เราชอบคิดกันเสมอว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนที่มีพฤติกรรมการกินหวานจนอ้วนหรือคนที่อายุมากแล้วทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างเบาหวานขึ้นได้ แต่รู้ไหมคะว่าในความจริงนั้น โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กเล็กๆ และวัยรุ่นได้ง่ายและมีมากกว่าที่เราคิด! ซึ่งเบาหวานในเด็กนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมตอนนี้ประเทศไทยถึงได้ขึ้นชื่อว่าเด็กไทยอาจมีแนวโน้มจะเป็นเบาหวานกันได้ง่ายกว่าเด็กในประเทศอื่น มาดูข้อมูลไปด้วยกันเลยค่ะ
เบาหวานในเด็กมี 2 แบบ
แบบที่ 1
เกิดจากความผิดปกติของร่างกายมาตั้งแต่แรกเกิดซึ่งเกี่ยวกับระบบการทำงานของอวัยวะภายในซึ่งในปัจจุบันนั้น เด็กไทยส่วนมากหากเป็นเบาหวาน อาการที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายนั้นมีมากถึง 50-60% เลยทีเดียว
- เป็นตั้งแต่ช่วงอายุ 1-2 ขวบ
- เกิดจากการทำงานผิดพลาดของตับอ่อนในการผลิตอินซูลิน
- เลือดเป็นกรด
แบบที่ 2
เกิดจากพฤติกรรมในการกินหรือใช้ชีวิตประจำวันของเด็กๆ ที่ไม่ได้ขยับตัว, หมดเวลาไปกับการอยู่กับหน้าจอทีวีหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เกิดขึ้นได้ 30 % จากอาการเบาหวานในเด็ก โดยเหตุที่ทำให้เกิดโรคมีดังนี้
- พฤติกรรมการกินที่กินแต่อาหาร fast food โดยไม่มีการขยับร่างกาย
- กรรมพันธุ์โรคอ้วนที่เกิดเร็วขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- คุณแม่เป็นเบาหวานในระหว่างที่ตั้งครรภ์
ข้อสังเกตว่าลูกของเราอาจเป็นเบาหวาน
ในบางครั้งอาการหลายๆ อย่างเราอาจจะเข้าใจว่า ลูกของเราไม่สบายหรืออ่อนแอเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ดังนั้นลองมาเช็คกันนะคะ ว่าเด็กๆ เข้าข่ายอาการที่จะเป็นเบาหวานหรือเปล่า ด้วยข้อสังเกตตั้ง 6 ข้อ หากมีมากเกิน 3 ข้อแล้วละก็ ก็อาจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจเป็นเบาหวานได้
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- เป็นแผลแล้วหายช้า, หายยาก
- ปัสสาวะบ่อยมากและมีบ้างที่ปัสสาวะราดเวลานอนทั้งที่สามารถควบคุมการปัสสาวะยามดึกได้แล้ว
- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
- เหนื่อยง่าย, รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
- ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้เพราะสารคีโตน
หากลูกเป็นเบาหวานจะมีวิธีช่วยเหลืออย่างไร
แน่นอนว่าเมื่อมั่นใจแล้วว่าลูกหรือหลานของเราเป็นเบาหวาน เราก็ต้องเร่งหาทางช่วยเหลือหรือทำให้อาการเหล่านั้นทุเลาลงก่อนจะสายเกินแก้ ซึ่งการแก้นั้นสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
- หากรู้ว่าเด็กๆ ในบ้านมีอาการว่าอาจจะเป็น ต้องรีบพาไปพบแพทย์
- ต้องทำการฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมอ
- ควบคุมการทานอาหารให้ได้สัดส่วน ผัก,ผลไม้ 2 ส่วน, โปรตีน 1 ส่วน, คาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน
- ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของน้ำตาล ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงต่อวัน
- ดื่มน้ำให้มาก ได้วันละ 8 แก้วยิ่งดี
- หมั่นตรวจสุขภาพและติดตามอาการเบาหวานของลูกอยู่เรื่อยๆ เพื่อปรับการรักษาไปตามอายุ
ที่มา : siphhospital , med.mahidol , thaihealth, mgronline