จากการที่คุณพ่อคุณแม่นั้นไม่ได้มีเวลาให้กับลูกได้อย่างเพียงพอ นำมือถือให้ลูกเล่นแต่เด็กจนสุดท้ายลูกนั้นเริ่มติดมือถือเสียแล้ว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการติดมือถือของลูกได้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
กำหนดเวลาเล่นที่แน่นอน
การที่คุณแม่นั้นได้กำหนดเวลาเล่นมือถือที่แน่นอนสำหรับลูกนั้น ถือเป็นการตั้งกติกาที่แน่นอนให้สำหรับลูกแต่แรก ช่วงแรกที่ลูกนั้นยังติดมือถืออาจจะลองตั้งเวลาที่ไม่หักดิบจนเกินไป จะทำให้ลูกนั้นเชื่อฟังมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้สามารถมีรางวัลตอบแทนได้ตามความเหมาะสมจะสามารถจูงใจได้เป็นอย่างดีค่ะ
ให้ลูกออกกำลังกาย
เมื่อลูกได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังทำให้จิตใจเบิกบาน อีกทั้งยังมีภาวะอารมณ์และพฤติกรรมในเชิงบวกมากขึ้นอีกด้วย จะทำให้ลูกมีอาการติดมือถือน้อยลงค่ะ
พาไปสัมผัสธรรมชาติ
การที่คุณแม่ได้พาลูกน้อยออกไปสัมผัสธรรมชาติจะทำให้เขามีจิตใจที่ละเอียดอ่อนและอ่อนโยนทำให้เข้าใจคนรอบข้างได้มากขึ้นแทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง การหมกมุ่นกับตัวเองทำให้เกิดความเครียดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวลได้ง่ายค่ะ
เล่นดนตรี
เสียงดนตรีจะคอยขับกล่อมและให้ความเพลิดเพลินกับลูกได้เป็นอย่างดี ยิ่งลูกได้ฝึกเล่นดนตรีด้วยตัวเองแล้ว ระหว่างการฝึกฝนในเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมักจะใช้เวลาในระดับหนึ่ง ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจบนโลกหน้าจอมือถือได้อย่างดีค่ะ
ทำอาหาร
ถ้าคุณแม่ได้ลองชวนลูกมาทำอาหารร่วมกันแล้ว นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสานสัมพันธ์แม่ลูกได้เป็นอย่างดี ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ลูกอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้อยู่พอสมควร อีกทั้งลูกยังเพลิดเพลินกับการทำอาหารใหม่ๆ ร่วมกันกับแม่อีกด้วยค่ะ
อ่านนิทานให้ฟัง
กิจกรรมก่อนนอน ขอให้คุณแม่ลองวางมือถือแล้วหยิบนิทานมาอ่านให้ลูกฟัง ลูกก็จะวางมือถือแล้วมาฟังนิทานจากแม่อย่างอบอุ่นจนลูกลืมหน้าจอมือถือเลยก็ว่าได้ค่ะ
จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาการติดมือถือของลูกนั้นสามารถทำได้ด้วยการให้ลูกทำอย่างอื่นที่สนุกสนานนอกจอมือถือได้ ซึ่งมีกิจกรรมมากมายให้ลูกน้อยได้เลือกสรร จะทำให้ลูกนั้นห่างจากหน้าจอมือถือมาสู่การใช้ชีวิตจริงได้ค่ะ
ที่มา – เข็นเด็กขึ้นภูเขา