fbpx

พูดแบบไหนทำให้ลูกฟังมากกว่ากัน ความแตกต่างระหว่าง You vs I Message 

Writer : Lalimay
: 12 พฤศจิกายน 2563

ไม่ว่าจะพูดอะไรลูกก็ไม่ยอมฟัง จะทำอย่างไรดี? คุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้านน่าจะเคยเจอปัญหานี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวและทำให้เรากับลูกทะเลาะกัน นั่นอาจทำให้เราต้องกลับมามองตัวเองว่า สิ่งที่เราพูด ทำให้ลูกรู้สึกต่อต้านรึเปล่า เรากำลังพูดด้วย You Message รึเปล่า วันนี้เราจึงมีเทคนิคการพูดที่เรียกว่า I Message มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ

ลักษณะการพูด

You message : พูดถึงการกระทำของลูก

พูดโดยมุ่งไปที่การกระทำของลูก ตำหนิหรือชี้ว่าลูกเป็นคนผิด แฝงด้วยอารมณ์ด้านลบและความรู้สึกไม่พอใจ มักขึ้นต้นประโยคด้วย “ทำไม” 

I Message : พูดถึงความรู้สึกของตัวเอง

บอกความต้องการและความรู้สึกต่อพฤติกรรมที่ลูกทำ หรือพูดสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น โดยไม่ใช้อารมณ์ หลีกเลี่ยงการหาคนผิด มักขึ้นต้นประโยคด้วย “แม่อยาก…”

ความรู้สึกเมื่อได้ฟัง

You message

ลูกรู้สึกถูกต่อว่าหรือถูกกล่าวหา สูญเสียความมั่นใจ คิดว่าตัวเองเป็นตัวปัญหา รวมไปถึงพูดย้อนเพื่อป้องกันตัวเอง ทำให้รู้สึกต่อต้านไม่อยากทำในสิ่งที่พ่อกับแม่สั่งให้ทำ

I Message

ลูกรับรู้ถึงความห่วงใย เพราคำพูดที่สร้างความรู้สึกนุ่มนวล ให้ผลด้านบวก ทำให้ลูกคล้อยตามและเชื่อฟังได้มากกว่า

ตัวอย่างประโยค

You message

  • เมื่อไหร่จะไปอาบน้ำ พูดกี่รอบแล้วเนี่ย
  • ทำไมไม่ทำการบ้านสักที
  • ทำไมพูดจาไม่น่ารักเลย

I Message :

  • แม่อยากให้หนูไปอาบน้ำ จะได้สบายตัว
  • แม่จะดีใจมากถ้าหนูทำการบ้านเสร็จนะ 
  • แม่เสียใจที่หนูพูดแบบนี้

จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้วิธีพูดมีผลต่อความรู้สึกของคนฟังเป็นอย่างมาก การเลือกใช้ I Message ย่อมทำให้ลูกรู้สึกเปิดใจ และรับฟังเรามากกว่า ถึงแม้เทคนิคนี้อาจฟังดูยาก แต่ถ้าเราตั้งสติก่อนพูด เลือกใช้คำพูดที่แสดงความรู้สึกของเรามากกว่าตำหนิลูก รับรองว่าการสื่อสารภายในบ้านจะเป็นไปด้วยความเข้าใจอย่างแน่นอนค่ะ

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



แด่…ลูกสาวของแม่
ชีวิตครอบครัว
6วิธี ช่วยลูกน้อย ค้นหาพรสวรรค์
กิจกรรมของครอบครัว
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save