fbpx

Selective Mutism ทำยังไงดี เมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูด

: 12 พฤษภาคม 2564

Selective Mutism (SM) หรืออาการไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์ เมื่อลูกน้อยไม่ยอมพูดเมื่ออยู่นอกบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย แต่ยังสามารถพูดคุยได้ตามปกติเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งอาการเหล่านี้มักสังเกตได้หลังจากเข้าโรงเรียนแล้ว

อาการไม่ยอมพูดในบางสถานการณ์ อาจถูกมองเป็นปัญหาของพัฒนาการที่ล่าช้า เด็กที่เป็นมักถูกมองข้าม หรือประเมินว่าไม่มีความสามารถเพราะไม่กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เรามาทำความเข้าใจกับอาการนี้ ต้นตอและสาเหตุ และวิธีรับมือกันค่ะ

อาการของ Selective Mutism

เด็กที่เป็น SM นั้นมีอาการหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน เด็กบางคนสามารถพูดคุยกับเพื่อน แต่ไม่สามารถคุยกับคุณครูได้ บ้างก็ไม่พูดเลย ซึ่งอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่มักไม่ได้สังเกต เพราะเด็กที่เป็น SM นั้นทำตัวเป็นปกติเมื่ออยู่บ้าน แต่อาการเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเมื่อเขาต้องแยกจากครอบครัว ไปอยู่ในสังคมอื่นที่ไม่คุ้นเคยค่ะ

  • สามารถพูดคุยได้ตามปกติเมื่ออยู่บ้าน แต่พูดน้อยมาก หรือไม่พูดเลยเมื่ออยู่ที่โรงเรียนหรืออยู่กับคนแปลกหน้า
  • มีอาการนิ่งค้าง ไม่โต้ตอบเมื่อไม่สามารถพูดได้เมื่อถูกถามหรือเริ่มบทสนทนา
  • ใช้สีหน้าและท่าทางในการสื่อสารแทนคำพูด (เด็กที่มีอาการ selective mutism บางคนไม่สามารถใช้แม้กระทั่งท่าทางในการสื่อสารเมื่ออยู่ในสภาวะไม่พูด
  • ปฏิเสธการพูด แต่ส่วนมากยังสามารถสื่อสารทางอื่นผ่านการขยับร่างกาย วาดรูป เขียนหนังสือ
  • ไม่สามารถเริ่มบทสนทนา ไม่กล้าตอบคำถามของคุณครู หรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และอาจมีปัญหาในระบบปัสสาวะ เพราะไม่ขอคุณครูเข้าห้องน้ำ

แน่นอนว่าการเข้าชั้นเรียนใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กทุกคน เป็นปกติที่เด็กจะเงียบในช่วงสองสามอาทิตย์แรก แต่ถ้าหากเขาไม่พูดคุยเลยเป็นเดือนก็ไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ Selective Mutism

ด้วยอาการของ SM ที่คล้ายคลึงกับโรคต่าง ๆ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของลูกน้อยได้ มาดูกันค่ะว่าเราจะแยก SM กับโรคหรือปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง

  • โรคดื้อต่อต้าน: บ่อยครั้งที่เด็กที่เป็น SM จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อต่อต้านเพราะไม่ยอมตอบคำถาม ซึ่งความจริงนั้น เด็กที่มีอาการ SM นั้นมีความกังวลจนไม่สามารถตอบคำถามถึงแม้ว่าเขาอยากจะตอบมากก็ตามค่ะ
  • โรคออทิสติก: เด็กที่มีภาวะออทิซึ่ม และเด็กที่มีอาการ SM นั้นมีปัญหาในการสื่อสารทั้งคู่ และมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง แต่เด็กที่มีอาการ SM นั้น ต่อให้เขาไม่สามารถพูดคุยได้ แต่เขายังเข้าใจในภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้า อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับคนในครอบครัวได้ตามปกติ แต่เด็กที่มีภาวะออทิซึ่มนั้นจะมีปัญหากับการพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายค่ะ
  • ภาวะสะเทือนใจอย่างรุนแรง: เป็นที่เข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเด็กที่มีอาการ SM นั้นเคยผ่านสถานาการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงมาก่อน ถึงแม้ว่าการที่เด็กจะปฏิเสธการพูดคุยอย่างสิ้นเชิงหลังจากผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ แต่ปกติแล้ว เขาจะปฏิเสธการพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นมากกว่าไม่พูดเลย ซึ่งต่างกับอาการ SM อย่างสิ้นเชิงค่ะ
  • เด็กสองภาษา: เมื่อเด็กต้องพูดสองภาษา อาจส่งผลให้เขาไม่กล้าพูดภาษาใดภาษาหนึ่งด้วยความไม่สะดวกใจที่จะพูดภาษานั้น หรือยังไม่เข้าใจภาษาที่สองอย่างเต็มที่ เป็นปกติที่เด็กสองภาษาขึ้นไปจะมีช่วงเงียบในระหว่างที่เขากำลังเรียนภาษาใหม่ ซึ่งไม่ควรเข้าใจผิดกับ SM ค่ะ
    อย่างไรก็ตาม เด็กหลายภาษาเองก็สามารถเป็น SM ได้ และเด็กที่มีอาการ SM ส่วนมากมักเป็นเด็กหลายภาษา แต่การพูดหลายภาษาไม่ส่งผลให้เด็กเป็น SM ได้ค่ะ
  • โรคกลัวสังคม: เด็กที่เป็นโรคกลัวสังคมมีความหวาดกลัวที่จะถูกวิจารณ์จากคนรอบข้าง การพูดคุยอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาหวาดกลัวและเพิ่มความวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นการเขียน พูดคุย รับประทานอาหารหรือแสดงต่อหน้าผู้อื่น โรคกลัวสังคมมักถูกพ่วงสอยห้อยตามกับเด็กที่มีอาการ SM แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อดูว่าเขาเป็นโรคกลัวสังคมหรือไม่ค่ะ

