Parents One

เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อโดยได้ตั้งใจ กับ“โรคทูเร็ตต์” ในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้!

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยนะคะว่า เจ้าโรค “ทูเร็ตต์” ที่ชื่อมันออกจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตามันคือโรคอะไรกัน บอกเลยว่าโรคนี้เป็นโรคเดียวกับโรคติกส์ (Tic disorder) เป็นเหมือนการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ยักไหล่ หรือแขนขากระตุก คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดๆ งั้นเรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าว่าเจ้าโรคนี้มันคืออะไร และมีสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ พร้อมแล้วตามไปดูกันเลยค่ะ

โรคทูเร็ตต์ คืออะไร?

โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s Disor der) เป็นโรคทางจิตเวช ในกลุ่มความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดขึ้นทันทีทันใด แบบซ้ำๆ โดยที่ร่างกายควบคุมไม่ได้นั่นเองค่ะ

พบมากในช่วงวัยไหน

อาการ

ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งมีอาการหลายระดับ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง

หากเป็นอาการเล็กน้อย เช่น 
หากเป็นอาการที่เป็นมาก เช่น
หากเป็นการส่งเสียง เช่น

ลักษณะสำคัญของโรค

  1. ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดอาการเอง แต่บางครั้งจะกลั้นหรือห้ามการเคลื่อนไหวได้ชั่วคราว
  2. ผู้ป่วยมีสติรู้ตัวว่ากำลังจะเกิดอาการ เช่น ตึงๆ หรือปวด บริเวณที่กำลังจะเกิดอาการ
  3. สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ วันละหลายรอบได้ และเป็นเรื้อรังนานกว่า 1 ปี แต่อาการอาจเป็นๆ หายๆ เป็นช่วง บางครั้งเว้นระยะห่างออกไปแต่ไม่นานเกิน 3 เดือน ก็จะกลับมามีอาการใหม่
  4. อาการจะเป็นหนักมากขึ้นหากกลั้นเป็นเวลานาน เช่น ถูกทักว่าไม่ให้ทำ หรือมีความเครียด
  5. ผู้ป่วยมักมีอาการมากกว่า 1 อาการ แต่ไม่ได้เป็นพร้อมกัน
  6. โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากสารกระตุ้น สารเสพติด หรือโรคทางสมองอื่นๆ เช่น ไข้สมองอักเสบ, Huntington’s Disease เป็นต้น

สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแน่ชัดของโรค แต่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการทำงานของสมองอย่างหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันดังนี้
  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม ถ้ามีประวัติโรคนี้ในครอบครัว จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคมากขึ้น
  2. ปัจจัยทางการทำงานของสมอง พบว่ามีความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทบางตัว คือโดปามีน(Dopamine)
  3. ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียดทางด้านจิตใจ ทำให้อาการเป็นหนักขึ้น

การรักษา

  1. พาไปพบกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่
  2. ถ้ามีอาการเล็กน้อย หรือ เป็นมาไม่นาน แพทย์อาจรอดูอาการไปก่อน เพราะอาจเป็นเพียงชั่วคราวและหายเองได้
  3. คุณพ่อคุณแม่และครอบครัว ควรเห็นใจและเข้าใจว่าอาการเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองบางส่วน ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจหรือแกล้งทำ และไม่สามารถควบคุมอาการได้ และอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีภาวะเครียดดังนั้น พ่อแม่และบุคคลอื่นๆ เช่น ญาติ เพื่อนหรือครูที่โรงเรียน ไม่ควรพูดทัก ห้ามปราบ หรือเพ่งเล็งที่อาการแต่ควรมองหาและแก้ไขภาวะเครียดที่เป็นสาเหตุ
  4. ถ้าอาการเป็นมาก เป็นเรื้อรัง หรือส่งผมเสียรบกวนการดำ เนินชีวิต เช่น การเรียน การเข้าสังคม แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยยา ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง และใช้เวลาในการรักษาพอสมควร
  5. การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด ที่เรียกว่า habit reversal training โดยสอนให้ผู้ป่วยรู้ทันอาการขณะเกิด tic (awareness) และฝึกควบคุมอาการด้วยการผ่อนคลาย(relaxation) และทำพฤติกรรมที่ไปด้านการเป็น ticเช่น ถ้ามีอาการคือกระพริบตาถี่ๆ ก็ให้รู้ทันอาการผ่อนคลาย แล้วทอดสายตาไปไกลๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย เป็นต้น
  6. การช่วยเหลือด้านจิตใจ ลดภาวะเครียด และส่งเสริมให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ช่วยเหลือให้มีการปรับตัว และแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสม เช่น เมื่อถูกเพื่อนล้อเลี่ยน สนับสนุนให้ได้เรียนในโรงเรียนตามความสามารถของเด็ก โดยไม่ต้องกังวลกับอาการมากเกินไป

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : healthservทวีศักดิ์
สิริรัตน์เรขา. โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s Disorder). [Online] 2555; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/sp07-tourette.htm