fbpx

ส่องกองทุนหลังเกษียณ จากสิทธิประกันสังคม ออมแล้วได้เท่าไหร่มาดูกัน

Writer : Mookky TCN
: 11 พฤษภาคม 2561

ประกันสังคม ถือเป็นอีกหนึ่สงสิทธิที่มีประโยชน์มาก เเละใช้ได้หลายกรณีไม่ว่าจะเป็น กรณีคลอดบุตร กรณีว่างงาน กรณีทุพพลภาพ และอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญมากคือ “กรณีชราภาพ” ซึ่งผู้ประกันตน(ผู้ถือสิทธิประกันสังคม) จะได้รับเงินจากกองทุนประกันสังคมหลังเกษียณจากการทำงาน

จ่ายเท่าไรต่อเดือน

เรามีการจ่ายเงินประกันสังคมอยู่ที่ 5% ของเงินเดือน(กำหนดวงเงินสูงสุดของเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เช่น  เงินเดือน 35,000 บาท จะต้องจ่ายเข้าประกันสังคม 15,000*5%= 750 บาท โดยจากเงิน 750 บาทจะถูกกันเข้ากองทุนเพื่อการเกษียณเป็นจำนวนเงิน 450 บาท  ซึ่งข้อดีคือมีเงินส่วนที่ภาครัฐกับนายจ้างสมทบเพิ่มเข้ามาด้วย (ในจำนวน 5% จากฐานเงินเดือนที่ได้รับ โดยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)  แต่เมื่อเกษียณเเล้วจะได้เงินมากน้อยแค่ไหนสามารถคำนวณได้จากระยะเวลาที่ได้นำส่งกองทุน

จ่ายเงินสมทบเกิน 180 งวดเดือน

มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนทุกๆ เดือนจนกระทั่งเสียชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายสามารถคำนวณได้จากสูตร

สูตร 20% + ((จำนวนเดือนสมทบ-180)/12*1.5)% คูณกับเงินเดือนค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ

เช่น อายุ 25 ปี เงินเดือน 20,000 บาท จ่ายเงินสมทบทั้งหมดก่อนเกษียณ 360 เดือน คาดว่าจะมีเงินเดือน ก่อนเกษียณเฉลี่ย 60 เดือนย้อนหลังอยู่ที่ 50,000 บาท แต่ก็จะนำมาคำนวณที่ 15,000 บาท และค่าเฉลี่ยของเงินเดือน 60 เดือน จะเป็น 15,000 บาท

เงินเกษียณที่เป็นบำนาญ = เดือนละ 15,000 x (20%+((360-180)/12)*1.5% = 6,375 บาทต่อเดือน

ถ้าคุณอ่านเเล้วรู้สึกสับสนกับสูตรคำนวณตัวเลขก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะมีลิ้งค์คำนวณง่ายจากสำนักงานประกันสังคม ที่เพียงแค่กรอกตัวเลระยะเวลา จำนวนเงินลงไป ก็สามารถคำนวณเงินเกษียณได้เเล้ว >>> ลองคำนวณเงินหลังเกษียณผ่านโปรแกรม (อยู่ด้านล่างสุด)

จ่ายเงินสมทบไม่เกิน 180 งวดเดือน

แต่ในกรณีที่จ่ายเงินไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จ(เงินก้อน) แทนเงินบำนาญ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1 จ่ายเงินสมทบไม่เกิน 12 เดือน

กรณีนี้คิดง่ายๆ คือจะได้เป็นเงินจำนวนที่ตัวเองจ่ายเท่านั้น
เช่น จ่ายเงินเข้ากองทุน 11 เดือน จำนวนเดือนละ 450 บาท(จาก 750 บาทที่ส่งเข้าประกันสังคมทุกๆ เดือน) จะเป็นเงินกองทุนเพื่อการเกษียณเท่ากับ 450*10 = 4,500 บาท

  • กรณีที่ 2 จ่ายเงินสมทบเกิน 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 งวดเดือน

ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่น้อยกว่า 180 งวดเดือน จะได้เงินก้อนที่ตัวเองจ่ายและเงินที่นายจ้างสมทบเพิ่ม

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

  • 180 เดือน หม่ายถึง 180 งวดเดือนที่นำส่งเงินประกันสังคม เช่น นาย ก นำส่งประกันสังคมในเดือนมกราคม(นับเป็น 1 งวดเดือน) แล้วไปส่งอีกครั้งในเดือนเมษายน ก็จะนับเป็น 2 งวดเดือน(ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่)
  • ไม่ควรให้สิทธิประกันสังคมขาด ถึงเเม้จะลาออกจากงาน แต่ก็ยังสามารถต่อสิทธิประกันสังคมได้ทุกๆ เดือน ด้วยการชำระเงินค่าประกันสังคมเดือนละ 750 บาท ทุกเดือน
  • ยื่นเบิกได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ (ไม่ควรเกิน 2 ปี เพราะจะต้องมีการชี้แจ้งทางกฎหมาย

จะเห็นว่าถ้าคุณหวังพึ่งแค่กองทุนชราภาพจากประกันสังคมจำนวนเงินก็อาจไม่เพียงพอ เพราะแน่นอนว่ายิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายมากมายตามมา ซึ่งค่าใช้จ่ายสำคัญๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพและค่าใช้จ่ายรายเดือน จึงอยากแนะนำให้เริ่มวางแผนการเกษียณตั้งแต่วันนี้ โดยควรวางแผนว่าในหนึ่งเดือนอยากมีเงินใช้ต่อเดือนจำนวนเท่าไร แล้วจัดเงินสำหรับการเกษียณไว้สักก้อน เช่น กองทุนที่ให้ผลตอบแทนดี แผนการประกันชีวิตด้านสุขภาพ หรือเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง และอย่าลืมนะคะว่าเรื่องเกษียณไม่ใชเรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไรยิ่งได้เปรียบ เพื่อการเกษียณที่มีความสุขค่ะ 😀

ถ้าอ่านแล้วยังมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ที่ เบอร์โทร 1506

ขอบคุณข้อมูลจาก – สำนักงานประกันสังคม

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



มาระบายสีกันเถอะ (4)
กิจกรรมของครอบครัว
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save