fbpx

งานวิจัย

เลือกหมวดหมู่


ข่าว ข่าว

วารสาร Child Development ได้ตีพิมพ์การศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม โดยระบุว่า หากพ่อแม่และคุณครูสามารถกระตุ้นให้เด็กๆ พูดย้ำกับตัวเองในใจให้มีความพยายาม กับประโยคว่า “ฉันจะทำให้ดีที่สุด” ระหว่างการสอบ จะช่วยให้คะแนนสอบดีขึ้นได้ในเด็กบางคน  งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเด็ก 212 คน อายุระหว่าง 9-13 ปี ซึ่งนักวิจัยระบุว่าเป็นช่วงอายุที่เด็กๆ เริ่มมีแนวคิดเชิงลบต่อความสามารถในการเรียนหนังสือโดยได้มีการทดลองในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ หลังจากสอบครึ่งแรกเสร็จ ก็ได้มีการแบ่งเป็นเด็ก 3 กลุ่ม ในเด็กกลุ่มแรกจะพูดเชิงบวกกับตัวเอง ว่า “ฉันจะทำให้ดีที่สุด” เพื่อเพิ่มความพยายาม และอีกกลุ่มให้พูดว่า “ฉันเก่งในวิชานี้” เพื่อเน้นเรื่องทักษะ และกลุ่มสุดท้ายไม่ต้องพูดอะไรกับตัวเองเลย ก่อนจะให้พวกเขากลับไปสอบวิชาคณิตศาสตร์ต่อในครึ่งหลัง ผลปรากฏว่ากลุ่มเด็กนักเรียนที่พูดเชิงบวกกับตัวเองเพื่อเพิ่มความพยายาม จะทำคะแนนได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้พูดกระตุ้นตัวเอง และว่าการพูดกับตัวเองให้พยายามขึ้น จะเอื้อประโยชน์ให้กับเด็กที่มีแนวคิดเชิงลบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ได้ดี ส่วนเด็กกลุ่มอื่นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเท่าใด การพูดเกี่ยวกับตัวเองให้พยายาม จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจที่เด็กเอาแต่กังวลว่าไม่เก่งหรือทำไม่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ให้เพิ่มความพยายามในการสอบมากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ด้วยตัวเด็กเอง แต่ยังไม่พบหลักฐานที่บ่งบอกว่าวิธีนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับเด็กที่เก่งอยู่แล้วได้หรือไม่  ดังนั้นพ่อแม่อาจแนะให้เด็กพูดย้ำกับตัวเองในแง่บวกในตอนที่ต้องไปสอบ ซึ่งในการวิจัยนี้พบว่า การพูดกระตุ้นตัวเองในเชิงบวกของเด็ก จะได้ผลกับเด็กที่มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ ผ่านการพูดย้ำกับตัวเองให้มีความพยายาม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตัวเองทุกวัน ทั้งนี้ การพูดกับตัวเองเป็นเรื่องธรรมชาติในเด็กเล็กและก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปจนกระทั่งโตขึ้น เพียงแต่จากที่เคยพูดออกมาเสียงดังก็จะค่อยๆเบาลงไปจนเป็นการพูดในใจ เพื่อช่วยในการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอง อ้างอิงจาก https://www.voathai.com/a/encouraging-kid-to-positive-self-talk-for-development-12182019/5211370.html

ข่าว ข่าว
อย่างที่รู้กันว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งนั่นก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษหากใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ตอนนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองของเด็กที่เล่นมือถือนานเกิน 7 ชั่วโมงออกมาด้วยค่ะ งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ โดยเฝ้าศึกษาเด็กอายุ 9-10 ขวบ จำนวน 11,000 คน ในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งผลการเอ็กซเรย์สมองของเด็ก 4,500 คน พบหลักฐานในเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า เด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอวันละ 7 ชั่วโมงหรือมากกว่า จะมีภาวะเปลือกสมอง หรือ เซรีบรัล คอร์เท็กซ์ ที่บางตัวลงก่อนถึงวัยอันควร ซึ่งเปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความทรงจำ ความตระหนักรู้ ความคิด ภาษา และการรับความรู้สึก ตามปกติสมองส่วนนี้จะเริ่มบางลงเมื่อคนเราแก่ชราลง จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองเริ่มถดถอยลง แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ระยะเวลาในการอยู่หน้าจอคือสาเหตุหลักที่ทำให้เปลือกสมองบางลง แต่กลุ่มเด็กที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานๆ จะมีลักษณะสมองแบบนี้ อ้างอิงจาก bbc.com
3 มกราคม 2562

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save