Parents One

พ่อแม่ต้องระวัง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก ( SMA )

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA (Spinal Muscular Atrophy) เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเด็กซึ่งจะต่างจากการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของผู้ใหญ่ ALS ( Amyotrophic lateral sclerosis) เพราะอาการนั้นสามารถเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิดและอาจส่งผลให้ระยะเวลาของลมหายใจลูกน้อยสั้นกว่าคนทั่วไปจนน่าใจหาย เช่นนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความเข้าใจและหมั่นสังเกตลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดไว้ว่าเข้าข่ายหรือหากเป็นแล้วจะต้องช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

เรามาดูกันดีกว่าเพื่อหาวิธีช่วยดูแลและทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้นค่ะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ของเด็กเป็นอย่างไร

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เป็นโรคที่พบได้ในวัยเด็กนั้นมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาเลยจากโรคธาลัสซีเมียหรือภาวะโลหิตจางโดยอัตราส่วนสามารถพบได้ถึง 1 ใน 30 คนเลยที่จะเป็นโรคนี้ และที่มาของโรคก็มักเกิดจากความผิดปกติของกรรมพันธุ์ในยีนด้อย ซึ่งอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะส่งผลให้สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย มีความผิดปกติต่อการส่งคำสั่งจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อซึ่งอาการของเด็กๆ ที่เป็นโรคนี้ที่เห็นปัญหาได้ชัดคือ

 

ประเภทของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอะไรบ้าง

  1. แบบที่ 1 เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีอาการรุนแรงที่สุด สามารถเสียชีวิตได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรกเพราะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว, ต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจอยู่ตลอดเวลา สามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 ปี
  2. แบบที่ 2 มีอาการรุนแรงน้อยกว่า เกิดขึ้นได้ในช่วงอายุ 6-12 เดือน สามารถเติบโตต่อไปได้อีกสักระยะ แต่ทว่า ร่างกายนั้นอาจไม่สามารถใช้งานได้ดีสุด ต้องพึ่งพาตัวช่วยอย่างรกเข็นหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปตลอดและอาจมีความเสี่ยงทั้งภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวหรือกระดูกสันหลังคด
  3. แบบที่ 3 จะแสดงอาการหลังช่วงอายุ 1 ปีครึ่งเป็นต้นไป มีความอ่อนแอของร่างกายสูง เหนื่อยหอบง่าย สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนได้แต่ทว่าไม่นานและอาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์อยู่ดีเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุที่โตขึ้น
  4. แบบที่ 4 ทุกอย่างจะเป็นปกติจนอายุเกิน 18 ปี อาการจะเริ่มแสดงออก ทั้งอาการล้าของกล้ามเนื้อและระบบหายใจของร่างกายที่อ่อนแอลง

 

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง



วิธีรับมือเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อันดับแรกเลยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นในการมีบุตร คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำการตรวจให้ถี่ถ้วนก่อนว่า หากมีเจ้าตัวน้อยด้วยกันแล้ว เปอร์เซ็นที่จะทำให้ลูกออกมาแล้วมีสิทธิ์เป็นโรคนี้มีมากหรือน้อยเพียงไรด้วยการเจาะเลือดเพื่อตรวจว่ามีใครคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรคนี้หรือไม่ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการรอผล ซึ่งหากมีแล้วล่ะก็จะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งว่าควรทำอย่างไรต่อไปเมื่อต้องการสร้างครอบครัวจริงๆ

แต่ในกรณีที่ไม่ทราบและให้กำเนิดลูกน้อยมาร่วมกันแล้วพึ่งมีอาการหรือตรวจวินิจฉัยพบ อย่างแรกที่จะต้องทำก่อนเลยคือการตั้งสติและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นค่ะเพราะในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาหายได้ครบ 100% หรืออาจไม่สามารถหายขาดได้แม้จะได้รับการดูแลดีมากแค่ไหนก็ค่ะ เพราะฉะนั้นในกรณีที่เกิดขึ้นแล้วคุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีการดูแลตามอาการดังต่อไปนี้

ที่มา : samitivejhospitalpanthupark , samitiveamarinbabyandkids