fbpx

"สร้างเกราะให้ใจแกร่ง" ไปกับงานเปิด Samitivej Parenting Center ผนึกกำลังพ่อ, แม่, แพทย์ สร้างเด็กฉลาดในด้านอารมณ์

Writer : OttChan
: 24 กันยายน 2562

ปัจจุบันนั้น ความมั่นใจและความกล้าแสดงออกของเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความใส่ใจและสนับสนุนให้เกิดขึ้นเพื่ออนาคตที่ดีและสดใสของพวกเขา แต่ปัญหาที่ทำให้เด็กอ่อนแอ, ต่อต้านหรือถูกรังแกก็เป็นหนึ่งในหัวใจหลักที่ทำให้เราไม่สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันความบอบช้ำทางจิตใจหรือความสามารถในการปรับตัวของพวกเขาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทำให้สุดท้ายเด็กๆ ที่แสนบอบบางและไร้เดียงสาก็จะกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์, ขี้หงุดหงิดและใจร้อนฉุนเฉียวไปในที่สุด

เช่นนั่นแล้ว ทางโรงพยาบาลสมิติเวชจึงได้จัดตั้งศูนย์ Samitivej Parenting Center ขึ้น เพื่อพัฒนา RQ ( Resilience Quotient ) พร้อมแฮชแท็กสร้างเกราะให้ใจแกร่ง สำหรับเด็กเพื่อให้สถาบันทางครอบครัวได้มีส่วนร่วมกับทางคุณหมอในการช่วยกันแก้ปัญหาทางด้านจิตใจให้กับบุตรหลานค่ะ

RQ ( Resilience Quotient ) ความฉลาดทางอารมณ์คือตัวช่วยสำคัญ

ในยุคสมัยที่สังคมเมืองอุดมไปด้วยเทคโนโลยีและการเลี้ยงดูอย่างประคบประหงม, ปกป้องจนมากเกินควร จึงทำให้ความอดทนที่มีสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างของเด็กนั้นมีน้อยเพราะทุกอย่างต้องทันใจ ทันท่วงที ไม่รู้จักที่จะรอหรือใช้ความเข้าใจ ปัญหานี้จึงต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนด้วยการพัฒนา  RQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้เด็กนั้นมีความสามารถในการปรับตัวต่างๆได้ดีในแต่ละสถานการณ์ที่พบเจอ และทำให้สามารถอยู่รอดในสังคมได้อย่างแข็งแกร่งอีกด้วย

เรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด กับประสบการณ์ของทีมหมูป่าที่ติดถ้ำ

นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ หรือคุณหมอธีระเกียรติ ผู้อำนวยการของ Samitivej Parenting Center เป็นหนึ่งในแพทย์ที่ได้ช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาะจิตใจของเด็กทั้ง 13 คนหลังผ่านเหตุการณ์ติดถ้ำมาอย่างยาวนานถึง 10 วันซึ่งคำตอบที่ได้รับนั้นจึงทำให้ได้รู้ถึงวิธีการสร้างกำลังใจและดูแลสุขภาพจิตที่ดีในตอนที่รู้สึกหมดหวังที่สุด นั่นคือ เราต้องมีความหวัง เราจะต้องรอด, เราต้องหาทางออกไปได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญเหล่าเด็กทีมหมูป่าอยู่กันเป็นทีมเวิร์ค เห็นใจซึ่งกันและกัน พวกเขาจึงสามารถอยู่รอดกันมาได้ครบทุกคนรวมถึงมีสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายที่ดีเยี่ยม

” พวกเขาคิดว่า เราจะต้องรอด เดี๋ยวมันก็ผ่านไป พวกเขาแก้ปัญหาได้เก่งมาก พวกเขามีความเป็นทีมเวิร์ค ”

” สิ่งที่พวกเขาคิดถึงไม่ใช่ตัวเองแต่นึกถึงแม่ ใครออกก่อนออกหลังดูจากความบ้านไกลออกก่อน พวกเขาคิดถึงคนอื่นก่อนตนเองเสมอ ”

นี่คือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเหล่าทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำว่ามีแนวคิดอย่างไรในการแก้ไขปัญหา มีทั้งความอดทน, ความหวังและความเห็นอกเห็นใจ นั่นแสดงให้เห็นถึงว่าพวกเขามี RQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ที่สมบูรณ์แบบ

แก้ปัญหาโรคสมาธิสั้นโดย EF การบริหารทักษะสมอง บริหาร, จัดการตนเองเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ปัญหาสมาธิสั้นในเด็ก เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้เด็กมีความอดทนต่ำ, ไม่รู้จักอดทนและใช้อารมณ์ซึ่งการจะพัฒนาให้มี RQ ที่ดีได้ต้องเริ่มจากการฝึกให้มี EF ที่ดีเสียก่อนซึ่งการฝึก EF คือการฝึกการจัดการตนเองเพื่อบรรเทาและเยียวยาภาวะสมาธิสั้นของเด็ก ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้

