fbpx

G6PD คืออะไร ทำไมเด็กๆ ถึงเป็นโรคนี้กันมาก

Writer : nunzmoko
: 10 กันยายน 2561

 

G6PD หรือหลายๆ คนเรียกว่า โรคแพ้ถั่วปากอ้า เกิดจากภาวะบกพร่องของเอนไซม์ G6PD ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานของน้ำตาลกลูโคส ดังนั้นเอนไซม์ G6PD จึงเป็นเอนไซม์ที่ช่วยป้องกัน เม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ แล้วโรคนี้เกิดจากอะไร ทำไมเด็กถึงเป็นกันมากแล้วส่งผลอะไรบ้างไปติดตามกันค่ะ

G6PD คืออะไร?

ภาวะพร่องเอนไซด์ G6PD (G – 6 – PD Deficiency) คือ การมีระดับของเอนไซม์ G6PD ต่ำกว่าคนปกติ เอนไซม์ ชนิดนี้พบได้ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือแดงแตกง่าย โดยปกติเม็ดเลือดแดงของคนเราจะมีอายุ 120 วัน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้ หากได้รับยาหรืออาหารที่ห้ามรับประทาน เช่น ถั่วปากอ้า จะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตก และทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวเหลืองได้ ซึ่งสาเหตุของการบกพร่องทางเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมของโครโมโซมเพศชนิดโครโมโซมเอ็กซ์ มีการถ่ายทอดยีน G6PD เป็นแบบ X-linked recessive จากมารดาโดยมีโอกาสที่ลูกชายจะเป็นโรคร้อยละ 50 ลูกสาวจะเป็นพาหะร้อยละ 50 ดังนั้นโรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิงค่ะ

ทำไมเด็กถึงเป็นโรค G6PD กันมาก

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโลหิตจางและภาวะเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดสาร NADPH ซึ่งต้องอาศัยเอนไซม์ G6PD เป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในเซลล์ปกติ NADPH จะทำหน้าที่ในการกำจัดสารอ๊อกซิแดนซ์ที่จะทำลายเซลต่างๆ ของร่างกาย

อาการของโรค G6PD

อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเป็นโรคติดเชื้อ หรือหลังได้รับยาที่แสลง หรือหลังจากที่กินถั่วปากอ้า มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ซีดเหลือง อ่อนเพลียมาก
  • ปัสสาวะสีดำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า
  • สำหรับทารกแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หลังคลอดเพียงไม่กี่วัน
  • อาการเหลืองจัด หรือเหลืองนานกว่าปกติ หรือมีภาวะซีดร่วมด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็น G6PD

  1. เมื่อเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคนี้
  2. หลีกเลี่ยงยาและอาหารบางอย่างเช่น ถั่วปากอ้า
  3. เมื่อมีอาการซีดลง เพลีย ปัสสาวะสีเข้ม เหมือนสีโค้ก ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรพบแพทย์โดยด่วน

อาหารและยาที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ถั่วปากอ้า
  2. พืชตระกูลถั่ว
  3. บลูเบอรี่
  4. โยเกริตที่มีส่วนประกอบของ ถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่
  5. โทนิค (tonic)
  6. แอสไพริน
  7. ยากลุ่มซัลฟา

ดังนั้น เด็กทีเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD คุณพ่อคุณแม่ควรเห็นความสำคัญกับอาหาร ต้องหลีกเลี่ยงอาหารและยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันได้ หากต้องเข้ารับการรักษาหรือต้องได้รับยาจะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลให้ทราบทุกครั้ง ว่าตนเองเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ในหลายสถานพยาบาลมักให้บัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาค่ะ

ที่มา :

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
สิทธิประโยชน์ “ฝากครรภ์ฟรี” ปี 60
ข้อมูลทางแพทย์
ท้องตอนอายุ 35 มีปัญหาหรือไม่ ?
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save