fbpx

พ่อแม่แบบไหน? ที่ทำให้ลูกกลายร่างเป็นเด็กเก็บกด

Writer : Mneeose
: 20 สิงหาคม 2564

“เด็กเก็บกด” ปัญหาใหญ่ของเด็ก แต่ผู้ใหญ่ชอบมองเป็นเรื่องเล็ก!!

รู้หรือไม่? ว่าพฤติกรรมเก็บกดตั้งแต่เด็กนั้น ได้กลายเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาด้านพฤติกรรม และการเข้าสังคมในอนาคตของลูกน้อยแบบไม่รู้ตัว และเเน่นอนว่าไม่ได้รักษาให้หายง่ายๆ ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง

เนื่องจาก คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ลูกมีนิสัยเป็นอย่างไรในอนาคตนั่นเองค่ะ บางครั้งที่เราหวังดีกับลูกมากเกินไป อาจทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด ลูกจะพูดหรือแสดงความคิดเห็นอะไรไป ก็ถูกดุ ถูกว่ากลับมาตลอดว่าเถียง จนเด็กไม่กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดออกไป ทำให้เกิดเป็นพลังงานลบของการเก็บกดชั้นดี เหมือนกับระเบิดเวลาที่แค่รอเวลาจะปะทุขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งความเสียหายย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก และผู้ปกครองมากมายด้วยเช่นกัน

ถ้าไม่อยากให้ลูกกลายร่างเป็นเด็กกด คุณพ่อคุณแม่ลองมาเช็กดูสิว่า คุณกำลังเป็นพ่อแม่ประเภทแบบนี้อยู่รึเปล่า? ถ้าเข้าข่ายก็ถึงเวลาต้องเลิกแล้วค่ะ

1. พ่อแม่ขยันบ่น บ่นเก่งทุกเรื่อง

การบ่นของคุณพ่อคุณแม่อาจมีสาเหตุมาจากความหวังดี อยากให้ลูกมีระเบียบ มีความรับผิดชอบ แต่ถ้ามันมากเกินไปก็คงจะไม่เหมาะสม

เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ให้ลูก ถ้าเอาแต่บ่นลูกทุกวันจนหูชา ทำอันนั้นก็ผิด เล่นอันนี้ก็ห้าม แน่นอนว่า ลูกคงไม่อยากจะทำ หรือเล่นอะไรอีกเลยค่ะ และที่เด็กเลือกที่จะไม่พูด ก็เพราะไม่อยากให้พ่อแม่ที่เขารักต้องผิดหวังในตัวเขานั่นเอง

จากปัญหาเล็กๆ จึงอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต แค่เพียงเพราะการบ่น และการใช้คำพูดด้านลบของคุณพ่อคุณแม่ที่มากเกินไป ทางแก้ไขง่ายมากๆ เลย เพียงแค่ลองหันมาปรับทัศนคติ และปรับเปลี่ยนการใช้คำพูดต่างๆ ให้เป็นในแง่บวก ควบคุมอารมณ์ และลองพยายามทำความเข้าใจในตัวลูกว่าทำไมลูกถึงทำ หรือเล่นแบบนี้กันดีกว่าค่ะ รับรองว่า ลูกต้องเข้าใจถึงความหวังดีของคุณพ่อคุณแม่ขึ้นมาแน่นอน

 

2. พ่อแม่เสพติดหน้าจอ ใช้โทรศัพท์เป็นพี่เลี้ยงลูก

พ่อแม่ประเภทนี้เรามักเจอกันบ่อยๆ เพราะในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างสามารถทำได้ง่ายเพียงแค่กดโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้เมื่อมีเวลาว่างพ่อแม่ก็มักจะเสพติดหน้าจอกันจนลืมเลี้ยง และเล่นลูกกันเป็นประจำ

