fbpx

รวมประโยคสอนหลักภาษาไทย ที่พ่อแม่สอนให้ลูกได้

: 29 มิถุนายน 2561

ภาษาไทยมีหลักภาษาที่ซับซ้อน แต่การเรียนภาษาไม่ใช่เรื่องยาก มีประโยคมากมายที่สามารถทำให้ลูกน้อยจำหลักภาษาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าการท่องจำทีละอย่าง ดีไม่ดีลูกน้อยอาจจะจำได้ไปจนโตเลยเชียวนะ เราไปดูประโยคเหล่านี้กันเถอะค่ะ!

อักษร 3 หมู่

เริ่มต้นกันด้วยประโยคสำหรับสอน “อักษร 3 หมู่ หรือไตรยางศ์” คือประโยคที่ช่วยให้เด็กๆจดจำหมู่เสียงของพยัญชนะในภาษาไทยได้ง่ายขึ้นค่ะ และจะมีประโยชน์ในการเรียนรู้ในเรื่องการผันวรรณยุกต์ต่อๆไปอีกด้วย อักษร 3 หมู่ ประกอบไปด้วยอักษรสูง อักษรกลาง และ อักษรต่ำ มาดูกันดีกว่าว่ามีประโยคอะไรบ้าง

อักษรกลาง: ไก่จิกเด็กตาย เด็กตายบนปากโอ่ง

ไก่จิกเด็กตาย เด็ก(ฎ)ตาย(ฏ)บนปากโอ่ง

เป็นประโยคสำหรับท่องจำพยัญชนะในหมู่อักษรกลาง ฟังดูอาจจะรุนแรงและน่ากลัว แต่เป็นประโยคที่สามารถทำให้เด็ก ๆ จดจำได้อย่างขึ้นใจ โดย ในประโยคจะประกอบไปด้วยตัวอักษร ๙ ตัว คือ “ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ” ให้อธิบายให้เด็กเข้าใจว่า เมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันแล้ว ฎ และ ฏ ได้ถูกรวมไปกับ ด และ ต เพราะออกเสียงเหมือนกันค่ะ

อักษรสูง: ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน

ผีฝากถุง(ฐ)ข้าว(ฃ)สาร(ศ, ษ)ให้ฉัน

เป็นประโยคสำหรับท่องจำพยัญชนะในหมู่อักษรสูง ฟังดูชวนขนหัวลุกแต่ก็จำได้ไม่ยาก โดยในประโยคจะประกอบไปด้วยตัวอักษร ๙ ตัว คือ “ผ ฝ ถ ฐ ข ฅ ส ศ ษ ห ฉ” ให้อธิบายให้เด็กเข้าใจว่า เมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันแล้ว ฐ จะไปรวมกับ ถ กับ ข จะไปรวมกับ ฃ และ ส จะไปรวมกับ ศ ษ เพราะออกเสียงเหมือนกันค่ะ

อักษรต่ำ: งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก

งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก

เป็นประโยคสำหรับท่องจำพยัญชนะในหมู่อักษรต่ำ เป็นประโยคที่ฟังดูประหลาดและไม่คุ้นหู แต่ก็สามารถจดจำได้ไม่ยากอีกเช่นกันค่ะ ในประโยคจะประกอบไปด้วยตัวอักษรต่ำเดี่ยว ๑๐ ตัว คือ “ง ย ญ น ณ ร ว ม ล ฬ” ส่วนตัวพยัญชนะนอกเหนือจากสามประโยคข้างต้นนี้ จะเป็นตัวอักษรต่ำคู่ค่ะ

คำเป็น / คำตาย

คำเป็นกับคำตาย คือการจำแนกตัวสะกดเสียงสั้นและเสียงยาวในภาษาไทย โดยจะมีสองคำที่สามารถช่วยให้เด็ก ๆ จำได้ง่ายขึ้นดังนี้ค่ะ

คำตาย: กบด

เป็นคำที่ช่วยให้เด็ก ๆ จดจำมาตราตัวสะกดเสียงสั้น ซึ่งประกอบด้วย “แม่กก แม่กบ แม่กด” พอเรียงเป็นคำเดียวง่าย ๆ ก็ทำให้เด็กจำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องท่องยาวค่ะ

ตอนสอน พ่อแม่อาจจะสอนด้วยประโยค “กบฎต้องตาย” ให้ลูกจำได้ว่า สามตัวสะกดนี้เป็นคำตายค่ะ

คำเป็น: นมยวง

เช่นเดียวกันกับกบด นมยวงเป็นคำที่ช่วยให้จำมาตราตัวสะกดเสียงยาว ซึ่งประกอบด้วย “แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กง” เรียงเป็นคำตลก ๆ ที่เรียกเสียงหัวเราะให้กับเด็กได้เลยเชียว

พ่อแม่อาจจะแนะนำให้จำว่า “นมยวงยาว ๆ” ให้ลูกน้อยจำได้ว่าห้าตัวสะกดนี้ออกเสียงยาวค่ะ

คำลิ้นพันกัน

คำลิ้นพันกัน คือประโยคที่ประกอบด้วยคำที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน เป็นการช่วยให้เด็กฝึกการออกเสียงตัวอักษรภาษาไทยอย่างถูกต้อง และช่วยฝึกให้ออกเสียงคำยาก ๆ ได้ดีขึ้น เช่นคำควบกล้ำ การกระดกลิ้น

ประโยคเหล่านี้สามารถทำให้ลูกน้อยสนุกไปกับการฝึกออกเสียงอีกด้วย เพราะถ้าออกเสียงผิดก็จะฟังดูตลกไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เราไปดูตัวอย่างประโยคเหล่านี้กันเถอะค่ะ

ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็ก ยักษ์เล็กไล่ยักษ์ใหญ่

ชามเขียวคว่ำเช้า ชามขาวคว่ำค่ำ

ยายกินลำไย น้ำลายยายไหลย้อย

เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัด

หมูหมึกกุ้งหุงอุ่นตุ๋นต้มนึ่ง

ไหมใหม่ไม่ไหม้ใช่ไหม

งูกินหนูจนงูงงงวย

เรารักโรงเรียนของเรา รุ่งโรจน์ร่ำรวยเรืองรอง

ยักษ์รักลิง ลิงรักยักษ์ ลิงน่ารัก ยักษ์รักลิง

ลิงใหญ่ถือลำไยเล็ก ลิงเล็กถือลำไยใหญ่

กินมันติดเหงือก กินเผือกติดฟัน

ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก


หลักภาษาไทยอาจจะฟังดูน่าสงสัย แต่ถ้าเรานำมันมาใส่ในรูปแบบที่ดูสนุกสนานและจำไม่ยาก ก็ง่ายกว่าที่คิดเลยล่ะค่ะ ประโยคข้างต้นทั้งหมดนี้สามารถนำไปท่องเล่นกับลูกน้อยได้ ทั้งสนุกทั้งได้ความรู้เลยล่ะ 😆

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



“Fun English” เกมส์ฝึกภาษาสำหรับเด็ก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
เด็กวัยเข้าโรงเรียน เด็กวัยเข้าโรงเรียน
29 กันยายน 2560
เกมล่าสมบัติ ตามหาสมบัติในบ้านกันเถอะ!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save