป้องกันคุณแม่เป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

Writer : Mneeose
: 21 พฤศจิกายน 2561

เหล่าคุณแม่หัวอกเดียวกันต้องเคยประสบปัญหาตอนตั้งครรภ์ แล้วอยากกินแต่ของหวานๆ พวกขนมเค้ก ชาไข่มุก แต่ดันกินไม่ได้ไหมคะ? เพราะอาจเกิดปัญหาโรคเบาหวานตามมาได้ และหากเรากินของหวานมากๆ จะส่งผลเสียต่อลูกในท้องแน่นอนค่ะ เป็นช่วงที่ทรมานมากจริงๆ เราจึงขอนำเสนอ “สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือที่เรียกว่า NNS” ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังประสบปัญหานี้กินแทนของหวานค่ะ

1. หญ้าหวาน (Stevia)

หญ้าหวาน เป็นสมุนไพรที่สกัดมาจากธรรมชาติ สามารถนำมาปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ทุกเมนู และทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศา รับรองความปลอดภัย และไม่มีผลข้างเคียงกับสุขภาพค่ะ เรื่องรสชาติจะมีรสหวานแบบธรรมชาติ ติดปลายลิ้นนาน และไม่ขมเหมือนแอสปาร์แตม แถมยังหวานกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่าค่ะ อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เพราะหญ้าหวานไม่ให้พลังงาน เรียกง่ายๆ ว่า มีแคลอรี่เป็น 0 % แต่มีข้อเสีย คือ มีราคาค่อนข้างสูง หญ้าหวานมักถูกใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และคนที่ต้องการลดน้ำหนักนั่นเองค่ะ

หากจะทานหญ้าหวาน ไม่แนะนำให้ต้มกินหญ้าหวานแบบเปล่าๆ แบบยาค่ะ แต่ให้ต้มหญ้าหวานพร้อมสมุนไพรให้ความหวานได้  ไม่แนะนำให้กินหญ้าหวานสกัดแคปซูล หรือแบบเม็ด ควรกินแบบซองที่สกัดสำเร็จแล้ว ใช้ใส่ผสมเครื่องดื่มได้

 

2. ซูคราโลส (sucralose)

เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เพื่อเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ไม่ให้พลังงาน ซูคราโลส มักถูกผสมลงในเครื่องดื่มและอาหาร เช่น ขนมอบและแป้งผสมสำหรับทำขนมอบ  หมากฝรั่ง ชาและกาแฟ เป็นต้น มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 600 เท่า จึงใช้ในปริมาณน้อยกว่าน้ำตาลมาก ให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล แต่ไม่มีรสขมติดลิ้น ที่สำคัญ คือ ไม่ทำให้ฟันผุเหมือนทานน้ำตาล ละลายในน้ำได้ดี จึงใช้ปรุงอาหารและขนมทุกชนิดที่ต้องใช้ความร้อนสูงและไม่สูญเสียความหวาน ไม่เหมือนน้ำตาลเทียมที่ใส่ได้เฉพาะกาแฟ ที่สำคัญ คือ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน ใช้ได้ในอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเก็บรักษาได้เช่นเดียวกับน้ำตาล มีราคาปานกลาง

 

3. แอสปาแตม

เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนแอสปาร์ติกและฟีนิลอะลานีน โดยผ่านกระบวนการเคมี เหมาะสำหรับใส่ในเครื่องดื่มมากกว่าใช้ปรุงอาหาร เพราะอาจจะละลายได้ เมื่อเจอความร้อนที่สูงมากๆ แอสปาร์แตมยังเป็นสารสังเคราะห์ที่หากได้รับในปริมาณมากๆแล้ว จะเกิดการสะสมในร่างกาย แอสปาแตม มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า ข้อเสียของแอสปาเเตม คือ สลายตัวในอุณหภูมิที่สูง จึงมักเห็นคำแนะนำไม่ให้ใช้ในอาหารขณะที่กำลังปรุงบนเตา เพราะจะทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไปจากที่ปรุงตอนแรก

เพียงเท่านี้ ลูกที่อยู่ในครรภ์และคุณแม่ก็จะปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วค่ะ ที่สำคัญ คือ คุณแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งแม่และลูก

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save