fbpx

รวม 7 เทรนด์จุดเปลี่ยนแห่งวงการการศึกษาไทยที่ผ่านมาทั้งหมดในปี 2561 ในเด็กปฐมวัย - เด็กมหาวิทยาลัย

Writer : Mneeose
: 19 ธันวาคม 2561

ข่าวในวงการการศึกษาของประเทศไทยมักถูกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ทุกยุคสมัย จนบางครั้งผู้ปกครองทั้งหลายตามข่าวไม่ทัน โดยเฉพาะการศึกษาในปี 2561 นี้ บางคนไม่รู้ข่าวเลย จึงทำให้พลาดโอกาสดีๆ ไปเสมอ เราจึงขอรวบรวมเหตุการณ์ 7 เทรนด์ จุดเปลี่ยนแห่งวงการการศึกษาไทยที่ผ่านมาทั้งหมดในปี 2561 ในเด็กปฐมวัยจนถึงเด็กมหาวิทยาลัย มาอัพเดตให้ฟังกันค่ะ ไปอ่านกันเลย

เทรนด์ที่ 1 : “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” นโยบายรัฐฯ ที่ทำให้เด็กมีเวลาเรียนรู้เพิ่มขึ้นจริงหรือ?

“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เป็นนโยบายที่ให้โรงเรียนปรับลดชั่วโมงในชั้นเรียนลงโดยให้เลิกเรียนในเวลา 14.00 น. เพื่อให้เด็กนักเรียนผ่อนคลายไม่เคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป หลักการลดเวลาเรียนเป็นความคิดที่ถูกต้อง เพราะเด็กไทยใช้เวลาเรียนในห้องเรียนตามหลักสูตรมากถึงปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในประเทศที่การศึกษามีคุณภาพทั้งหลายจะใช้เพียง 500-600 ชั่วโมง เวลามากมายใช้ไปกับการเรียนที่เน้นการท่องจํา ไม่เน้นการใช้ความคิดทั้งในการสร้างสรรค์ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาต่างๆ เด็กไทยจึงคิดไม่เป็น นับเป็นข้อด้อยเมื่อเทียบกับเยาวชนในประเทศอื่น

แต่ข้อบกพร่องของรัฐบาลยุคนี้ คือ ได้มีการสั่งลดฮวบของเวลาในชั้นเรียนฉับพลันที่มีคําสั่ง ทำให้ทุกฝ่ายของกระทรวงการศึกษาเกิดความเครียดทั้งระบบ เนื่องจากหลักสูตรการเรียนยังเป็นหลักสูตรเดิม มีเนื้อหาสาระซึ่งสัมพันธ์กับเวลาที่ต้องใช้ถึงเกินพันชั่วโมง ครูจํานวนมากถึงกับมีอาการที่ไปไม่เป็น สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นจึงมีต่างๆ นานา ตั้งแต่ครูประเภทที่หยุดสอนโดยจะจบหรือไม่จบตาม เนื้อหาก็ไม่สนใจเพราะไม่รู้จะทําอย่างไร ไปอีกข้างหนึ่งก็จะพบครูที่จําเป็นต้องเลี่ยงไปนัดเด็กสอนเพิ่มเติม นอกเวลาเพราะทําใจไม่ได้ที่สอนเด็กยังไม่จบ ส่วนเวลานอกห้องเรียนหลัง 14.00 น. นั้น เมื่อไม่ได้กําหนดว่า เป็นส่วนของหลักสูตรก็จึงเกิดความหลากหลายของกิจกรรมซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องหรือเสริมเพิ่มเติมจากในห้องเรียนเลย

เราจึงต้องรอดูและติดตามกันต่อไปว่านโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” นั้นจะเหมาะสมและสามารถตอบสนองยกระดับการศึกษาของเด็กไทยได้จริงหรือไม่กันต่อไปค่ะ

 

เทรนด์ที่ 2 : เด็กมัธยมเร่งปรับตัวตาม TCAS ให้ทัน!! เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน

ระบบ TCAS เป็นระบบเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่ ที่มักจะทำให้เด็กมัธยมปลายที่ต้องเตรียมตัวสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยนั้นปรับตัวไม่ทัน เพราะรัฐบาลชอบเปลี่ยนระบบการศึกษาไปเรื่อยๆนั่นเอง

ทุกๆ คนคงจะสงสัยว่ามันต่างกับการคัดเลือกที่ผ่านๆมายังไง ระบบTCAS มีการเพิ่ม Clearing-House เป็นระบบที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง และยังสะดวกต่อทางมหาวิทยาลัยในการนับจำนวนคนอีกด้วย

แต่เนื่องจากระยะเวลาในการกดยืนยันสิทธิ์มักจะไปทับซ้อนกัน จึงไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่สอบไม่ติดในรอบต่างๆ ที่ผ่านมา เพราะต้องคอยลุ้นอยู่ตลอดว่าจะติดรอบนี้ไหม จึงทำให้เกิดปัญหาในการแย่งที่กันมากมาย

TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

TCAS มีขั้นตอนอย่างไร
ระบบ TCAS ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

  • 1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
  • 2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
  • 3. การรับตรงร่วมกัน
  • 4. การรับ Admission
  • 5. การรับตรงแบบอิสระ

 

เทรนด์ที่ 3 :  สกศ.ผุดไอเดียกำหนด 7 ยุทธศาสตร์หลักพัฒนาเด็กปฐมวัย

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า สกศ.อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กปฐมวัย พ.ศ.2560-2564 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้และเชื่อมโยงการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยมี 7 ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ดังนี้

  • 1.การจัดและการให้เด็กเข้าถึงบริการที่พัฒนาเด็กปฐมวัย
  • 2.การพัฒนาการเป็นพ่อเป็นแม่ การอบรมเลี้ยงดูและบทบาทของครอบครัว
  • 3.การพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่พัฒนาเด็กปฐมวัย
  • 4.การจัดระบบข้อมูลและตัวชี้วัด เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • 5.การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และการดำเนินการตามกฎหมาย
  • 6.การศึกษา การจัดการความรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้
  • 7.การเสริมสร้างประสิทธิภาพการ บริหารจัดการ การติดตามงานและประเมินผล.

 

เทรนด์ที่ 4 : เปิดสวนดุสิตโพล ยกเลิกการสอบ ในเด็ก ป.1 ลดแรงตึงเครียดและกดดัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สวนดุสิตโพล ได้ออกมาเปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “ผลจากระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อตัวเด็ก ครอบครัว และโรงเรียน รวมทั้งหาแนวทางในการคัดเลือกเด็กเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 “โดย ผศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยนักวิชการ  ผู้บริหารโรงเรียน  ครู ผู้ปกครองและเด็ก

ผลวิจัยพบว่า

  • นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นด้วย 100 % กับการให้เด็กสอบเข้า ป.1
  • ผู้บริหารโรงเรียน ไม่เห็นด้วย 75 % เห็นด้วย 25%
  • ครูอนุบาลไม่เห็นด้วย 58 % เห็นด้วย 42 %
  • ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย 48.23 % เห็นด้วย 51.11%

สาเหตุเนื่องมาจาก การสอบจะทำให้พัฒนาการในด้านต่างๆ ที่เด็กควรจะมีในวัยนั้นๆ ลดหายลงไป กลับต้องมานั่งเครียดการหนังสือเตรียมสอบเข้าแทน ส่งผลกระทบในทุกๆด้าน ทั้งตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง(เวลาที่จะได้ใช้ด้วยกันลดลง) และสิ่งแวดล้อม (เด็กไม่ได้ออกๆไปวิ่งเล่น)

 

เทรนด์ที่ 5 : ยกเลิกการสอบเข้าของเด็กอนุบาล – ประถม รร.ไหนฝ่าฝืนปรับ 5 แสนแน่นอน

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการออกกฎหมายห้ามโรงเรียนใช้การสอบเข้า เพื่อรับเด็กอนุบาล และเด็กประถม หากมีโรงเรียนไหนฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงินจำนวน 500,000 บาทค่ะ ด้าน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำว่า “ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา ต้องเริ่มจากการศึกษาระดับปฐมวัยก่อน”

 

เทรนด์ที่ 6 : พ่อแม่ชื่นใจ มีเงินเหลือเก็บอีกปี สพฐ. ประกาศเลิกรับเด็กอนุบาล 1 ตั้งแต่ปี 2562

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าโรงเรียนอนุบาลของสพฐ. จะยกเลิกการรับเด็กอนุบาล 1 หรือเด็ก 3 ขวบ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพราะต้องการลดความซ้ำซ้อนของการศึกษา

โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไปนั้น การรับนักเรียนสังกัด สพฐ. จะรับเด็กชั้นอนุบาล 2 อายุ 4 ปี และเด็กชั้นอนุบาล 3 อายุ 5 ปี เข้าเรียนเป็นหลักค่ะ

 

เทรนด์ที่ 7 : มติกพฐ.กำหนดแนวทางรับนักเรียนปี 2561 ยึดเกณฑ์ 40 ต่อห้อง แต่ยืดหยุ่นได้

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเพื่อแก้ไขปัญหาการรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2561 ที่กำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง โดยแบ่งเป็น

  • ระดับก่อนประถมศึกษา 30 คนต่อห้อง
  • ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 40 คนต่อห้อง

เป็นยังไงบ้างคะสำหรับ 7 เทรนด์ในวงการการศึกษาไทยที่เราสรุปและอัปเดตกันมาให้อ่านในวันนี้ หวังว่าจะช่วยสรุปข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการการศึกษาไทยให้ได้รู้เพิ่มเติมขึ้นกันนะคะ เด็กจะเติบโตขึ้นเป็นอย่างไร ก็อยู่ที่การศึกษา สะสมความรู้และประสบการณ์จากโรงเรียนนั่นเองแหละค่ะ

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save