คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า? กุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบสมองของลูกน้อยให้เกิดกระบวนการในการเรียนรู้ และมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 3 ขวบ นั่นก็คือ “การนอนหลับปุ๋ย” ของลูกน้อยนั่นเองค่ะ
เพราะการนอนที่เพียงพอในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนของลูกน้อย จะส่งผลกระทบต่อทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ การเรียนรู้ และนิสัยของเด็กในระยะยาว เช่น หากลูกน้อยนอนหลับอย่างเพียงพอ เมื่อเขาตื่นขึ้นมาจะอารมณ์ดีทั้งวัน ไม่ร้องไห้ ยิ้มแย้ม แจ่มใส สดชื่น ซึ่งจะตรงกันข้ามกับเด็กที่นอนไม่เพียงพออย่างแน่นอน
นี่จึงเป็นการคลายข้อสงสัยว่า ทำไมเด็กๆ ในวัยอนุบาล ที่มีอายุประมาณ 3-5 ขวบ ต้องมีการนอนพักกลางวัน นั่นก็เพื่อให้เด็กๆ ได้พักสมอง หลังจากการเรียนและเล่นมาแล้วนั่นเอง
แล้วคุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่า? ช่วงเวลาที่ลูกกำลังนอนหลับเกิดอะไรขึ้นในสมองของลูกน้อยบ้าง แล้วคำถามที่ถามว่า ยิ่งลูกหลับดี สมองจะยิ่งพัฒนา จะเป็นความจริงหรือไม่? ไปไขปริศนากัน
“การนอนหลับ” เกี่ยวข้องอย่างไรกับการพัฒนาสมอง?
“เพราะกิจกรรมของลูกน้อยในแต่ละวัน ไม่ใช่เป็นเเค่เพียงการเล่นซนเท่านั้น”
การนอนหลับ และได้รับโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อลูกน้อยอย่างมาก นั่นเพราะเด็กจะประมวลผลกิจกรรมของพวกเขาในเวลากลางวัน และเมื่อถึงเวลาที่พวกเขานอนหลับ ความจำของทั้งวันจึงถูกสร้างขึ้น และประมวลผลขึ้นในตอนช่วงเวลาแห่งการนอนหลับปุ๋ยนั่นเองค่ะ
ไม่น่าเชื่อใช่ไหมล่ะคะคุณพ่อคุณแม่ว่า! การนอนหลับ ถือว่ามีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงวัยเด็กมาก เพราะแม้ในยามนอนหลับ สมองของเด็กก็จะตื่นตัว และพร้อมเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ด้วยเหตุผลนี้คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสร้างนิสัยให้เด็กน้อยมีคุณภาพการนอนที่ดี เพื่อฟื้นฟูระบบประสาทและสมองให้มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามคือเรื่องของ “สารอาหาร” ที่มีผลต่อการนอนหลับ
เช่น L-Tryptophan (แอล–ทริปโตเฟน) กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่มีผลต่อการนอน และมีคุณสมบัติพิเศษด้วยเช่นกัน
ลูกน้อยหลับดี สมองก็ยิ่งพัฒนา ด้วย L-Tryptophan
สารอาหารที่ช่วยให้เด็กๆ มีการนอนหลับที่ดี มีชื่อว่า “L-Tryptophan” เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น โดยสมองจะเปลี่ยน L-Tryptophan เป็นสารเชอราโทนิน สารสื่อประสาทตั้งต้นของฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งมีผลช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เช่น หลับเร็ว หลับนาน และหลับลึกนั่นเองค่ะ
การนอนที่มีคุณภาพ คือ จุดเริ่มต้นในการเรียนรู้
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับของเด็กในแต่ละช่วงวัย
- เด็กเล็กอายุ 1-2 ปี : ควรนอนหลับให้ได้ 11-14 ชั่วโมง
- โดยในเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 3 ปี : สามารถนอนช่วงกลางวัน 1-2 ชั่วโมง
- เด็กโตอายุ 6-12 ปี : ควรนอนหลับ 9-12 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 3-5 ปี : ควรนอนหลับให้ได้ 10-13 ชั่วโมง
