fbpx

เทคนิคการเลือกช่องยูทูบให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ

Writer : OttChan
: 4 สิงหาคม 2563

ภาษาอังกฤษนับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ของบุตรหลานในบ้าน และในปัจจุบันนั้นก็เกิดช่องทางการสอนขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นภายในโรงเรียน , คอร์สสอนภาษาหรือแม้แต่การอัปโหลดลงในช่อง ยูทูบ (youtube) เพื่อให้ทุกเพศทุกวัยได้สามารถเข้าถึงได้ ก็มีเช่นกันแต่เพราะการเข้าถึงได้ที่ง่ายเกินไปนี่ล่ะค่ะ ทำให้คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีการคัดกรองและระมัดระวังในการเสพสื่อเป็นอย่างมากเพราะใช่ว่าทุกสื่อที่อัพโหลดลงจะให้ประโยชน์และช่วยเรื่องการเรียนได้จริง

ดังนั้นการเลือกช่องยูทูบที่เหมาะสมกับวัยและได้ประสิทธิภาพนั้นก็ต้องมีเทคนิคในการเลือกเพื่อให้ตอบโจทย์ของแต่ละบ้าน และเทคนิคในการเลือกมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

เลือกจากเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย

เพราะสื่อสอนภาษาอังกฤษนั้นมีอยู่หลายระดับตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยรุ่น จึงจำต้องหาเนื้อหาที่เหมาะกับเด็กๆ ที่บ้าน โดยการดูจากความยากง่ายของระดับภาษา,  รวมถึงเนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียนที่เขากำลังศึกษาอยู่ ก็จะช่วยให้เราเห็นพัฒนาการการเรียนภาษาอังกฤษที่เด่นชัดมากขึ้น

  • วัยเริ่มต้นต้องให้เรียนรู้ตัวพยัญชนะ, คำศัพท์และควรใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพการ์ตูนเป็นหลักเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ
  • วัยกำลังซน ควรให้เรียนรู้การสร้างประโยค, มีเนื้อเรื่องที่สนุกสนานน่าติดตาม ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายและมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ดู
  • วัยช่างเจรจาต้องมีการเรียนรู้ที่มีการสนทนาโต้ตอบ, แลกเปลี่ยนความเห็น จะช่วยให้เห็นพัฒนาการ การใช้จริงจนสุดท้ายภาษาอังกฤษก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เลือกจากความคิดสร้างสรรค์ในการสอน

เด็กทุกคนย่อมชอบการเรียนที่สนุกสนานและไม่เครียดจนเกินไป ดังนั้นเทคนิคที่ใช้แล้วไม่ว่ายังไงก็ต้องทำให้เด็กๆ สนใจการเรียนภาษาอังกฤษอย่างแน่นอนคือ ความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาสอนให้กับเด็กๆ ค่ะ ต้องเป็นเนื้อหาที่ช่วยเสริมสร้างจิตนาการ, ช่วยให้เขาได้มีการนำไปต่อยอดคิดตามต่อ

อาทิ การเล่าเรื่องไปพร้อมกับการแทรกคำศัพท์ , การทำงานประดิษฐ์หรือทำทดลองวิทยาศาสตร์โดยมีศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆ ให้ได้จดจำ นอกจากจะได้ความรู้ภาษาอังกฤษแล้วอาจจะยังช่วยให้เด็กๆ ได้ค้นพบความชอบหรืองานอดิเรกใหม่ๆ ได้อีกด้วยนะคะ

เลือกจากความน่าเชื่อถือของตัวช่อง, ประวัติผู้สอน

นอกจากเน้นความสร้างสรรค์และความบันเทิง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องตระหนักอีกอย่างคือความน่าเชื่อถือของช่องยูทูบที่เราเลือกมาให้เด็กๆ ของบ้านได้ชมว่าเป็นอย่างไร อาทิ ผู้ให้ความรู้มีความรู้ที่จริง, ความต่อเนื่องในการให้ความรู้ว่าสามารถให้ความรู้ได้ในระยะยาว ไม่หลงประเด็นหรือมีการชวนเชื่อที่มากเกินไป

ดังนั้นการเลือกช่องนั้นต้องไม่ใช่เพียงแค่การดูเอาสนุกแต่ต้องตระหนักถึงความเป็นประโยชน์และความน่าเชื่อถือของช่องที่เลือกดูเช่นกันเพื่อให้การเรียนภาษาอังกฤษของลูกน้อยได้ประสิทธิภาพทั้งความรู้ที่ถูกต้องและความเพลิดเพลิน

เลือกจากความยาวของตัววิดิโอในการเรียนเพื่อไม่ให้มีความยาวเกินไป

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ มีใจจดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ภาษาและยังรู้สึกสนุกทุกครั้งที่ได้ดู คือช่วงเวลาในการดูที่เหมาะสม หากสั้นเกินไปก็อาจจะทำให้ไม่สามารถซึมซับได้มากเท่าที่ควรแต่หากยาวไป ก็อาจทำให้เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องดูได้ เช่นนั้น การเลือกขนาดความยาวของคลิปเองก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคดีๆ ที่ทำให้ลูกน้อยอยู่กับหน้าจอในช่วงเวลาที่จำกัด ไม่อยู่นานเกินหรือสั้นเกิน ซึ่งเวลาในการเรียนรู้ภาษานั้นก็ควรจะจำกัดตามลำดับอายุที่เหมาะสมเช่น

  • ช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ ควรอยู่หน้าจอไม่เกิน 15 นาทีต่อวัน
  • ช่วงอายุ 4 – 6 ขวบ ควรอยู่กับหน้าจอได้เกิน 30 นาทีต่อวัน
  • ช่วงอายุ 7 ขวบขึ้นไป ควรอยู่กับหน้าจอไม่เกิน 60 นาทีต่อวัน

การกำหนดเช่นนี้จะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นกับสิ่งที่จดจ่อแล้ว ยังช่วยควบคุมเรื่องการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของพวกเขาอีกด้วย ไม่ให้จ้องนานเกินไป นับว่าได้ประโยชน์ทั้งการเรียนและการปกป้องสายตาเลยนะคะ

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ที่มา : www.siamglasses , admissionpremiumengtricks.com

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save