 

รับมือกับ Selective Mutism ด้วยความเข้าใจ

อาการของ SM นั้นเป็นอาการที่หลายครั้งผู้อื่นจะสามารถแก้ตัวให้ หรือช่วยเหลือได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่รู้ดีว่าลูกไม่กล้าสั่งอาหารในร้านอาหาร แล้วแก้ปัญหาโดยการสั่งแทนให้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้การรักษานั้นยากขึ้นกว่าเดิมค่ะ เพราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฏิเสธการพูดคุยหรือการทำกิจกรรมนั้น ๆ ทางอ้อม

แทนที่จะช่วยเหลือควรสอนให้เขาหัดพูดคุยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่ทำให้ความวิตกกังวลนั้นหายไปทันที แต่วิธีนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น และมีความทนทานมากขึ้นค่ะ

พยายามฝึกให้เขาลองพูดคุยในสถานการณ์ที่ตึงเครียดสำหรับเขา อย่าลืมที่จะให้กำลังใจและชมทุกครั้งที่เขาทำสำเร็จ ให้เขามีความรู้สึกดี ๆ กับการพูดคุยในที่สาธารณะค่ะ

 

5 วิธีช่วยให้เด็กกล้าพูด

  • รอ 5 วินาที: หลายครั้งที่เรามักไม่ให้เวลาเด็กในการโต้ตอบ การรอ 5 วินาทีโดยไม่ย้ำคำถาม หรือช่วยเขาในการหาคำตอบจะสามารถช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความวิตกกังวลเขาได้ค่ะ
  • ชมแบบเจาะลึก: แทนที่จะชมว่าเก่งมากเฉย ๆ ให้ลองเปลี่ยนมาใช้คำชมที่ชัดเจนและเจาะจงกว่านี้ ตัวอย่างเช่นเก่งมากเลยที่หนูบอกว่าอยากดื่มน้ำวิธีนี้จะทำให้เด็กเข้าใจว่าตัวเองทำดีในเรื่องไหน และทำให้เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำอีกค่ะ
  • ถามคำถามปลายเปิด: หลายครั้งที่เรามักถามคำถามที่สามารถตอบได้ว่าใช่หรือไม่ให้ลองเปลี่ยนรูปแบบในการถามคำถามที่จะทำให้เด็กพูดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการถามแบบมีตัวเลือก (“หนูอยากได้สติกเกอร์รูปหัวใจหรือรูปดาวมากกว่า?”) หรือถามคำถามปลายเปิด (“วันนี้หนูอยากอ่านนิทานเรื่องไหนดี?”)
  • ทวนคำตอบ: ทวนคำพูดของเด็กให้เป็นกิจวัตร วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้การรับฟังและเข้าใจจากคู่สนทนา สำหรับเด็กที่พูดเบา การทวนคำตอบของเขายังช่วยเป็นกระบอกเสียง ให้เขาเข้ากับเพื่อนกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ง่ายขึ้นค่ะ
  • สวมบทเป็นนักพากย์: ระหว่างที่เด็กกำลังทำกิจกรรม ให้ลองพากย์ในสิ่งที่เขาทำอยู่ ยกตัวอย่างเช่นหนูกำลังเล่นกับตุ๊กตาอยู่เหรอคะ?” หรือหนูกำลังวาดรูปดอกไม้วิธีนี้จะช่วยให้เด็กรู้ว่าเราเข้าใจว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ และไม่ทำให้รอบข้างเงียบจนเกินไปค่ะ

 

ที่มา childmind (1)childmind (2)

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



รู้จักกับกระเป๋านักเรียน “รันโดะเซะรุ”
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save