fbpx

การลงโทษแบบ Time in และ Time out ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนจึงเหมาะกับลูก

Writer : Jicko
: 19 มีนาคม 2562

ในบางครั้งเด็กๆ สุดน่ารักของคุณพ่อคุณแม่ก็กลายเป็นปีศาจตัวน้อยที่ไม่ยอมฟังใคร ดื้อแบบสุดๆ งอแงแบบไม่เกรงใจใคร จนคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ ต้องหาวิธีมาปราบปีศาจตัวน้อยให้ออกจากร่างของลูกรักซะหน่อย ซึ่งวิธีการลงโทษก็มีอยู่มากมาย

ซึ่งวันนี้ทาง Parents One ขอนำเสนอเรื่องการลงโทษแบบ “Time in” และ “Time out” มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษากัน บางคนก็พอจะทราบกันมาบ้างถึงวิธีการลงโทษแบบนี้ ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสีย หรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน แล้วแบบไหนถึงจะเหมาะกับการลงโทษของลูกน้อยสุดแสบของเรา ตามมาดูกันเลยค่ะ

Time out และ Time in คืออะไร

Time out

คุณหมอได้อธิบายถึง Time out ว่า เป็นการแยกเด็กออกมาจากการได้รับแรงเสริมทางบวกหรือแยกออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กใช้เวลานอกในการสงบสติอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม และเมื่อเด็กๆ สงบสติลงก็สามารถกลับไปยังส่ิงที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้ได้นั้นเองค่ะ

Time in 

Time in คือ เมื่อใดที่ลูกของเราเริ่มโวยวาย หงุดหงิด หรือผิดหวังในเรื่องใดๆ ก็ตาม แทนที่เราจะไล่เขาไปนั่งสงบสติหรือสำนึกผิดอย่างเดียวดาย โดยที่เราไม่ให้ความสนใจใดๆ แก่เขาเลย แล้วเปลี่ยนเป็นการที่เราคุณพ่อคุณแม่ไปนั่งข้างๆ เขา เพื่อที่จะช่วยสงบสติอารมณ์ หามุมหรือสถานที่สงบๆและเข้าไปนั่งด้วยนั้นเองค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยเขาปลอบให้อารมณ์เย็นลง หรือเพียงแค่สงบสติเงียบๆ อยู่ข้างๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยังอยู่ข้างๆ เสมอและพร้อมจะช่วยเขาในเวลาที่เจอปัญหานั้นเองค่ะ

สถานการณ์ไหนควรใช้ Time out หรือ Time in

เมื่อเด็กๆ ทำความผิด อันดับแรกที่คุณพ่อคุณแม่ทำโทษควรจะเป็น Time in โดยการแสดงถึงความรัก ความห่วงใย และคอยปลูกฝังให้เขาปฏิบัติตัวเป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอนั้นเองค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ร่าเริง เขามักจะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ และซึมซับความอบอุ่นจากคนรอบข้างได้ดี เพราะฉะนั้นการทำโทษแบบ Time in  เรียกได้ว่าเป็นการทำโทษแบบอบอุ่น ควรจะเป็นการปลูกฝังเป็นอันดับแรก

แต่หากเด็กไม่ยอมทำตามหรือยังทำตัวไม่น่ารักแบบเดิม คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีทำโทษแบบ Time out มาจัดการกับลูกน้อยในลำดับต่อไปนั้นเองค่ะ ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอนะคะ

ข้อจำกัดในการใช้ Time out และ Time in

Time out

  • วิธีการนี้เหมาะสมกับเด็กช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการรักษากฎต่างๆ
  • หากเด็กอายุ 2 ขวบ ควรเริ่มจากระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 30 วินาที หรือ 1 นาที
  • ต้องบอกเหตุผลให้เด็กๆ ได้รู้ในการทำโทษแบบ Time out

Time in

  • เมื่อลูกอาละวาด เราต้องเข้าประกบลูกทันที กอดเขาและอยู่ข้างๆ ให้ใจเย็นแม้จะเป็นสิ่งที่ดูไม่มีเหตุผลในสายตาเรา
  • Time in ไม่ใช่การให้รางวัลเด็ก
  • อารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ขณะที่จะทำ Time in ต้องสงบเพียงพอ

 

วิธีทำ Time out และ Time inให้ได้ผล

Time out

  • ควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น เพื่อให้ดูจริงจังและจะทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้นว่าการกระทำของตัวเองยังไม่ถูกต้อง
  • เลือกบริเวณในการทำ Time out โดยแยกจากส่วนที่ทำกิจกรรม อาจจะเป็นมุมห้องหรือพื้นที่ที่เรายังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง ไม่ขึ้นเสียง ให้เขาใจเย็น เป็นการสงบสติอารมณ์ของลูกนั้นเองค่ะ
  • หลังจาก Time out แล้วควรโอบกอด เพื่อให้เขามั่นใจว่าคุณรักเขา แต่การกระทำของลูกยังไม่เหมาะสม ไม่ควรทำก็เท่านั้นเอง

Time in 

  • เข้าไปประกบลูกหรือกอดลูกไว้จากด้านหลัง เมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือทางอารมณ์
  • สัมผัสตัว กอด ประกบตัวไว แล้วพาไปมุมที่สงบและรู้สึกสบายด้วยกัน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยด้วยการฟัง แสดงความเข้าใจ และสะท้อนสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก
  • ปลอบให้ลูกสงบ และชวนคิดหาทางออกเมื่อเขาสงบลงแล้ว

 

ข้อดีของการทำ Time out และ Time in

  • ไม่ปลูกฝังนิสัยรุนแรงให้กับเด็ก
  • ไม่ทิ้งบาดแผลในใจ
  • ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเอง
  • เด็กๆ จะได้ระบายความรู้สึก ในขณะที่สอนได้ด้วย
  • เด็กๆ จะไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง เพราะพ่อแม่อยู่ด้วยตลอดเวลา

ขอบคุณข้อมูลจาก : tipsddanswerbyyok

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



16 พฤศจิกายน 2563
แม่จ๋า! น้ำร้อนลวกหนู ทำอย่างไรดี
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save