fbpx

รู้จักโรคตาเหล่ ตาเข ในเด็ก

Writer : Jicko
: 28 มกราคม 2564

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่าตาเหล่ตาเขในเด็กนั้นเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง และคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็มักจะปล่อยไว้ไม่รักษา และมักจะเข้าใจว่าพอลูกโตขึ้นภาวะนี้เดี๋ยวก็จะหายไปเอง

แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่า โรคตาเหล่ ตาเข ในเด็กมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความผิดปกติแตกต่างกันไป วันนี้ Parents One จะพาไปทำความเข้าใจพร้อมๆ กันเลยค่ะ รู้ก่อน รักษาก่อน เด็กๆ จะได้ปลอดภัยนะคะ

ตาเหล่ ตาเข คืออะไร

เป็นโรคที่มีอาการเนื่องจากตาไม่อยู่ในแนวตรงตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากการมีภาวะผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลูกตาทั้ง 2 ข้าง ขาดการประสานงานกันที่ดี และยังอาจเป็นสาเหตุให้ระดับการมองเห็นด้อยกว่าปกติอีกด้วย

สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

  • ตาเหล่ปรากฎ คือ ภาวะตาเหล่ที่ปรากฎให้เห็น
  • ตาเหล่ซ่อนเร้น คือ ภาวะตาเหล่ที่ไม่เคยปรากฎให้ใครเห็น แต่สามารถตรวจพบได้โดยจักษุแพทย์ ภาวะนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ว่าต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและติดตามการรักษา
  • ตาเหล่เทียม คือ เป็นภาวะตาไม่ได้เหล่จริง แต่ดูเสมือนดวงตามีภาวะเหล่ ซึ่งจะพบได้บ่อยในเด็กที่มีผิวหนังบริเวณระหว่างดวงตาทั้ง 2 ข้างกว้างผิดปกติ ซึ่งถ้าตรวจก็จะไม่พบความผิดปกตินั่นเอง

 

อาการตาเหล่ ตาเข

  • ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกัน พ่อแม่สามารถเห็นได้ทันที
  • เด็กมองเห็นภาพซ้อน
  • หยีตาอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่มีแสงจ้า
  • ในบางรายอาจปวดศีรษะได้

 

สาเหตุเกิดมาจากอะไร

ปกติแล้วอาการสายตาเหล่ตาเขนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด เนื่องจากสายตายังไม่เจริญเต็มที่อาจจะทำให้เกิดภาวะนี้อยู่บ้าง แต่หากเด็กอายุเลย 6 เดือนแล้วยังมีอาการอยู่ ก็ถือว่ามีอาการผิดปกตินั่นเองค่ะ

  • พันธุกรรม
  • ความพิการของกล้ามเนื้อกลอกลูกตา
  • สายตาผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง
  • เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเด็กที่มีร่างกายพัฒนาการช้า
  • มีโรคในตาข้างใดข้างหนึ่ง
  • เกิดจากมะเร็งจอตาในเด็ก (Retinoblastoma)

การรักษา

โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของตาเหล่หรือตาเขและสาเหตุของการเกิดโรคเป็นหลัก

  • หากเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน แพทย์จะติดตามเฝ้าดูอาการไปก่อน เพราะอาการมักจะหายไปได้เมื่ออายุครบ 6 เดือน
  • หากเด็กมีสายตายาวมากกว่า +2.50 D หรือค่าสายตาทั้ง 2 ข้างต่างกันมากกว่า +1.50 D หรือเอียงมากกว่า +0.50 D ควรได้รับการแก้ไขด้วยแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์
  • รับการผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ครั้ง เพราะการผ่าตัดเพียงหนึ่งครั้งไม่สามารถทำให้อาการดังกล่าวหายได้หมด ต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะๆ

พ่อแมส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเสมอว่า “โรคนี้ไม่มีทางรักษา ทำอะไรไม่ได้ หรือว่าโตเดี๋ยวก็หายเอง” ซึ่งทั้งหมดเป็นความเชื่อที่ผิด โรคนี้หากเด็กๆ มีความผิดปกติพ่อแม่ก็ควรที่จะรีบเข้ามาปรึกษาและพบแพทย์เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้รู้ว่าที่ลูกเป็นอยู่นั้นเป็นตาเหล่ ตาเข ชนิดที่ต้องได้รับการรักษาหรือไม่ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ภิยดา ยศเนืองนิตย์ today.line.me

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
26 พฤศจิกายน 2561
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save