จึงทำให้หลายๆ ครั้ง ลูกโดนเมิน โดนเพิกเฉยใส่ ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่คนเดียว ทั้งๆ ที่พ่อแม่ก็นั่งอยู่ข้างๆ แต่ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์อะไรกันเลย

บางครอบครัวถึงขั้นเป็นคนยื่นโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตให้เป็นพี่เลี้ยงของลูกด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดมากๆ เพราะวัยเด็กถือเป็นวัยที่ต้องเล่น ฝึกพูดคุย สร้างบุคลิกต่างๆ ให้ดีในชีวิตจริง ไม่ใช่การมัวแต่มานั่งดูหน้าจอไปวันๆ นอกจากจะทำให้เด็กเสียเสียตาแล้ว ทักษะการเข้าสังคม หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างยังติดลบอีกด้วย

 

3. พ่อแม่ไม่ยอมปรับความคิดรับสิ่งใหม่ๆ

พ่อแม่ลักษณะนี้ มักจะหัวโบราณ ไม่ยอมรับชุดความคิดใหม่ๆ เข้ามา ถึงแม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปเท่าไหร่ ก็ยังคงคิดแต่เรื่องอดีต หรือสิ่งที่ตัวเองถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ เท่านั้น ห้ามนอกกรอบ เคร่งเครียด เนื่องจากกลัวผิดพลาด กลัวลูกล้มเหลว จึงเลือกที่จะป้องกันก่อนที่ลูกจะได้ลงมือทำด้วยซ้ำ

จึงทำให้เด็กต้องใช้ชีวิตยากขึ้น เพราะพ่อแม่ไม่ยอมปรับชุดความคิดมาจูนให้ตรงกับความคิดของเด็กในสมัยนี้เลยแม้น้อย พอทำนอกกรอบนิดหน่อย ก็โดนว่า จนทำให้เด็กรู้สึกเก็บกด และไม่อยากอยู่กับพ่อแม่ จนความสัมพันธ์นั้นกลายเป็นช่องว่างภายในครอบครัวโดยไม่รู้ตัว

ที่สำคัญ คือต้องค่อยๆ ปรับชุดความคิดของตัวเองให้เข้าใจความคิดของลูกมากขึ้น อย่ายึดติดกับความคิดแบบเดิมๆ มากเกินไป

 

4. พ่อแม่จอมบงการ ชอบบังคับลูก

4 คำพูดที่บอกได้ว่าคุณเป็นพ่อแม่ประเภทนี้ ก็คือ อย่า! ห้าม! หยุด! ต้อง! ที่คุณมักเผลอพูดกับลูกบ่อยๆ เมื่อลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ

เมื่อลูกได้ฟังจึงเหมือนเป็นการสั่ง มากกว่าการบอกแบบธรรมดา แถมยังชอบบังคับให้ทำในสิ่งที่ลูกไม่ได้ชอบจริงๆ อีก การเลี้ยงลูกในลักษณะนี้ จึงมักทำให้ลูกเกิดความเครียด และกดดันในสิ่งต่างๆ จากสิ่งที่พ่อแม่ยื่นมาให้ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เต็มใจรับมันก็ตาม

ทางแก้ คือ การลองปล่อยให้ลูกได้คิดเอง ทำเอง และเป็นอิสระบ้าง อย่าเข้มงวดทุกระเบียบนิ้ว สนับสนุนให้ลูกทำในสิ่งที่ชอบมากกว่าการไปบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่เขาไม่ชอบจะเป็นผลดีกว่านะคะคุณพ่อคุณแม่

 

5. พ่อแม่ช่างว่าช่างติ

ทำอะไรก็ติ อันนี้ไม่ดี อันนู้นก็ไม่ใช่ ยิ่งเป็นเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก ยิ่งทำให้เด็กไม่มีความมั่นใจตัวเอง กลายเป็นปมใหญ่ในจิตใจของเด็กไปได้เลยนะคะ

