fbpx

Iceberg Model เจาะภูเขาน้ำแข็ง สำรวจพฤติกรรม เข้าใจเรา..เข้าใจลูก

Writer : Phitchakon
: 16 กันยายน 2565

บ่อยครั้งที่พ่อแม่อย่างเราๆ สุดแสนจะเหนื่อยใจกับพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของลูก ไวกว่าความคิด เราเอ่ยปากตำหนิ ว่ากล่าว หรือแม้กระทั่งลงโทษ โดยไม่ทันได้ทบทวนให้ดีว่า “อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกแสดงออกแบบนั้น”

หรือแม้กระทั่งเราเองที่ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ พลั้งเผลอทำตัวไม่น่ารักกับลูก จนต้องมานั่งกุมหัวคิดวกวนตั้งคำถามกับตัวเองว่า “นี่เราทำอะไรลงไปเนี่ย!”

วันนี้ Parents One มีเคล็ดลับมาบอกต่อ! ขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านมาเจาะลึกพฤติกรรมผ่านภูเขาน้ำแข็งของซาเทียร์ ขุดให้เจอต้นตอปัญหา ทำความเข้าใจตัวเองและผู้คนรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้าตัวน้อยที่เป็นดังแก้วตาดวงใจ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน

และนี่เป็นเพียงบทเรียนหนึ่งจากกิจกรรม Family Learning Class ห้องเรียนอ่านลูก ของ Club Sunshine x Daisy Ray ซึ่งที่นี่ยังคงมีกิจกรรมดีๆ อีกมากมาย รอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านมาเรียนมารู้เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจ เชื่อมสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้แข็งแรง สามารถติดตามได้ที่เพจ Daisylearninggarden

ถ้าพร้อมแล้ว คว้ากระดาษและปากกา มาเริ่มขุด เจาะ กะเทาะ ค้นหาความจริงจากภูเขาน้ำแข็งกันเลย!

ภูเขาน้ำแข็งของเวอร์จิเนีย ซาเทียร์

เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ เป็นนักจิตวิทยาหญิงชาวอเมริกัน ผู้ได้รับการขนานนามว่า “มารดาแห่งจิตบำบัดครอบครัว” มีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ.1916-1988 เธอมองว่าคนเราก็เหมือนภูเขาน้ำแข็ง มองกันแต่ภายนอกก็เห็นเพียงยอดเล็กจิ๋ว แต่ตัวตนและความรู้สึกที่แท้จริงนั้นยิ่งใหญ่อยู่ใต้น้ำต่างหาก และที่สำคัญ คน=คน ถ้าเราหงุดหงิด โมโห มีอารมณ์ฉุนเฉียวเป็น ลูกเองก็ไม่ต่างกัน

สำหรับ Iceberg Model ของซาเทียร์จะใช้ภูเขาน้ำแข็งเป็นตัวแทนจิตใจ ถอดความซับซ้อนในจิตใจออกมาเป็นชั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะทำเพื่อทบทวนตัวเองหรือทำความเข้าใจลูกก็ได้ค่ะ

พฤติกรรม (Behaviour)

คือ พฤติกรรมที่แสดงออก หรือท่าทีที่ใช้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจจะเป็นพฤติกรรมไม่ดีที่เรารู้สึกไม่พอใจ ไม่ชอบในตัวเอง-ตัวลูก หรือเหตุการณ์ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกันในครอบครัว ให้เขียนเอาไว้บนยอดภูเขาน้ำแข็ง ตั้งเป็นโจทย์ แล้วเราจะมาหาที่มาที่ไปของพฤติกรรมนี้ตามระดับชั้นที่ลึกลงไป

ความรู้สึก (Feeling)

ความรู้สึกเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้ทำบางสิ่งบางอย่าง และเมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์อะไรสักอย่างก็ทำให้เราเกิดความรู้สึกต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน ลองพิจารณาดูนะคะว่าพฤติกรรม หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราหรือลูกรู้สึกอย่างไรบ้าง เช่น หงุดหงิด เหงา เศร้าใจ โมโห เจ็บปวด

ความรู้สึกต่อความรู้สึก (Feeling about Feeling)

นอกจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างเราทำพฤติกรรมดังกล่าว อาจมีหลายๆ ความรู้สึกต่อเนื่องมาด้วย ให้พยายามหาความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อจากความรู้สึกเหล่านั้น หลังจากโกรธ แล้วรู้สึกผิดด้วยหรือเปล่า น้อยใจ เสียใจที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ด้วยหรือไม่ เราจะเริ่มเข้าใจตัวเองและลูกมากยิ่งขึ้น

การรับรู้ ทัศนคติ (Perception)

มาสำรวจตัวเองกันว่าเรามีมุมมองต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีความคิดเห็นแบบไหน โดยแบ่งเป็นทัศนคติที่มีต่อตัวเอง คนอื่น รวมถึงโลกและบริบทรอบตัว ซึ่งทัศนคติเหล่านี้มาจากประสบการณ์ในชีวิตที่หล่อหลอมให้เราเป็นเราจนทุกวันนี้ ในขณะเดียวกัน ลูกที่มองเราเป็นต้นแบบอยู่เสมอก็จะได้รับอิทธิพลจากทัศนคติเหล่านั้น และมีความคิด ความเชื่ออะไรบางอย่างที่คล้ายคลึงกับเรา แต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะคะ ถ้าได้ลองพูดลองคุยอาจจะได้ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจลูกมากขึ้นก็เป็นได้