สิ่งที่ควรทำก่อนพาลูกเข้านอน เพื่อเสริมพัฒนาการด้านสมอง
เพราะการนอนนั้นเปิดโอกาสให้สมองได้ทบทวนข้อมูลที่ได้รับมา และเปลี่ยนเป็นความจำพร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้น การสร้างวินัยในการนอนที่ดีให้ลูก จะทำให้ลูกน้อยมีการนอนอย่างมีคุณภาพ เช่น
- สร้างกิจวัตรก่อนนอนให้เป็นเวลาพิเศษที่จะพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย
- ให้ลูกเข้านอน และตื่นนอนตรงเวลา
- บรรยากาศห้องนอน สำหรับเด็กเล็กแนะนำให้แม่หรือพ่อ กล่อมลูกเข้านอน ด้วยการร้องเพลง หรืออ่านนิทานให้ฟัง เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาสมอง และสร้างการเรียนรู้ ส่งเสริมจินตนาการ
- สร้างกิจวัตรในระหว่างวันให้มีตารางเวลาสม่ำเสมอ
ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ การทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะที่มีสารอาหาร L-Tryptophan ในนมกล่อง ให้ลูกน้อยดื่มก่อนนอน รับรองว่าต้องนอนหลับปุ๋ย ไม่ตื่นกลางดึกอย่างแน่นอนค่า
เสริม L-Tryptophan ให้ลูกน้อย จากอาหารชนิดใดบ้าง?
L-Tryptophan ถือเป็นสารตั้งต้น ให้การสร้างสารสื่อประสาท นั่นก็คือ เซโรโทนิน จึงช่วยในการควบคุมการนอนหลับ อารมณ์ รวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ทั้งตอนตื่น และตอนหลับนั่นเองค่ะ
แม่ๆ คงเกิดความสงสัยแล้วใช่ไหมว่า ถ้า L-Tryptophan มีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมดีต่อสุขภาพของลูกขนาดนี้ กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ชนิดนี้ จะอยู่ในอาหารชนิดใดบ้างนะ? จะได้ทำให้ลูกน้อยทาน เคี้ยวตุ้ยแบบเพลินๆ แม่ก็ปลื้มใจสุดๆ ที่เห็นลูกทานอาหารแสนอร่อย และยังได้ประโยชน์อีกเพียบ
อาหารที่มี L-Tryptophan สูง
ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาหารบางชนิดเท่านั้น โดยเฉพาะ “อาหารที่มีโปรตีนสูง” เช่น
- เนื้อสัตว์ : เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่
- ผลิตภัณฑ์นม : นมสด โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
- อาหารทะเล : ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก
- เมล็ดพืช : งา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ถั่วเหลือง
- ช็อกโกแลต
- อินทผลัมแห้ง
- สาหร่าย (spirulina)
- กล้วย
- ชีส เนยแข็ง
โดยเฉพาะในนมกล่องที่มีส่วนผสมของ L-Tryptophan + สฟิงโกไมอีลิน + ดีเอชเอ รวมถึงวิตามิน และสารอาหารอื่นๆ แล้วละก็ ยิ่งเติมพลังให้สมองทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งในตอนกลางวันที่เด็กๆ ชอบวิ่งเล่น และตอนกลางคืนที่สมองนำความทรงจำกลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อสร้างให้กลายเป็นความทรงจำระยะยาวนั่นเอง
เมื่อลูกน้อยนอนดี กินดี อารมณ์ก็จะดีตามไปด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญของพัฒนาการลูกน้อย ทั้งตอนนอนหลับ และตอนตื่นด้วยนั่นเอง เพื่อให้สมองของลูกน้อยได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในช่วงวัยของเขาสู่การเรียนรู้นอกกรอบในอนาคต
อย่าลืม! กล่อมลูกน้อยให้เข้านอนกันด้วยนะคะคุณพ่อคุณแม่ เพราะลูกน้อยนอนหลับดี สมองก็ยิ่งพัฒนาได้ดีค่ะ
#ลูกหลับดีสมองยิ่งดี #แอลทริปโตเฟน #smomclub