fbpx

คุณแม่ต้องทำแบบนี้! ถ้าอยากให้ลูกฟันแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์

Writer : nunzmoko
: 26 พฤศจิกายน 2561

เมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้เพียง 6 สัปดาห์ ทารกในครรภ์ก็เริ่มมีฟันอยู่ในเหงือกแล้ว ฟันจะค่อยแข็งขึ้นเมื่อมีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น ทารกแรกเกิดมีฟันน้ำนมครั้ง 20 ซี่ และมีฟันแท้ซึ่งเป็นฟันกราบ 4 ซี่ แต่ฟันทั้งหมดนี้ยังไม่โผล่พ้นเหงือก การดูแลให้ฟันลูกแข็งแรงจึงต้องเริ่มตั้งแต่แรกตั้งครรภ์ ไปดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ลูกน้อยของเราฟันแข็งแรงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ทำไมระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลฟันเป็นพิเศษ

  • ช่วงตั้งครรภ์เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมีผลกระทบต่อเหงือกและฟัน ทำให้เหงือกบวกอักเสบจนบางครั้งอาจไม่สะดวกต่อการแปรงฟัน
  • คุณแม่แปรงฟันได้ค่อนข้างลำบากและอาจทำความสะอาดฟันได้ไม่ทั่วถึง เหตุนี้จึงทำให้เกิดฟันผุ
  • คุณแม่อาเจียนที่มีอาการแพ้ท้อง อาเจียนทำให้กรดจากอาหารติดค้างฟันอยู่มาก บางรายอาจมีการแพ้กลิ่นยาสีฟันร่วมด้วย การทำความสะอาดช่องปากจึงเป็นไปไม่สะดวกนัก จึงก่อให้เกิดฟันผุตามมานั่นเอง

สุขภาพฟันแข็งแรงของแม่และทารก

1. ดูแลความสะอาดช่องปาก

คุณแม่ควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากให้สะอาดทุกครั้งหลังทานอาหารและอาเจียน เพราะในช่วงที่คุณแม่อาเจียนออกมาหลายครั้งจากอาการแพ้ท้อง ทำให้กรดจากอาหารติดค้างฟันอยู่มากถ้าไม่รักษาความสะอาดให้ดีจะก่อให้เกิดฟันผุได้

2. กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและฟัน

รับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง อย่างเช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูง ไข่ นม ผักใบเขียว ผลไม้ และควรหลีกเลี่ยงขนมหวานเพราะจะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย

3. ปรึกษาแพทย์เมื่อต้องใช้ยาระงับอาการปวดฟัน

เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาระงับอาการปวดฟัน คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เพราะยาบางชนิดมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์

4. พบทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ควรพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับคำแนะนำ รวมถึงการใช้ยาอย่างเหมาะสม สำหรับช่วงเวลา 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่เหมาะแก่การทำฟัน เพราะจัดอยู่ในช่วงฮอร์โมนในร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลง นอกเสียจากคุณแม่จะมีปัญหาติดเชื้อในช่องปาก หรือมีเหตุต้องเข้ารับการรักษาเร่งด่วนโดยเฉพาะในอาการที่คุณแม่ปวดฟันมากนั่นเอง

การมีสุขภาพปากและฟันที่ดี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้คุณแม่และทารกมีสุขภาพที่ดีไปพร้อมกัน ดังนั้น เมื่อรู้วิธีการดูแลเรื่องช่องปากที่ดีแล้ว รับรองว่าจะไม่มีปัญหาทางช่องปากซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์จนทำให้เกิดอาการฟันผุในยามที่เขาเติบโตตามมาด้วยอย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา – 

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



สิทธิประโยชน์ “ฝากครรภ์ฟรี” ปี 60
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save