เมื่อเรียนอยู่บ้านนานๆ ก็ทำให้เด็กๆ คุ้นชินกับการอยู่บ้าน พอถึงเวลาเปิดเทอมแบบเต็มรูปแบบเช่นนี้ ก็มีบ้างที่เด็กๆ จะงอแงและไม่ยอมไปโรงเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็ก
ทำให้แม่ๆ บางคนก็มองว่าคงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่ามีปัญหา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ด้วยสภาวะที่เด็กห่างห้องเรียนมานาน อาจจะเป็นปัญหาและสร้างบาดแผลเล็กๆ ในใจ เมื่อพวกเขาต้องกลับไปใช้ชีวิตในโรงเรียนแบบปกติก็ได้ค่ะ
สาเหตุของ “ภาวะเด็กไม่ยอมไปโรงเรียน”
เด็กวัยอนุบาล
- กลัวต้องพลัดพรากจากคนที่รัก (เกิดขึ้นในวันต่อๆ ไปของการไปโรงเรียนวันแรกๆ)
- เด็กมีพื้นฐานบุคลิกภาพวิตกกังวลง่าย
- พ่อแม่มีการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป
เด็กประถมต้น (โตกว่าวัยอนุบาลมาอีกนิด)
- มีปัญหาเรื่องการเรียน
- เข้ากับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้
- ถูกทำโทษอย่างรุนแรงที่โรงเรียน
แบบไหนยิ่งเป็นปัญหา จะยิ่งอันตราย
- เด็กมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย
- เด็กป่วยด้วยอาการทางจิตเวชอื่นๆ อยู่ด้วย
พ่อแม่สังเกตอาการเบื้องต้นได้
- ไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอน เมื่อถึงเวลาต้องตื่น
- ปฏิเสธชุดนักเรียน เมื่อต้องสวมไปโรงเรียน
- ร้องไห้รุนแรงทุกครั้ง ที่ต้องไปโรงเรียน
- งอแงตลอดเวลาที่อยู่โรงเรียน เพื่อให้พ่อแม่มารับกลับบ้าน
อาการแบบไหนที่รุนแรง (พฤติกรรมต่อต้าน)
อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นช่วงเช้าก่อนไปโรงเรียน และหายเองเมื่อเด็กได้หยุดอยู่บ้าน หรือเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เขาไม่ต้องไปโรงเรียนนั่นเองค่ะ
- อาละวาดโวยวาย ทำร้ายร่างกายผู้ปกครอง
- ปวดท้อง ท้องเสีย
- ปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน
พ่อแม่ต้องดูแลเด็กๆ อย่างไร
- เปิดใจรับฟังสิ่งที่ลูกต้องการบอกถึงสาเหตุ
- พ่อแม่ต้องไม่นิ่งนอนใจ หากลูกมีภาวะนี้จริงๆ
- คุณครูต้องดูแลช่วยเหลือเด็ก โดยเฉพาะวันแรกที่ไปโรงเรียน
- ในเด็กโตอาจพาเขาไปปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และให้คำแนะนำ
อ้างอิงจาก : พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