fbpx

สัญญาณใดบ้าง ที่กำลังคุณบอกว่า คุณแม่มีภาวะ ซึมเศร้าหลังคลอด

Writer : OttChan
: 2 กันยายน 2565

การตั้งครรภ์และการคลอดที่ว่าเป็นเรื่องแสนหนักหน่วงขอคนกำลังจะเป็นคุณแม่แล้ว อาจยังไม่หนักเท่าภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังการคลอดโดยเฉพาะเรื่องของสภาพจิตใจ จิตใจของคุณแม่นั้นอาจแปรปรวนไปด้วยความกังวล ความเศร้า และลามไปถึงควาไม่มั่นใจในการทำหน้าที่ในฐานะคนเป็นแม่

ดังนั้น คนรอบตัวต้องคอยสังเกต, ซัพพอร์ต และเฝ้าระวังให้ดีเลย เพราะภาวะเครียดหรือเศร้าหลังคลอดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

เรามาดูไปด้วยกันนะคะ ว่าสภาวะความเศร้าแบบใดบ้างที่จะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอด และเราจะต้องสังเกตจากอาการใด

ไม่อยากอาหาร, กินไม่หยุด

การทานของคุณแม่นั้น จะเปลี่ยนไปตามกับภาวะร่างกายหลังคลอดซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า อาจจะรู้สึกเบื่ออาหาร หรืออยากอาหารมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาที่เล็กจนสามารถมองข้ามไปได้เพราะภาวะแรกๆ ที่สังเกตได้ง่ายสุดคือการทานอาหารของคุณแม่ที่แตกต่างไปจากเดิมมากเกินไป เช่นไม่อยากอาหาร จนเลือกที่จะไม่ทานอะไรเลยในแต่ละวัน หรือทานมากขึ้น แต่ทานแล้วเกินโทษต่อร่างกาย ซึ่งนี่คือหนึ่งภาวะที่กำลังบอกว่าคุณแม่กำลังเข้าสู่การเป็นซึมเศ้ราหลังคลอด เพราะร่างกายของเขา กำลังต่อต้านการฟื้นฟูของร่างกาย

วิธีเข้าช่วยเหลือ!

  • ลองหาเมนูใหม่ๆ ให้คุณแม่ได้เปลี่ยนอาหารไปเรื่อยๆ
  • จัดเตรียมอาหารที่ครบ 5 หมู่ให้ได้ทาน และดูแลการกินอย่างใกล้ชิด
  • ให้ทานอาหารเสริม, วิตามินเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย

 

นอนไม่หลับเพราะความกังวล

หนึ่งในอาการทางร่างกายอย่างแรกที่ทำให้สังเกตได้ว่าคุณแม่มือใหม่กำลังมีภาวะเครียด คือการนอนหลับ โดยปกติแล้วช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่ การนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้ปกติเพราะการนอนที่ไม่สบายตัว, ลูกดิ้น หรือต้องลุกไปเข้าห้องน้ำอยู่บ่อยครั้ง แต่อาการนอนไม่หลับหลังคลอดแสดงให้ถึงความกังวล, ความกระวนกระวายหลังจากนี้ เพราะคุณแม่ต้องตื่นมาเพื่อให้นมลูก, ต้องปรับตัวการดูแลเด็กและเวลาดูแลตัวเองใหม่ทั้งหมด ยังรวมไปถึงฮอร์โมนที่ถูกปรับขึ้นลงหลังการคลอดอีกที่เป็นปัจจัยสำคัญจนทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบายตัว จึงทำให้การที่จะได้หลับลึกหลับยาว เป็นเรื่องที่ยาก และส่งผลให้ร่างกายไม่ฟื้นตัวอย่างที่หวัง และอาจนำไปสู่ความเครียดระยะยาว

วิธีเข้าช่วยเหลือ!

  • ช่วยวางแผนการจัดการต่างๆ เพื่อให้คุณแม่ได้มีเวลาดูแลตัวเอง, พักผ่อนมากขึ้น
  • ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, เสริมสุขภาพ และอาจแซมด้วยของที่คุณแม่ชอบเพื่อให้อารมณ์ของเขาคงที่ และได้รับการเยียวยา
  • ให้ได้ระบายความรู้สึก เพราะคนเราทุกคนย่อมมีปัญหาให้ได้ระบาย หากคุณแม่ได้มีคนพูดคุยหรือรับฟังซักคนก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้มากๆ

 

มีอาการเศร้า ซึม ไม่สดชื่น, อ่อนเพลีย

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องสังเกตให้ดี คือภาวะเศร้าหลังคลอดหรือที่เรียกว่า Postpartum blue เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ลดลงอย่างกระทันหัน เลยทำให้อารมณ์ของคุณแม่ขึ้นลงอย่างควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าเรื่องไหนก็ทำให้รู้สึกหงุดหงิด, สะเทือนใจไปได้หมดแต่อาการเศร้านี้จะกินเวลาอยู่ 2 อาทิตย์หลังคลอด เมื่อฮอร์โมนปรับสมดุลได้แล้วก็จะดีขึ้น แต่หากยังมีอาการยาวมากกว่านั้นก็อาจทำให้กลายเป็นเรื่องน่ากังวลที่ทุกคนในบ้านต้องให้ความสนใจ

วิธีเข้าช่วยเหลือ!

