fbpx

ช่วยด้วย ! ลูกเริ่มแพ้ ตัวแดงเชียว มีผดอีก ทำไงดี ?

Writer : giftoun
: 16 ตุลาคม 2560

การเจ็บป่วยของลูกนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคุณแม่เสมอ ยิ่งมีอะไรที่ผิดปกติอย่างมีผด ตัวแดง แล้วคุณแม่ยิ่งไม่สบายใจเข้าไปใหญ่ ทำอะไรไม่ถูก อย่างแรกที่อยากให้คุณแม่ทำคือตั้งสติเสียก่อน และลองดูขั้นตอนการรับมือดังต่อไปนี้กันค่ะ

ลองแยกประเภทของผดผื่นเสียก่อน

เพราะผื่นคันในเด็กเล็กนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ถ้าหากสามารถแยกประเภทได้เบื้องต้นแล้ว จะรู้วิธีรับมือได้

  • ผดผื่นที่เกิดจากต่อมเหงื่อ เกิดจากต่อมเหงื่อของเจ้าตัวน้อยยังทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดการอุดตัน กลายเป็นผดผื่นได้ง่าย ซึ่งได้แก่ ผดใส ผดแดง และผดลึก ที่มักเกิดในฤดูร้อน
  • ผดผื่นที่เกิดจากต่อมไขมัน รูเปิดของต่อมไขมันยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้ผิวหนังเกิดการอุดตันและอักเสบได้ง่าย ทำให้เห็นคราบไขมันเหลืองหนา แห้งเป็นเกร็ดติดอยู่ และจะผลิตออกมาเรื่อย ๆ ของเก่าแห้งไป ของใหม่มาอีก
  • ผื่นจากภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นพันธุกรรมที่คุณพ่อหรือคุณแม่เป็น ภูมิแพ้ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ หากเจ้าตัวน้อยได้รับพันธุกรรมผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมา ผิวหนังก็จะไวและแพ้ได้ ง่ายแม้แต่เหงื่อของตัวเอง จึงทำให้เกิดผื่นขึ้นมา
  • ผื่นแพ้ผ้าอ้อม การปล่อยให้ผิวหนังของเจ้าตัวน้อยที่บอบบางเปียกชื้น หรือหมักหมมเพียงนิด ก็จะทำให้เขาเป็นผื่นผ้าอ้อม จะเกิดเชื้อรา Candida แทรกซ้อนตำแหน่งเดียวกับที่เป็นผื่นผ้าอ้อม กระจายลามแดงเป็นเม็ดเล็กๆ อาจลาม
  • ผื่นลมพิษ จะมีลักษณะเป็นผื่นบวมแดง มีขอบนูนชัดเจน จะเป็นๆ หายๆ มีอาการคัน ยิ่งถ้าลูกเกาก็จะยิ่งกระตุ้นให้มีผื่นมากขึ้นและคันมากขึ้น สาเหตุของลมพิษนั้นเกิดจากการแพ้สารเคมีหรือแพ้อาหารเป็นส่วนใหญ่

ถ้ายังทานนมแม่ แม่ควรระวังการกิน

ถ้าเกิดว่าลูกยังกินนมแม่อยู่นั้น แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่าแพ้ เพราะการที่คุณแม่กินอะไรเข้าไปก็จะส่งต่อถึงลูกได้ ดังนั้นช่วงนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะแพ้ได้ เช่น อาหารทะเล อาหารรสจัด ถั่ว เป็นต้น

สังเกตและจดบันทึกการกินของลูก

หากลูกเริ่มมีอาการแพ้แล้ว คุณแม่ควรเริ่มสังเกตและจดบันทึกการกินของลูก เพื่อจะได้จับสังเกตว่าลูกกินอะไรแล้วเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ขั้นตอนนี้ควรจดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยอาการและอาหารที่แพ้ร่วมกับหมอได้เป็นอย่างดีค่ะ

ปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติม

ถ้าเกิดว่าอาการของลูกน้อยเกินกว่าที่จะเยียวยาด้วยตัวเองได้นั้น คุณแม่ควรพาลุกน้อยไปปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด เพื่อจะได้นำลูกน้อยและบันทึกที่จดเอาไว้ทั้งอาหารการกินและอาการแพ้มาให้คุณหมอดูและร่วมวินิฉัยไปด้วยกันเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาค่ะ

ทายารักษาตามอาการ

เมื่อไปหาหมอเพื่อปรึกษาอาการของลูกน้อยแล้ว มาถึงขั้นตอนของการทายาเพื่อรักษาอาการลูกน้อย ซึ่งยาทาแก้ผื่นคันสำหรับทารกที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

1. น้ำมันมะกอก เบบี้ออยล์ ในกรณีผื่นที่เกิดจากต่อมไขมันป้องกันไม่ได้ เพราะเป็นฮอร์โมนที่เจ้าตัวน้อยได้รับจากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงต้องรอเวลาที่ฤทธิ์ของฮอร์โมนในตัวของเขาหมดไป มันก็จะหายไปเอง ระยะเวลาแล้วแต่จะได้รับฮอร์โมนมามากหรือน้อย แต่สามารถดูแลให้จางหรือเบาบางได้ด้วยการใช้น้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เบบี้ออยล์ ฯลฯ นวดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้สะเก็ดมันนุ่ม แล้วค่อยเช็ดหรือสระออก สะเก็ดก็จะหลุดออก แต่ถ้าปล่อยให้สะเก็ดแห้งแข็งอยู่อย่างนั้น อาจไปขูดหนังศีรษะให้เป็นแผลติดเชื้อได้

2. ยาแก้อักเสบ 0.02% T.A. หรือครีมธรรมดาจำพวก Brand Cream จะใช้ในส่วนผื่นแดงบริเวณที่ไม่มีเส้นผมหรือขน เช่น แก้ม หลังหู ซอกคอ ขาหนีบ ฯลฯ โดยทาบางๆ เพื่อไม่ให้ผิวหนังเป็นขุยลอก หรือควรปรึกษาคุณหมอ

เรื่องน่ารู้ การทาคาลาไมน์ในกรณีนี้ช่วยได้ในช่วงแรก แต่ถ้าเนื้อแป้งในคาลาไมน์อาจเกาะติดรูต่อมไขมัน อาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง

3. ซิงค์ ออกไซด์(zinc oxide) เป็นสารที่ใช้ในทางการแพทย์ มีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ ลดอาการคัน ทำให้ผื่นผิวหนังแห้งลง และมีรายงานว่าช่วยยับยั้งป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ เมื่อซึมสู่ผิวหนังจะเป็นประโยชน์ต่อการสมานสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ

4. ลดการระคายเคืองผิวหนัง โดยให้โลชั่น ครีมหรือออยเม้นท์ช่วยเคลือบผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ชโลมทาผิวหนังบ่อยๆ หรือทาทันทีหลังอาบน้ำหรือหลังแช่ในอ่างน้ำ 15-20 นาที โดยทาภายใน 3 นาที ก่อนที่น้ำที่ผิวจะระเหย

5. ลักษณะการอักเสบของผิวหนังแบบเฉียบพลัน มีน้ำเหลืองไหลซึมออกมาจากรอยผื่นจะรักษาโดยใช้น้ำเกลือแบบเดียวกับน้ำเกลือล้างจมูก ประคบแผลไปเรื่อยๆ จนกว่าการไหลซึมของน้ำเหลืองจะแห้งลง เด็ก ๆ มักชอบวิธีนี้เพราะไม่แสบและแผลจะแห้งไปเอง

เมื่อรู้วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยมีผดผื่นและรักษาจนหายแล้ว หลังจากนั้นคุณแม่ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้และหมั่นสังเกตถึงความผิดปกติของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ช่วยลูกได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

ที่มา

 

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



สายด่วนที่คุณแม่ควรจดเบอร์ไว้
ชีวิตครอบครัว
12 ข้อดีจากการให้นมแม่
เตรียมตัวเป็นแม่
เริ่มให้ลูกฝึกปั่นจักรยานตอนไหนดี?
กิจกรรมของครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save