คงเป็นปกติที่พอเราเลี้ยงลูกมานาน มห้ทั้งความรักและความเอาใจใส่ อะไรที่เป็นเรื่องของลูก เราก็มักจะปกป้องไปเสียหมด แต่ทว่าในบางครั้งเราก็เผลอตามใจหรือรีบโอ๋เกินไปจนเราอาจทำสิ่งที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นหรือลืมนึกถึงเหตุผลไปบ้างในการสอนในสิ่งที่ถูกต้อง
ดังนั้นเราจะมาลองทดลองกันดูนะคะว่าเรามีสัญญาณที่จะกลายเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เอาใจลูกเกินจำเป็นหรือเปล่าซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเกินไปนั้นมีดังนี้
ตีโต๊ะ ตีพื้นเวลาลูกหกล้มหรือกระแทกโดน
การทำแบบนี้จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตนเองไม่เคยผิดเพราะพ่อแม่มักจะโทษสิ่งอื่นๆ แทนการอธิบายกับลูกว่าต้อวิ่งหรือเดินด้วยความระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอ และแน่นอนว่าการพูดนั้นก็ต้องการการปลอบดีๆ เช่นกัน ไม่ใช่ดุด่าว่าเซ่อซ่าหรือซุ่มซ่าม ซึ่งหากเกิดเหตุการณืขึ้นสิ่งที่ควรทำคือ
- เข้าไปถามไถ่ว่าเจ็บมากหรือเปล่า
- หากมีบาดแผลให้ทำแผลให้สะอาดพร้อมปลอบโยน
- แนะนำให้ระวังตัวมากขึ้น หรือในกรณีสิ่งของมันทำให้สุ่มเสี่ยงจริงๆ อาจมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือแก้ไขให้พื้นที่ตรงนั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น
พูดติดปากว่า ” เขายังเด็ก ” “อย่าถือสาเด็กเลย ” “เป็นผู้ใหญ่ใจดีกับเด็กหน่อยสิ ” เพื่อปกป้องลูกเวลาลูกทำผิดโดยไม่สนใจเหตุผลของผู้อื่น
ในบางเวลาที่ออกไปนอกบ้าน หรืออยู่ในที่สาธารณะและลูกของเราไปทำอะไรที่อยู่นอกสายตาเข้า อาทิ หยิบของคนอื่นมาอย่างไม่ตั้งใจ, หัวเราะหรือกรี๊ดเสียงดังรึแม้แต่การพบเจอเด็กคนอื่นและเข้าไปหยอกแกล้งจนอีกฝ่ายร้องไห้ และเรามักจะใช้ข้ออ้างว่าเป็นดังพูดที่ได้ยกตัวอย่างไปในการปกป้องลูกของเรา ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำมากๆ เพราะแบบนั้นลูกจะไม่เกิดการเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ไม่ควร และยังทำให้คนรอบข้างตำหนิลูกเราหรือเราได้ว่าไม่เข้าใจการอยู่ร่วมกัยผู้อื่น ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ
- ถามที่มาที่ไปของสาเหตุในประเด็นนั้น
- หากเห็นแล้วว่าลูกของเราเป็นฝ่ายเริ่ม ต้องขอโทษเสมอ ไม่หาข้ออ้างบ่ายเบี่ยง
- ไม่หักหน้าดุลูกต่อหน้าคนอื่นแต่เมื่ออยุ่ในพื้นที่ส่วนตัว ต้องพูดคุยและปรับความเข้าใจกับลูกให้เข้าใจถึงสิ่งที่ผิดว่าต้องปรับปรุง
ด้อยค่าเด็กคนอื่น เพื่อชมลูกตนเอง
แม้เราจะเห้นอยู่บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักบอกลูกตนเองแย่กว่าลูกของคนอื่น แต่ในแบบตรงข้ามเองก็มีเช่นกันที่ข่มหรือวิจารณ์เรื่องรูปร่าง และหน้าตาของบุคคลอื่นเพื่ออวยหรือชมลูกตนเอง ซึ่งไม่ว่าแบบไหนก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทั้งสิ้น การเชยชมควรก่อให้เกิดผลบวกต่อทั้งตัวลูกของเราเองและผู้อื่น ไม่มีใครสมควรถูกโดนด้อยค่าลงเพื่อยกยอคนอื่น ซึ่งประโยคตัวอย่างที่ไม่ควรพูดคือ ” โถ ลูกคุณทำได้แค่นี้เหรอ แต่ลูกฉันน่ะทำได้ดีกว่านั้นอีก ” ” ไม่เหมือนลูกของผมเลย ทำนี่ได้ดีกว่ามาก ” ” รู้มั้ยลูกของฉันน่ะ สอบได้ A ตลอดเลยนะ ลูกเธอทำได้รึเปล่า ”
เล่นใหญ่ไม่ฟังคนอื่น พอเห็นลูกตัวเองร้องไห้
ลูกของใคร ใครก็รักเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ไม่ปกติคือเมื่อเราเห็นว่าลูกของเรามีน้ำตา เราก็จะโทษอีกฝ่ายทันทีว่าเป็นผู้กระทำ ต้องมีการรับผิดชอบรึเอาเรื่องให้ถึงที่สุดซึ่งในความจริงเมื่อเหตุการณ์การขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติก่อนอันดับแรกเพื่อทำในสิ่งที่ควรคือ
- เข้าไปดูสถานการณ์ให้เร็วที่สุดพร้อมลำดับเหตุการณ์
- สอบถามเรื่องราวจากทุกฝ่ายทั้งลูกของเรา และฝ่ายตรงข้ามว่าเกิดอะไรขึ้น
- ใช้ความเข้าใจอย่างยุติธรรมที่จะเข้าใจทั้งลูกของตน และผู้อื่น
- พยายามจบเรื่องให้ได้ด้วยความสันติที่สุดแต่ในกรณีที่ฝั่งตรงข้ามไม่ยินยอม หรือเรื่องราวมันรุนแรงเกินไป ก็อาจต้องใช้วิธีที่หนักขึ้นไปตามเหตุผลที่เหมาะสม