  • การให้กำลังใจ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในช่วงนี้ เพราะเมื่อมีกำลังใจ คุณแม่ก็จะสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ไว และเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น
  • เอาใจใส่ในเรื่องเล็กน้อยของคุณแม่ เพราะในช่วงที่กำลังเศร้านั้น การที่มีคนคอยเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเล็กแค่ไหนก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสำคัญ และเป็นที่ต้องการ เช่นเตรียมอาหารที่อยากทานให้, นวดเท้า และมือให้, ถามไถ่เรื่องให้ช่วยเสมอ
  • ช่วยงานที่ทำได้ เพื่อแบ่งเบาภาระให้คุณแม่ เช่นการผลัดเวรตื่นมาเลี้ยงลูก, ทำงานบ้านบางส่วนแทน, จัดการธุระต่างๆ ภายในบ้าน

 

อยากทำร้ายตัวเอง, และลูกเพราะรู้สึกตัวเองไร้ค่า และไม่สามารถเลี้ยงลูกได้

เมื่อเป็นแม่ ใครๆ ก็มักมองว่า สัญชาตญาณความเป็นแม่จะมาเอง แม้เราไม่ได้มีใจพร้อม ร่างกายพร้อม แต่เราจะฝ่าฝันทุกอย่างไปได้เพื่อลูก แต่สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเพียงแค่ความเห็นจากมุมคนนอก เพราะความคาดหวังในการเลี้ยงลูกนั้นมีลูก คนที่พึ่งเป็นแม่ อาจรู้สึกตนเองไม่สามารถทำได้ดีพอ และอาจไม่เหมาะที่จะดูแลใคร ทำให้ความรู้สึกที่เคยยินดี หรือมีความสุขมากๆ ที่จะได้เป็นครอบครัว เกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้น ทำให้ใจขอคุณแม่รู้สึกอยากลงโทษตัวเองอยู่เรื่อยๆ และเพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจพาลเป็นอยากทำร้ายลูกด้วย หากคุณแม่เริ่มมีความคิดแบบนั้นถือว่าเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยมากๆ

วิธีเข้าช่วยเหลือ!

  • พยายามเข้าพูดคุยให้มาก เพื่อให้คุณแม่ได้พูดระบายความรู้สึกออกมา
  • คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ให้คุณแม่อยู่ลำพัง
  • พาคุณแม่พบกับแพทย์ที่จะช่วยดูเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ เพื่อให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

 

รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย, ไม่อยากทำอะไรในชีวิตอีกแล้ว

สัญญาณนี้ อาจเป็นสัญญาณที่ยากที่สุดแล้วในการสังเกต แต่ก็เป็นจุดที่อันตรายที่สุดของการมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยความรู้สึกนี้อาจะเกิดขึ้นเป็นลำดับท้ายๆ จากการที่เราสังเกตอาการเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปทั้งการเบื่ออาหาร, ไม่สดชื่น, นอนไม่หลับ เมื่ออาการเหล่านี้ถูกทิ้งไว้ในระยะยาว ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกบั่นทอนจนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป นับว่าอันตรายอย่างมาก และอาจไม่มีเวลาพอให้คุณแม่ได้ทำการระบายหรือส่งสัญญาณถึงความรู้สึกที่เขาต้องเผชิญ

วิธีเข้าช่วยเหลือ!

  • เป็นผู้รับฟังที่ดี เมื่อคุณแม่ต้องการหาที่พักใจ
  • พยายามแบ่งเบาภาระ และคอยอยู่เป็นเพื่อนในช่วงที่ต้องผ่านอุปสรรค
  • พบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
  • ไม่ทอดทิ้งให้คุณแม่รุ้สึกต้องเผชิญปัญหาอยู่เพียงลำพัง

ที่มา nakornthon , babylovebbc.com

 

 

 

 

 

 

 

 

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ไม่เป็นไร
26 สิงหาคม 2563
แม่จ๋า! น้ำร้อนลวกหนู ทำอย่างไรดี
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save