จากการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศมติคณะรัฐมนตรีออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 26 มีนาคม 2563 นั้น หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่าคืออะไร วันนี้ Parents One จึงสรุปมาให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายๆ ค่ะ
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาล ในการควบคุมสถานการณ์ที่กระทบกับความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทําให้ส่วนใด ส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน เช่น สถานการณ์ภัยคุกคามด้านอื่นๆ ที่กระทบของสาธารณะ หรือที่เข้าข่ายเป็นภัยพิบัติสาธารณะ
การประกาศแต่ละครั้ง จะมีระยะเวลานานที่สุด 3 เดือน แต่ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็สามารถยกเลิกประกาศได้ทันที
ข้อห้ามตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 9
- ห้ามออกนอกบ้านเกินระยะเวลาที่กําหนด
- ห้ามมีชุมนุมหรือมั่วสุมกัน
- ห้ามการเสนอข่าวที่บิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิด
- ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
- ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
- ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ท่ีกําหนดเพื่อความปลอดภัย
มาตรการเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทุกเรื่องทันทีหลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่นายกจะประกาศ “ข้อกำหนด” เป็นเรื่องๆ ไป
อ้างอิงจาก