เวลาลูกน้อยของเราได้ออกมาดูโลกภายนอก คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเคยสังเกตเห็นว่าของขวัญจากฟ้าของเราอาจจะมีจ้ำก้อนสีแดงสดเกิดขึ้นตามร่างกาย รูปร่างดูคล้ายก้อนเลือด ไม่รู้ว่าอันตรายรึเปล่า เกิดความผิดปกติอะไรขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นทางการแพทย์เรียกว่า ปานสตรอว์เบอร์รี่( Strawberry Hemangioma, Strawberry Nevus ) ค่ะ
เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะว่ามีหน้าตาคล้ายผลสตอเบอรี่นั่นเองซึ่งตำแหน่งที่ปานชอบขึ้นได้แก่
- ใบหน้า บนจมูก, ดวงตา, ปาก
- ท้ายทอย
- ศีรษะ
- หน้าอก, หลัง
ปานสตรอว์เบอร์รี่นั้นเกิดขึ้นมาจากการจับตัวของเส้นเลือดฝอยที่อยู่รวมตัวกันมากเกินไป ทำให้เกิดการงอกหรือนูนออกมาจากผิวหนังจนกลายเป็นเนื้องอก แต่ถึงแบบนั้น ปานนี้ก็ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือเชื้อของมะเร็งนะคะ ไม่อันตรายถึงขั้นนั้นซึ่งปานสตรอว์เบอร์รี่มีอยู่ 3 ประเภท นั่นก็คือ
- อยู่ชั้นตื้น สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า สีแดงสด เห็นชัด
- อยู่ชั้นลึก อยู่ใต้ผิวลงไป จะเห็นเป็นสีเขียว, สีน้ำเงินเหมือนสีเส้นเลือด
- อยู่ระหว่างกลาง มองเห็นได้ด้านบนที่เป็นสีแลือดสดแต่ใต้ผิวเลยก็มีฝังอยู่ ไม่โผล่พ้นหมด
ปานสตรอว์เบอร์รี่อันตรายหรือไม่
โดยปกติแล้วปานสตรอว์เบอร์รี่นั้น ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงและสามารถหายไปเองได้เมื่อลูกน้อยเติบโตเหลือไว้แค่รอยจางๆ รึอาจไม่มีรอยเลย แต่หากตำแหน่งที่ขึ้นนั้นอยู่ในตำแหน่งเสี่ยงก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มากับเนื้องอกชนิดนี้ได้ซึ่งภาวะที่สามารถเกิดขึ้นนั้นแบ่งได้ดังนี้
- เกิดการทำงานผิดปกติของร่างกาย หากก้อนปานเกิดขึ้นในโพรงจมูก, บนเปลือกตา, ในร่มผ้าที่เกิดการเสียดสี
- ภาวะเลือดในร่างกายอาจไม่ไหลเวียนดีเท่าที่ควรเพราะมีกลุ่มเลือดไปกระจุกกันที่ตัวปาน และอาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำ
- หากปานแตกหรือกลายเป็นแผล อาจทำให้เสียเลือดมากเพราะเป็นจุดศูนย์รวมของการไหลเวียนของเลือด
- อาจส่งผลให้อวัยวะภายในผิดปกติหากปานเกิดขึ้นในอวัยวะภายในร่างกายไม่ใช่ภายนอก เช่นเกิดขึ้นในหลอดลม, เกิดขึ้นในตับ
วิธีรักษาปานสตรอว์เบอร์รี่
ในกรณีที่ปานสตรอว์เบอร์รี่เริ่มสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตของลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นขนาดที่ขยายใหญ่เกินไปจนน่าเป็นห่วง, ตำแหน่งที่เกิดขัดขวางการเจริญเติบโตของร่างกายรึขัดขวางการทำงานของระบบต่างๆ ก็จำเป็นต้องหาทางรักษาแต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอแล้วเท่านั้นว่า สมควรแก่การรักษาจึงทำการรักษาค่ะซึ่งวิธีรักษามีดังนี้
- ให้ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) ช่วยให้ขนาดของปานเล็กลง, ไม่อักเสบหรือขยายขนาดขึ้น แต่ต้องดูความพร้อมของร่างกายลูกน้อยด้วยเพราะอาจมีผลข้างเคียงให้ความดันโลหิตต่ำ, ชีพจรเต้นช้า
- ผ่าตัดศัลยกรรมให้ตัวปานหายไป ไม่ก่อให้เกิดเป็นรอยติดตัวไปจนโต ในกรณีที่ปานนั้นกลายเป็นก้อนผังผืด
- ใช้เลเซอร์ยิง อันนี้สามารถทำได้ในกรณีปานนั้นอยู่บนชั้นผิว ไม่เสี่ยงอันตรายเพราะสามารถมองเห็นได้ง่าย, ไม่อันตรายในการรักษา
- ใช้ความเย็นหรือไฟฟ้าในการจี้พื่อให้ตัวปานยุบลง
ที่มา : hellokhunmor , thaihealth, pobpad