จะเห็นได้ว่าในตอนนี้คุณภาพอากาศเริ่มแย่ลง โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM 2.5 ที่กลับมารุนแรงอีก จากการที่แหล่งผลิตมลพิษยังไม่ได้รับการควบคุม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคมเป็นวงกว้างทั้งแบบเฉียบพลันและระยะยาว
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การที่ปัญหามลพิษในอากาศของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ที่กลับมารุนแรงขึ้นอีก เป็นเพราะแหล่งผลิตมลพิษ ทั้งจากรถยนต์ อุตสาหกรรม การก่อสร้างและกิจกรรมประจำวันยังไม่ได้รับการควบคุม
ดังนั้นประชาชนต้องเตรียมตัวให้พร้อม เช่น สวมหน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากอนามัยธรรมดา 2 แผ่นซ้อนกัน และหากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงไปยังบริเวณค่าฝุ่น PM2.5 สูง เพราะมีผลกระทบเฉียบพลัน โดยอาการที่เห็นชัด คือ แสบหู แสบตา แสบคอ คันระคายเคือง
แต่ผลระยะยาวยังไม่สามารถทราบได้ว่าฝุ่น PM2.5 จะไปกระตุ้นให้กับผู้ที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ให้เป็นเร็วขึ้นหรือไม่ เพราะยังไม่มีการเก็บข้อมูลชัดเจนในประเทศไทย แต่มีข้อมูลจากจีนและสหรัฐอเมริกาที่พบว่าฝุ่น PM2.5 อาจเข้าไปในเม็ดเลือด และมีความเสี่ยงในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
จากการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาลศิริราช พบว่า โรคปอดและโรคถุงลมโป่งพองช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่แค่ฝุ่นขนาดจิ๋วเท่านั้น แต่รวมถึงแก๊สและโลหะหนักด้วย
อ้างอิงจาก