ช่วงนี้ใกล้เวลาเปิดเทอมกันแล้ว เด็กๆ พร้อมทีจะไปเรียนกันหรือป่าว แต่ถ้าเด็กเริ่มมีอาการที่ผิดปกตินั้นมันคืออาการอะไรกันแน่ แน่นอนว่าบางทียิ่งเด็กอนุบาลหรือเด็กเล็กอาจจะมีอาการที่รู้สึกงอแงไม่อยากไปโรงเรียน ติดคุณพ่อคุณแม่ อาจมีภาวะของการไม่ยอมไปโรงเรียน แล้วภาวะนี้มันคืออะไร อาการเป็นอย่างไร แล้วมีวิธีการจัดการอย่างไรมาดูกัน
ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจาก เด็กอนุบาลหรือวัยรุ่นไม่เต็มใจไปโรงเรียน เพราะเกิดการกังวลภายในจิตใจ และแสดงออกทางพฤติกกรมที่ชัดเจน เช่น การร้องไห้โวยวาย การโกหกไม่สบายเพื่อปฏิเสธการไปโรงเรียน
ช่วงอายุที่เกิดขึ้น
พบมากที่สุด ขวบ 5 – 6 ขวบ หรือเข้าอนุบาล และช่วง 10 – 11 ปี แต่ทั้งนี้ภาวะการไม่ยอมไปโรงเรียนสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงเข้าอนุบาลจนไปถึงมัธยม
สาเหตุ
- เกิดภาวะกังวลใจจากการไปโรงเรียน
- การต้องการแยกออกจากพ่อแม่ (Separation Anxiety)
- การออกจากสถานที่ที่คุ้นเคย การไปเจอสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง
ลักษณะอาการ
ด้านพฤติกรรม มีการแสดงออกว่าไม่อยากไปโรงเรียน อย่างการพูดงอแง ร้องไห้ ทำตัวอืดอาด ไม่อยากไปโรงเรียน ไปจนถึงการแสดงออกที่รุนแรง ต่อต้าน ไม่ยอมลุกออกจากเตียง ทำร้ายร่างกายผู้ปกครอง หรือไปโรงเรียนได้แต่ไม่สามารถอยู่ได้ครบทั้งวัน
ด้านความคิด มีความคิดวิตกกังวล ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงกลางคืนก่อนวันที่จะไปเรียน ไปจนถึงตอนเช้าที่จะไปโรงเรียน มีการแสดงออกเป็นคำพูดว่าไม่อยากไปโรงเรียนในตอนเช้า บางรายคิดวิตกกังวลจนถึงขั้นนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
ด้านสรีวิทยา อาการทางกาย เช่น การคลื่นไส้ ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน เหงื่ออกมาก ท้องเสีย อาการเหล่านี้มักเกิดช่วงที่ต้องไปโรงเรียนในตอนเช้า เมื่อหยุดอยู่บ้านก็จะมีอาการที่ดีขึ้น
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ
- คอยสังเกตุอาการ พฤติกรรมของเด็ก
- พูดคุยให้กับลูกเพื่อหาสาเหตุ
- หาแรงจูงใจในการให้ไปโรงเรียน
- การพาไปเยี่ยมชมโรงเรียนให้คุ้นเคย
- การชวนคุยเรื่องโรงเรียนบ่อยๆ
- ขอความช่วยเหลือจากทางคุณครู
- หากมีอาการที่รุนแรงในทางพฤติกรรมหรืออื่นๆ ควรไปปรึกษาแพทย์
การดูแลรักษา
ซึ่งสาเหตุสามารถมีได้หลายปัจจัย ดังนั้นการรักษาคือการเน้นแก้ไข้ที่สาเหตุ ร่วมกับวิธีการอื่นๆ อย่างบำบัดพฤติกรรม และการรู้คิด การพูดคุย รวมไปถึงการบำบัดรักษาโรคทางจิตเวช หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นในการแสดงออกทางพฤติกรรมหรืออาการ ซึ่งในภาวะการไม่ยอมไปโรคเรียนอาจมีโรคทางจิตเวชที่อื่นแทรกซ้อนและพบร่วมได้ เช่น โรควิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก (separation anxiety disorder) โรคกลัวสังคม (social phobia)