ยิ่งหน้าฝน ยิ่งต้องผจญกับปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด, คัดจมูก, ภูมิแพ้ และอีกหนึ่งโรคที่เรามักละเลยกันไปเพราะไม่ค่อยได้สังเกตนั่นคืออาการคันในร่มผ้า เชื้อรา น้ำกัดเท้า ยิ่งโดยเฉพาะเท้าที่ต้องเปียกเพราะการย่ำน้ำหรือน้ำฝนโดนจนชุ่ม หมักหมมเป็นเวลานานก็จะทำให้น้ำกัดเท้า และเป็นเชื้อราได้ในที่สุดค่ะ
ยิ่งเด็กๆ ของเราต้องไปโรงเรียนในทุกๆ วัน ถุงเท้าเองก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องแต่งกายที่ต้องใส่กันอยู่ตลอด ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคได้ง่ายมากๆ เลย เพราะงั้นเรามาตื่นตัว ช่วยดูแลความสะอาด และเข้าใจที่มาที่ไปของโรคที่เกิดจากน้ำกัดเท้ากันเถอะค่ะ!
อาการของน้ำกัดเท้า
อาการของการโดนน้ำกัดนั้นจะมีอยู่สองระยะซึ่งในระยะแรกจะยังมีเพียงเล็กน้อยแต่หากเข้าระยะสองเมื่อไหร่
- คันระคายเคือง
- มีผื่นขึ้น
- ผิวหนังลอกเป็นขุย
- บวมแดงเป็นหนอง
- มีกลิ่นเหม็น ติดเชื้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำกัดเท้า
โดยปกติแล้วแช่เท้าในน้ำสะอาดหรืออาบน้ำ อาจไม่ส่งผลให้มีอาการน้ำกัดเท้าได้ แต่ในช่วงฝนแบบนี้ ทำให้เราเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเจอกับถุงเท้าเหม็นอับ หรือรองเท้าที่ชุ่มไปด้วยน้ำตลอดเวลา สาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อรานั้นจึงเกิดขึ้นได้ดังนี้
- มีเชื้อราในรองเท้า, ถุงเท้า
- ใช้เสื้อผ้า, รองเท้าร่วมกับผู้อื่น
- เดินย่ำน้ำที่สกปรก
- ไม่ถอดรองเท้า,ถุงเท้าเป็นเวลานาน
- แช่เท้าในน้ำเป็นเวลานาน
- เกิดน้ำท่วมทำให้เท้าต้องสัมผัสน้ำตลอดเวลา
การรักษาหากโดนน้ำกัดเท้า
การรักษานั้น แบ่งเป็นได้ 2 แบบตามอาการว่ามากหรือน้อยซึ่งจะมีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย!
ระยะแรกยังไม่ติดเชื้อ
- ทายาขี้ผึ้งวิทฟิลด์ สำหรับเด็ก 3 ครั้งต่อวัน
- หมั่นล้างเท้า และเช็ดให้แห้ง
- ใส่ถุงเท้าและร้องเท้าสะอาดเสมอ
ระยะเป็นเชื้อรา
- ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ
- ทายาบริเวณที่เป็นแผล
- หากยังไม่ดีขึ้น รีบพาไปพบแพทย์
ที่มา bumrungrad , synphaet , si.mahidol