ความคาดหวัง (Expectations)

ทุกวันนี้เราคาดหวังอะไรบ้างนะ อยากทำอะไร อยากเป็นอะไร อยากให้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวดำเนินไปแบบไหน แบ่งออกเป็นความคาดหวังที่มีต่อตัวเอง คนอื่น โลกและบริบทรอบตัวเช่นเดียวกันกับทัศนคติ

เราควรจะรู้เท่าทันความคาดหวังของตนเองเพื่อหาสมดุล ไม่ผูกติดกับความคาดหวังมากจนเกินพอดี เพราะหากเราผิดหวังขึ้นมาอาจเป็นบาดแผลฝังลึก ย้อนกลับมาทำร้ายเราได้เรื่อยๆ และอย่าลืมที่จะช่วยลูกรับมือกับความคาดหวังของเขาด้วยนะคะ

ตัวตน (Self)

ชั้นสุดท้ายท้ายสุดของภูเขาน้ำแข็ง คือตัวตนลึกๆ ที่เป็น ซึ่งซาเทียร์เรียกว่า “พลังชีวิต” และบางคนเรียกว่าจิตวิญญาณ หรือความสามารถในการรับรู้ ไม่ใช่แค่สิ่งที่เราแสดงออก ไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่พยายามจะเป็น แต่คือสิ่งที่เราเป็นจริงๆ

เติมอาหารใจ เพิ่มพลังชีวิต

ร่างกายจะเติบโตแข็งแรงก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ต่างอะไรกับจิตใจที่ต้องการสารอาหารหล่อเลี้ยงให้แข็งแรงเหมือนกัน และเมื่อเราเจาะภูเขาน้ำแข็งจนถึงชั้นสุดท้าย เราจะค้นพบสิ่งที่เราหรือลูกต้องการ

ทางแก้ไข คือเติมอาหารใจในส่วนที่ขาด หมั่นให้อาหารใจครบทุกหมู่อย่างเหมาะสม ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และต้องไม่ลืมเติมอาหารใจให้กับตัวเองด้วยนะคะ เพราะถ้าเราขาดอาหารใจ พลังชีวิตหดหาย ลูกเราก็อาจสั่นคลอนตามไปด้วย ใจเราไม่แข็งแรง ลูกก็ไม่แข็งแรงตาม

โดย อาหารใจ 10 หมู่ ได้แก่

  • ความรัก
  • การเห็นคุณค่า
  • การยอมรับ
  • การชื่นชม
  • ความใกล้ชิด
  • เชื่อมโยงสัมพันธ์ทางใจ
  • อิสระเสรี
  • ความเป็นพวกเดียกวัน
  • ความมั่นคง
  • ความสงบ

เข้าใจเรา..เข้าใจลูก

  • วาดภูเขาน้ำแข็ง
  • จับเข่าพูดคุย
  • ตรวจสอบความเข้าใจ
  • เสริมอาหารใจ

การเขียนภูเขาน้ำแข็งทำให้เราเข้าใจการกระทำของตัวเองมากขึ้น ก่อนที่จะรู้ตัว อารมณ์คุกรุ่นอาจจะเบาบางลง และหายไปขณะกำลังเขียนภูเขาน้ำแข็งก็ได้ แต่ในการทำความเข้าใจลูกอาจจะไม่เพียงพอ เพราะเราเขียนภูเขาน้ำแข็งของลูกขึ้นมาด้วยความคิดเห็นของเราเอง คิดว่าลูกจะรู้สึกแบบนั้น คิดว่าลูกจะมีทัศนคติแบบนี้

ฉะนั้น แทนที่จะด่วนสรุปตัดสิน เราควรหยิบสิ่งที่เขียนขึ้นมาได้ มาตั้งคำถามพูดคุยกับลูกเพื่อสะท้อนความรู้สึกที่แท้จริง เช่น “ลูกรู้สึกโกรธอยู่ใช่ไหม” (ความรู้สึก) “นอกจากโกรธแล้ว หนูยังเสียใจที่รู้สึกโกรธด้วยใช่หรือเปล่า” (ความรู้สึกบนความรู้สึก) “หนูไม่ชอบทำการบ้านเหรอคะ” (ทัศนคติ)

ยิ่งเราให้เวลากับการตั้งคำถามพูดคุยมากเท่าไร ก็ยิ่งค้นพบสิ่งซ่อนเร้นที่อยู่ภายในใจของลูก ยิ่งรู้จักลูกมากขึ้นเท่านั้น ในช่วงแรกอาจจะยากลำบากไปบ้าง แต่ถ้าอาศัยการฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ คุณพ่อคุณแม่ก็จะใช้ภูเขาน้ำแข็งได้เชี่ยวชาญและเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสามัญประจำบ้านที่จะได้หยิบมาใช้บ่อยๆ แน่นอนค่ะ

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save