คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยนะคะว่า เจ้าโรค “ทูเร็ตต์” ที่ชื่อมันออกจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตามันคือโรคอะไรกัน บอกเลยว่าโรคนี้เป็นโรคเดียวกับโรคติกส์ (Tic disorder) เป็นเหมือนการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ยักไหล่ หรือแขนขากระตุก คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดๆ งั้นเรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าว่าเจ้าโรคนี้มันคืออะไร และมีสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ พร้อมแล้วตามไปดูกันเลยค่ะ
โรคทูเร็ตต์ คืออะไร?
โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s Disor der) เป็นโรคทางจิตเวช ในกลุ่มความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดขึ้นทันทีทันใด แบบซ้ำๆ โดยที่ร่างกายควบคุมไม่ได้นั่นเองค่ะ
พบมากในช่วงวัยไหน
- อาการส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ไม่เกิน 18 ปี
- พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- พบมากในช่วงวัยเรียน / วัยรุ่น
อาการ
ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งมีอาการหลายระดับ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
หากเป็นอาการเล็กน้อย เช่น
- ตาขยิบ
- หน้าขมุบขมิบ
หากเป็นอาการที่เป็นมาก เช่น
- บิดคอ
- ยักไหล่
- สะบัดมือ
- ต่อย
- เตะ
- กระโดด
หากเป็นการส่งเสียง เช่น
- เสียงขากเสลด
- ทำเสียงฟึดฟัดคัดจมูก
- ไอกระแอม
- เสียงคราง
- เสียงเห่า
- พูดจากหยาบคายต่างๆ
ลักษณะสำคัญของโรค
- ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดอาการเอง แต่บางครั้งจะกลั้นหรือห้ามการเคลื่อนไหวได้ชั่วคราว
- ผู้ป่วยมีสติรู้ตัวว่ากำลังจะเกิดอาการ เช่น ตึงๆ หรือปวด บริเวณที่กำลังจะเกิดอาการ
- สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ วันละหลายรอบได้ และเป็นเรื้อรังนานกว่า 1 ปี แต่อาการอาจเป็นๆ หายๆ เป็นช่วง บางครั้งเว้นระยะห่างออกไปแต่ไม่นานเกิน 3 เดือน ก็จะกลับมามีอาการใหม่
- อาการจะเป็นหนักมากขึ้นหากกลั้นเป็นเวลานาน เช่น ถูกทักว่าไม่ให้ทำ หรือมีความเครียด
- ผู้ป่วยมักมีอาการมากกว่า 1 อาการ แต่ไม่ได้เป็นพร้อมกัน
- โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากสารกระตุ้น สารเสพติด หรือโรคทางสมองอื่นๆ เช่น ไข้สมองอักเสบ, Huntington’s Disease เป็นต้น
สาเหตุ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ถ้ามีประวัติโรคนี้ในครอบครัว จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคมากขึ้น
- ปัจจัยทางการทำงานของสมอง พบว่ามีความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทบางตัว คือโดปามีน(Dopamine)
- ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียดทางด้านจิตใจ ทำให้อาการเป็นหนักขึ้น
การรักษา
- พาไปพบกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่
- ถ้ามีอาการเล็กน้อย หรือ เป็นมาไม่นาน แพทย์อาจรอดูอาการไปก่อน เพราะอาจเป็นเพียงชั่วคราวและหายเองได้
- คุณพ่อคุณแม่และครอบครัว ควรเห็นใจและเข้าใจว่าอาการเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองบางส่วน ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจหรือแกล้งทำ และไม่สามารถควบคุมอาการได้ และอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีภาวะเครียดดังนั้น พ่อแม่และบุคคลอื่นๆ เช่น ญาติ เพื่อนหรือครูที่โรงเรียน ไม่ควรพูดทัก ห้ามปราบ หรือเพ่งเล็งที่อาการแต่ควรมองหาและแก้ไขภาวะเครียดที่เป็นสาเหตุ
- ถ้าอาการเป็นมาก เป็นเรื้อรัง หรือส่งผมเสียรบกวนการดำ เนินชีวิต เช่น การเรียน การเข้าสังคม แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยยา ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง และใช้เวลาในการรักษาพอสมควร
- การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด ที่เรียกว่า habit reversal training โดยสอนให้ผู้ป่วยรู้ทันอาการขณะเกิด tic (awareness) และฝึกควบคุมอาการด้วยการผ่อนคลาย(relaxation) และทำพฤติกรรมที่ไปด้านการเป็น ticเช่น ถ้ามีอาการคือกระพริบตาถี่ๆ ก็ให้รู้ทันอาการผ่อนคลาย แล้วทอดสายตาไปไกลๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย เป็นต้น
- การช่วยเหลือด้านจิตใจ ลดภาวะเครียด และส่งเสริมให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ช่วยเหลือให้มีการปรับตัว และแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสม เช่น เมื่อถูกเพื่อนล้อเลี่ยน สนับสนุนให้ได้เรียนในโรงเรียนตามความสามารถของเด็ก โดยไม่ต้องกังวลกับอาการมากเกินไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : healthserv, ทวีศักดิ์
สิริรัตน์เรขา. โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s Disorder). [Online] 2555; Available from: URL:
http://www.happyhomeclinic.com/sp07-tourette.htm