เมื่อพี่น้องวัยใกล้กันนั้น ธรรมดามากที่จะเล่นของเล่นกันเป็นเรื่องปกติ เพราะลูกแต่ละคนต่างมีนิสัยแตกต่างกัน เลยอาจมีทะเลาะเรื่องแย่งของเล่นกันบ้าง แล้วคุณแม่จะทำอย่างไรได้บ้างเมื่อลูกแย่งของเล่นกัน มาไล่ดูเป็นข้อๆ กันดีกว่าค่ะ
สอนให้ลูกผลัดกันเล่น
ในอนาคตนั้นลูกก็ต้องเข้าสังคมกับคนอื่นอยู่แล้วนอกจากพี่น้องด้วยกันเอง ลองเตรียมลูกให้พร้อมกับการเล่นร่วมกับคนอื่นด้วยกิจกรรมที่ต้องผลัดกันเล่น ทั้งนี้เพื่อให้ลูกเรียนรู้ความสำคัญของความตรงไปตรงมา และเข้าใจว่าตนย่อมได้สิทธิ์ในการเล่นอีกครั้งเพียงแต่ต้องรู้จักอดทนและรอ โดยคุณพ่อและคุณแม่สามารถทำให้การรอคอยและการแบ่งปันเป็นเรื่องน่าสนุกได้ด้วยการแสดงความกระตือรือร้นในระหว่างที่รอให้ถึงตาตัวเอง ยิ่งเป็นพี่น้องแล้วถือว่าฝึกเรื่องนี้ได้ง่ายมากเลยค่ะ
จัดให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนคนอื่นตามความเหมาะสม
ลองจัดให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนคนอื่นตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงวัยและพัฒนาการทางสังคมของเด็ก ฝึกตั้งแต่ลูกยังเล็ก ซึ่งลูกสามารถได้รับประโยชน์จากการเล่นคนเดียวหรือการอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันกับเพื่อนที่เล่นในสิ่งเดียวกัน แล้วจึงจะสามารถเล่นร่วมกันกับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตาม การจับให้ลูกเล่นร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่ต้นอาจนำไปสู่ปัญหาการทะเลาะกัน เนื่องจากเด็กยังไม่พร้อมในการแบ่งปัน ดังนั้นหากพ่อแม่เห็นว่าลูกยังไม่สามารถมีส่วนร่วมในการเล่นกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ได้ ควรเริ่มจากการให้ลูกเล่นกับเพื่อนเพียง 1-2 คน หรือเล่นกับพี่น้องก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นไปค่ะ
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยการบอกล่วงหน้า
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยการบอกล่วงหน้า โดยเมื่อเวลามีเด็กคนอื่นเข้ามาในบ้าน ลูกอาจกังวลว่าเด็กคนอื่นจะทำให้ของเล่นของตนเสียหาย หรือขโมยของเล่นของตนไป ดังนั้น หากลูกมีความมั่นใจว่าของเล่นทุกชิ้นอยู่ในสายตาของตน ความเป็นไปได้ที่ลูกจะยินยอมให้เพื่อนเล่นของเล่นด้วยย่อมมีมากขึ้นค่ะ
คอยดูแลความเรียบร้อยในขณะที่ลูกกำลังเล่น
คอยดูแลความเรียบร้อยในขณะที่ลูกกำลังเล่น ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณแม่สามารถสังเกตพฤติกรรมการเล่นของลูกได้แล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งเมื่อลูกรู้ว่าคุณแม่คอยสังเกตอยู่ ลูกมักมาขอความช่วยเหลือจากคุณแม่ มากกว่าเลือกที่จะทะเลาะกับเพื่อน หรือแย่งของเล่นคืนจากเพื่อนค่ะ
สอนลูกทันทีที่เห็นลูกแย่งของเล่นจากเพื่อน
คุณแม่ควรสอนลูกทันทีที่เห็นลูกแย่งของเล่นจากเพื่อน โดยถือเป็นการแสดงให้ลูกเห็นอย่างชัดเจนว่าการกระทำดังกล่าวนั้นไม่เหมาะสม คุณแม่ควรหยิบของเล่นออกจากมือลูก แล้วยื่นกลับไปให้เพื่อนหรือพี่น้อง พร้อมทั้งย้ำเตือนว่าลูกควรแบ่งปันผู้อื่นอย่างหนักแน่นและคงเส้นคงวาค่ะ
ยึดของเล่นชิ้นปัญหา
ถ้าเกิดพี่น้องเริ่มทะเลาะกันแล้ว แนะนำให้คุณแม่ยึดของเล่นชิ้นปัญหา หากลูกๆ ยังคงทะเลาะกัน หรือลูกยังคงแย่งของเล่นคืน หลังจากที่คุณแม่ได้ตักเตือนลูกแล้ว นอกจากนี้ คุณแม่ยังควรกล่าวขอโทษเพื่อนของลูก ซึ่งจะเป็นการสอนลูกให้เห็นความจำเป็นที่ลูกต้องแบ่งปันได้อย่างชัดเจน แม้ไม่ต้องพูดกับลูกโดยตรงค่ะ
ชมเมื่อลูกไม่แย่งของเล่นแล้ว
เมื่อลูกเริ่มไม่แย่งของเล่นกันแล้ว อยากให้คุณแม่ลองชมลูกดูบ้าง คำชมเหล่านี้จะช่วยให้ลูกภูมิใจ รู้สึกดีกับตัวเอง ฉันทำได้ แล้วคุณพ่อและคุณแม่เห็นด้วยว่าฉันทำดี แล้วเด็กก็จะอยากทำต่อไป เป็นการแยกแยะบทบาทพี่น้องได้ชัดเจนเรื่องลูกคนที่สองนั้นคุณจะไปหวังให้เข้าใจในขณะนี้ยังลำบาก แต่ปฏิบัติได้ เช่น เขาแย่งของพี่ เราจะบอกว่านี่ของพี่ ต้องคืนเขา แล้วอุ้มเขาออกมา หรือคืนของพี่ไป เขาร้องไห้ ดิ้นรน ก็ปล่อยเขา ไม่ไปใส่ใจ สักประเดี๋ยวก็ชักจูงเบนความสนใจทางอื่น ถ้าคุณปล่อยให้น้องได้ของพี่เรื่อยๆ นั้น คือการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้ค่ะ
การแย่งของเล่นสำหรับเด็กสามารถเกิดได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณแม่รับมือได้จะทำให้ลูกเข้าสังคมได้ดีขึ้นและเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าได้ค่ะ
ที่มา