บางครั้งเวลาเราพูดกับลูกที่บ้านแล้ว ก็เผลอระเบิดอารมณ์ออกมา แต่บางทีก็คิดว่าคำที่พูดไปไม่ได้รุนแรงอะไร แค่อยากดุหรืออยากสอนบ้างเท่านั้นเอง ทำไมลูกถึงกลัวเรา ไม่อยากเข้าใกล้เรา หรือพาลไปคิดว่าเราเกลียดเขาจริงๆ แล้วซะอีก
นั่นก็เพราะว่าคำบางคำ ไม่ควรเป็นคำที่จะใช้ในการดุหรือสอนลูกยังไงล่ะค่ะ
และประโยคไหนบ้างที่ไม่ควร เราไปดูด้วยกันเลยเพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมของเราให้ไม่เป็นพ่อแม่ที่ใจร้าย และชอบใช้อำนาจกับลูก
น่ารำคาญ จะไปไหนก็ไป
คำนี้ไม่ว่าใครได้ยินก็คงต้องสะเทือนใจไว้ว่าคนๆ นั้นจะมีบทบาทไหนในชีวิตเรา และยิ่งเป็นเด็กเล็กแล้ว เขาอาจแยกไม่ได้ด้วยน้ำเสี่ยงหรือท่าทางว่าพูดเล่นหรือจริง แต่คิำของพ่อแม่ล้วนจริงเสมอสำหรับเขา อาจทำให้คิดไปได้จริงๆ ว่าถูกพ่อแม่รำคาญ ฉะนั้นคำๆ นี้จึงเป็นคำที่ไม่ควรใช้มากๆ ไม่ว่าเราจะพูดติดขำ อยากแหย่เขาหรือกำลังโกรธอยู่จริง เพราะพอเราหายโกรธแล้ว ลูกอาจไม่ได้หายกลัวเหมือนที่เราหายค่ะ
คำที่ควรใช้เวลารู้สึกไม่พร้อมที่จะให้ลูกอยู่ใกล้ๆ จึงควรเป็นการขอเวลาซักครู่รึบอกลูกไปว่าตอนนี้เราอยู่ในอารมณ์ไหนและขอใช้เวลากับตนเอง
เกลียดลูกที่สุด, ไม่รักลูกแล้ว
จะด้วยความรู้สึกชั่ววูบที่ความอดทนหมด หรือรุ้สึกว่าไม่ไหวแล้วกับความซน, เอาแต่ใจของลูกน้อย ประโยคนี้ก็เป็นอีกหนึ่งประโยคอันตรายที่ไม่ควรเอ่ยออกมาเลยไม่ว่าจะโมโหแค่ไหนก็ตาม เพราะคำๆ นี้ลูกเราจะจดจำไปจนถึงวันที่เขาโต ทำให้ความไว้ใจ และความรู้สึกดีๆ ที่มี อาจจะน้อยลงจนถึงขั้นเฉยชา แม้เราจะพยายามบอกรักเขาทดแทนไปเท่าไหร่ เสียงมันก็ไม่ดังเท่าคำว่าเกลียด, ไม่รักในตอนแรกที่พูดไป
ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าอยู่ในจุดที่ไม่ไหว ให้เอาตัวเองออกมาก่อนจากสถานการณ์ตึงเครียดที่จะนำพาไปสู่การใช้คำนั้น
ไม่น่าให้เกิดมาเลย
ในวันที่ล้าหรือหมดกำลังทำอะไรต่างๆ บางทีก็อาจมีบ้างที่คนเป็นพ่อแม่หวนมีคำนี้ขึ้นมาในใจ ซึ่งมันเป็นคำที่ไม่ควรหลุดออกมามากที่สุดโดยเฉพาะเด็กที่เราตั้งใจให้เขาเกิดมาเป็นลูกเรา ไม่เช่นนั้นก็เหมือนว่าที่ผ่านมานั้น การมีตัวตนของลูกคือเรื่องโกหกที่เราแสร้งว่ายินดีที่มีเขาในชีวิต
หากรู้สึกอ่อนล้าหรือเปล่าเกินจะเลี้ยง ลองให้เวลาตัวเองได้สงบอารมณ์หรือมีสติมากพอแล้วถึงค่อยพูดคุยกับลูกนะคะ
ลูกบ้านอื่นน่ะ…เขายัง…
ไม่ว่าจะต่อด้วยคำว่าอะไร แต่การขึ้นต้นมาว่าลูกบ้านอื่น รึคนอื่นก็บ่งบอกได้แล้วว่าเรากำลังพยายามเปรียบเทียบลูกของเราให้เป็นอื่น และชื่นชมคนอื่นจริงๆ เป็นคนในใจหลักของเราไป ซึ่งหากเป้นตัวเราเองโดนเปรียบเทียบแบบนี้ อย่างไรก็รู้สึกแย่ใช่มั้ยคะ กับลูกเองก็เช่นกัน นับว่าเป็นประโยคที่เลือกได้แล้วอย่าใช้เลยในการสนทนา เพราะไม่รู้ได้เลยว่าลูกจะตีความว่าเราแค่ต้องการให้ลูกดีขึ้น หรือเราอยากได้คนอื่นมาเป็นลูกของเราแทน
ไปไหนก็อายเขา มีลูกนิสัยแบบนี้
บางครั้งเราแค่อยากให้ลูกทำตัวดีๆ เวลาไปพบเจอคนอื่นเพราะอยากให้เขาเป็นเด็กที่น่ารัก แต่การขู่ด้วนถ้อยคำลดทอนคุณค่าของตัวเด็กเอง จะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกโดนกดดัน และถูกด้อยค่าลงไปโดยปริยาย ส่งผลให้เขาเป็นคนไม่มีความมั่นใจในตนเอง และอาจไม่มั่นใจด้วยว่า คุณพ่อคุณแม่ของเขา รักเราหรือเปล่าหรือรู้สึกอายที่ต้องมีเขาเป็นลูก
เลี่ยงได้ อยากให้เลี่ยงใช้คำนี้ แต่ลองเป็นการแนะนำดีๆ แทนว่าควรจะทำตัวอย่างไร จะดีกว่า อาทิ ” พูดเพราะๆ เวลาเจอคนอื่นได้มั้ยคะ ถ้าทำได้หนูจะเป็นเด็กดีมากๆ เลยนะ ” “ไม่วิ่งไปมานะ เดี๋ยวจะล้ม และทำให้คนอื่นเวียนหัว สัญญานะครับคนเก่ง ”
ถ้ารู้ว่าโตมาจะเป็นงี้นะ…น่าจะเอายัดขี้เถ้าตอนเกิด
เวลาโมโห ใครๆ ก็ชอบโทษอดีตที่ตัวเองตัดสินใจผิดพลาด หรือเลือกหนทางผิดแต่กับเรื่องของลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะนำมาเป็นประเด็นในความรู้สึกนี้เพราะการที่เราตั้งใจแล้วว่าจะมีใครสักคนขึ้นมาเพื่อดูแลเขา และเลี้ยงดูเขาให้ดี การใช้ประโยคนี้ในการพูดให้ลูกรู้สึกผิดจึงไม่ควรอย่างมากเพราะเด็กนั้นเกิดขึ้นมาได้ก็จากการกระทำของผู้ใหญ่เอง ไม่ใช่ตัวเขาที่เลือกเกิดมา