Parents One

Selective Mutism ทำยังไงดี เมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูด

Selective Mutism (SM) หรืออาการไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์ เมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูดเมื่ออยู่นอกบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย แต่ยังสามารถพูดคุยได้ตามปกติเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งอาการเหล่านี้มักสังเกตได้หลังจากเข้าโรงเรียนแล้ว

อาการไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์ อาจถูกมองเป็นปัญหาของพัฒนาการที่ล่าช้า เด็กที่เป็นมักถูกมองข้าม หรือประเมินว่าไม่มีความสามารถเพราะไม่กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เรามาทำความเข้าใจกับอาการนี้ ต้นตอและสาเหตุ และวิธีรับมือกันค่ะ

อาการของ Selective Mutism

เด็กที่เป็น SM นั้นมีอาการหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน เด็กบางคนสามารถพูดคุยกับเพื่อน แต่ไม่สามารถคุยกับคุณครูได้ บ้างก็ไม่พูดเลย ซึ่งอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่มักไม่ได้สังเกต เพราะเด็กที่เป็น SM นั้นทำตัวเป็นปกติเมื่ออยู่บ้าน แต่อาการเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเมื่อเขาต้องแยกจากครอบครัว ไปอยู่ในสังคมอื่นที่ไม่คุ้นเคยค่ะ

แน่นอนว่าการเข้าชั้นเรียนใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กทุกคน เป็นปกติที่เด็กจะเงียบในช่วงสองสามอาทิตย์แรก แต่ถ้าหากเขาไม่พูดคุยเลยเป็นเดือนก็ไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Selective Mutism

ด้วยอาการของ SM ที่คล้ายคลึงกับโรคต่าง ๆ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของลูกน้อยได้ มาดูกันค่ะว่าเราจะแยก SM กับโรคหรือปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง

 

รับมือกับ Selective Mutism ด้วยความเข้าใจ

อาการของ SM นั้นเป็นอาการที่หลายครั้งผู้อื่นจะสามารถแก้ตัวให้ หรือช่วยเหลือได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่รู้ดีว่าลูกไม่กล้าสั่งอาหารในร้านอาหาร แล้วแก้ปัญหาโดยการสั่งแทนให้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้การรักษานั้นยากขึ้นกว่าเดิมค่ะ เพราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฏิเสธการพูดคุยหรือการทำกิจกรรมนั้น ๆ ทางอ้อม

แทนที่จะช่วยเหลือควรสอนให้เขาหัดพูดคุยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่ทำให้ความวิตกกังวลนั้นหายไปทันที แต่วิธีนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น และมีความทนทานมากขึ้นค่ะ

พยายามฝึกให้เขาลองพูดคุยในสถานการณ์ที่ตึงเครียดสำหรับเขา อย่าลืมที่จะให้กำลังใจและชมทุกครั้งที่เขาทำสำเร็จ ให้เขามีความรู้สึกดี ๆ กับการพูดคุยในที่สาธารณะค่ะ

 

5 วิธีช่วยให้เด็กกล้าพูด

 

ที่มา childmind (1)childmind (2)