fbpx

เมื่อพ่อแม่ต้องแยกกันอยู่ ดูแลจิตใจลูกอย่างไร

Writer : giftoun
: 17 กรกฏาคม 2561

เมื่อถึงวันที่คุณพ่อและคุณแม่ตัดสินใจแยกกัยอยู่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือสภาพจิตใจลูกนี่เอง จะดูแลได้อย่างไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

บอกลูกตั้งแต่เนิ่นๆ

การเตรียมตัวบอกลูกแต่เนิ่นๆ จะกระทบต่อจิตใจของเด็กน้อยที่สุด ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ก่อนแยกทางประมาณ 6 เดือน -1 ปี ควรเริ่มบอกเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถรับรู้และเข้าใจความหมายของภาษา ซึ่งอาจจะเป็นวัยประถม สำหรับเด็กช่วงวัย 0-6 ปี นั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงน้อยกว่าช่วงวัยรุ่นเพราะเด็กวัยนี้หาก ได้รับความรัก ความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ เขาจะไม่รู้สึกว่าคนใดคนหนึ่งหายไปหรือกำลังเกิดปัญหาขึ้นค่ะ

ไม่โกหกลูก

ขณะเดียวกันหากลูกถามถึงคุณพ่อหรือคุณแม่ก็ควรจะตอบแบบไม่โกหกลูก ให้ตอบคำถามตามความเป็นจริงว่า คุณพ่อหรือคุณแม่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกับเราแล้ว ถ้าอยากเจอก็สามารถโทรนัดได้เลย ทั้งนี้น้ำเสียงและท่าที่พูดกับลูกควรทำให้เป็นเรื่องปกติค่ะ

สร้างข้อตกลงร่วมกัน

ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรมีข้อตกลงร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ต่างฝ่ายต่างได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เช่น คุณพ่อไปโรงเรียนลูกในวันพ่อ คุณแม่มีเวลาร่วมกันกับลูกอย่างสม่ำเสมอ ได้เจอทั้งคุณพ่อและคุณแม่ในโอกาสพิเศษ เป็นต้น

คอยเติมความรักและความอบอุ่น

ความรักและความอบอุ่นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ลูกต้องการจากคุณพ่อและคุณแม่มากที่สุด ไม่สร้างความรู้สึกเกลียดชังและทัศนคติที่ไม่ดี พยายามทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นจะทำให้เด็กรู้สึกว่าลูกเป็นเด็กที่มีพร้อมทั้งพ่อแม่และไม่ขาดความรักจากคนใดคนหนึ่งไปเลย

ไม่ทะเลาะต่อหน้าลูก

การทะเลาะกันต่อหน้าลูกถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก จะทำให้ลูกนั้นซึมซับกับความขัดแย้งจนกลายเป็นคนที่ก้าวร้าวโดยที่ไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ถ้าเป็นไปได้อย่าให้ลูกเห็นคุณพ่อและคุณแม่ที่เค้ารักทะเลาะกันต่อหน้าเลย เรื่องแบบนี้ลูกรับรู้ได้ถึงแม้จะพูดไม่ได้ก็ตามค่ะ

ไม่แสดงอาการเครียดต่อหน้าลูก

ความเครียดเป็นอีกความรู้สึกหนึ่งที่ส่งต่อถึงลูกได้ง่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งแสดงอาการเครียดต่อหน้าลูกมากเท่าไร ลูกก็จะได้พลังลบมากเท่านั้น ไม่ดีต่อตัวลูกเลยแม่แต่น้อย ยังไงคุณพ่อหรือคุณแม่ควรผ่อนคลายบ้าง จะได้อารมณ์ดีเวลาอยู่ต่อหน้าลูกค่ะ

ยังเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูก

ไม่ว่าความสัมพันธ์ทั้งคู่จะเป็นเช่นไร คุณพ่อและคุณแม่ยังเป็นฮีโร่ในสายตาลูกเสมอ สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกได้ อย่าลืมว่าลูกยังอยู่ในวัยที่ชอบเลียนแบบสิ่งที่อยู่รอบตัว ถ้าอยากให้ลูกโตขึ้นมาเป็นแบบไหนก็ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านนั้นด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม วิธีการดูแลจิตใจลูกของแต่ละบ้านก็แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งสำคัญคือต้องมองที่ลูกเป็นหลัก และเมื่อทุกฝ่ายเห็นแก่ลูก การทะเลาะเบาะแว้งหรือทิฐิที่มีต่อกันจะลดน้อยลงค่ะ

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
18 ตุลาคม 2560
วิธีพาลูกขึ้นขนส่งสาธารณะครั้งแรก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
7 ท่าที่ใช้เล่นละครเงากับลูกๆ
กิจกรรมของครอบครัว
6 กิจกรรมที่ทำให้ลูกอยู่นิ่งๆ บนเครื่องบิน
กิจกรรมของครอบครัว
8 วิธีให้ลูกดื่มน้ำเยอะขึ้น
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save