คุณพ่อคุณแม่บางคน ลูกทำไม่ถูกใจ ดันไปใส่อารมณ์ลูกอีก นอกจากลูกจะเสียใจมากๆ แล้ว ยังทำให้ลูกไม่กล้าที่จะลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องรอคำสั่งจากพ่อแม่ก่อนทำ เพราะกลัวทำแล้วถูกว่า จนเส้นใยของความสัมพันธ์ครอบครัวนั้นได้บางลงไปแบบไม่ต้องสงสัย

 

6. พ่อแม่ชอบคิดแทนลูก

“ลูกต้องชอบแบบนี้แน่เลย ลูกต้องกินแบบนี้แหละ” การคิดแทนลูก หรือชอบตัดสินใจแทนลูก โดยที่ไม่เคยถามความพึงพอใจของลูกเลย เป็นสิ่งที่น่าอึดอัดใจไม่แพ้กัน

เพราะนั่นหมายถึง การที่คุณไม่เคยรับฟังความต้องการของลูกจริงๆ ไม่ได้ยิน ปิดกั้นการรับฟังเสียงของลูก เพราะถือว่าตัวเองได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกแล้ว  เด็กจึงรู้สึกว่าต้องทำตามที่พ่อแม่บอกให้ทำเท่านั้น เมื่อผ่านไปนานๆ จึงกลายเป็นความรู้สึกสะสม และกลายเป็นอาการเก็บกดขึ้นมาได้นั่นเอง

 

7. พ่อแม่เปรียบเทียบกับคนอื่นเก่ง

“ลูกบ้านนู้นเขาสอบได้ที่ 1 แหละ ดีจังเลยเนอะ”

ถ้าไม่ใส่ใจคุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่ามันก็แค่ประโยคบอกเล่าธรรมดาๆ แต่สำหรับลูกคนที่ได้ยิน และต้องสัมผัสแล้ว มันคือการตอกย้ำอีกรูปแบบหนึ่ง

และเมื่อลูกโดนเปรียบเทียบก็จะทำให้ลูกรู้สึกผิดหวังในตัวเอง น้อยใจ และคิดว่าตัวเองไม่มีค่า เพราะทำแบบที่พ่อแม่อยากให้ทำไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่า เป็นต้นตอของอาการเก็บกด และเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าตามมานั่นเอง เพราะฉะนั้น อย่าเผลอหลุดพูดเปรียบเทียบกับลูกแบบนี้เป็นอันขาด

 

8. พ่อแม่นักคาดหวัง

เมื่อพ่อแม่เกิดความคาดหวังขึ้นนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการที่ลูกต้องแบกหิน “ความคาดหวัง” ที่พ่อแม่โยนให้ไว้บนหลังอยู่เสมอ หรือต้องพยายามปีนป่ายภูเขาที่พ่อแม่สร้างขึ้น

และถ้าลูกเกิดทำตามคาดคาดหวังของพ่อแม่ไม่ได้ ลูกก็จะถูกตำหนิไปตามคาด ทำให้ลูกไม่มีความมั่นใจ น้อยใจพ่อแม่ หรืออาจรู้สึกต่อต้านพ่อแม่ จนไม่เชื่อฟังคำพูดขึ้นมาได้ทันที

ทางที่ดี คือ อย่าคาดหวัง เราก็จะไม่ผิดหวังนั่นเองค่ะคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย? คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่เป็นพ่อแม่เหมือน 8 ประเภทด้านบน แม่อยากจะบอกว่า ยังไม่สายเกินแก้นะคะ เพราะเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราได้ตลอดนั่นเอง เพียงแค่กล้ายอมรับ เปิดใจให้กว้างขึ้น รักลูก และลดความคาดหวังให้น้อยลง ถ้าอยากให้ลูกมีชีวิตทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่ดี ก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็นนั่นเอง Parents One ขอเอาใจช่วยคุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวให้รัก และเข้าใจกันมากขึ้นนะคะ

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
20 กรกฏาคม 2563
เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save