  • self-directed Attention : Self Awareness ( การควบคุมความรู้สึก )
  • self-directed Inhibition :Mind’s Brake ( การรู้จักที่จะรอ )
  • self-directed Non-verbal working memory : Mind’s eye ( การจดจำด้วยภาพ )
  • self-directed verbal working memory : Mind’s Voice (การจดจำด้วยคำ )
  • self-directed Emotions : Mind’s Heart ( การจดจำด้วยความรู้สึกและอารมณ์ )
  • self-directed Play : Planning & Problem-solving ( การวางแผนและเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา )

การจะดูว่าเด็กในบ้านเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ ต้องดูจากหลังอายุ 6 ปีไปแล้ว เพราะสมองมีการพัฒนาไปตามวัย หากยังเล็กอยู่แล้วมีอาการซุกซน ช่างพูดช่างจ้อหรือไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติ ให้เราสังเกตอาการไปก่อนเพราะเมื่อพวกเขาปรับตัวแล้ว การพัฒนา ทั้ง 3 อย่างจึงจะเกิดขึ้น นั่นคือ

Other to Self

จากคนอื่นสู่ตัวเรา เมื่อเด็กเริ่มมีการเรียนรู้ที่ดี เมื่อคนอื่นเข้ามากำหนดและคอยบอกสอน จะมีการจดจำและนำมาพัฒนาเป็นบุคลิกและนิสัยของตน

Public to Private

จากสาธารณะสู่ความเป็นส่วนตัว เมื่อเด็กคิดสิ่งใดก็จะพูดทุกสิ่งที่เขาคิด แต่หาก EF ได้มีการพัฒนา เด็กจะรู้ว่าควรพูดหรือไม่พูดตอนไหน เก็บสิ่งที่คิดไว้ในใจแล้วพูดในเวลาที่เหมาะสม

Instant gratification to deferred gratification

จากเรื่องที่ทันทีทันใดสู่การอดทนรอสิ่งที่ดีกว่า เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะอดเปรี้ยวไม่กินหวาน รอคอยเพื่อให้ได้ซึ่งผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ นั่นก็จะเป็นหนึ่งในการพัฒนา EF ที่สำคัญให้แก่เขา นั่นคือการรู้จักควบคุมความอยาก ควบคุมอารมณ์

เหตุผลที่พ่อแม่กับลูกทะเลาะกันเพราะ ” EF ไม่เท่ากัน “

การมองเห็นอนาคตของผู้ใหญ่และเด็กไม่เท่ากัน ผู้ใหญ่มองอนาคตได้ไกลกว่าและมีความจำที่ยาวกว่าซึ่งในเวลาเดียวกัน เด็กมีความจำในระยะสั้นและไม่ได้มองเรื่องราวต่างๆ ในภายภาคหน้า จึงทำให้ผู้ปกครองและลูกมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันตลอดเวลาเพราะมองเห็นโลกไม่เหมือนกัน ซึ่งในงานเปิด Samitivej Parenting Center  นายแพทย์ธีระเกียรติก็ได้มีการยกตัวอย่างการทดลองโครงการ มาร์ชเมลโล่ ของต่างชาติ เป็นโครงการเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กที่ถูกบอกให้รอ อย่าพึ่งกินมาร์ชเมลโล่จนกว่าคนทดสอบจะกลับมา หากรอได้ จะได้กินเป็น 2 ชิ้น

ซึ่งการทดลองนี้ นับว่าเป็นการทดลองที่สำคัญอย่างมากและใช้เวลายาวนานถึง 40 ปีในการวัดผลว่าในอนาคตเหล่าเด็กที่ถูกทดสอบนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อเติบโต เพราะเพียงการตัดสินใจในตอนรอมาร์ชโมลโล่นั้นสามารถทำนายนิสัยและความคิดของพวกเขาได้จนถึงตอนเป็นผู้ใหญ่

5 ขั้นเพื่อช่วยพัฒนาให้ลูกมี EF ที่ดี

เวลาเกิดเรื่องต่างๆขึ้นกับลูกหรือความประพฤติบางอย่างที่ไม่เหมาะสมเหมาะควร จะมีวิธีรับมืออย่างไรบ้างนั้น กับงานนี้เองก็มีแนะไว้ด้วยกัน 5 ขั้นตอน

  • Choose Situation เลือกสถานการณ์ให้ออกห่างจากสิ่งเร้าให้เกิดอารมณ์หรือความรู้สึก
  • Change Situation เปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆให้เหมาะสมกับสิ่งที่กำลังเผชิญ
  • Choose Attention เบี่ยงเบนความสนใจ
  • Change Thoughts เปลี่ยนความคิด
  • Change Response ปรับเปลี่ยนวุฒิภาวะ

ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะเริ่มต้นด้วยข้อ 5 ก่อนคือการปรับเปลี่ยนวุฒิภาวะของเด็กซึ่งเป็นจุดที่ยากที่สุด ดังนั้น ต้องค่อยๆปรับไปทีละขั้นจากขั้นแรกจนมาถึงขั้นสุดท้าย เพราะนี่คือธรรมชาติของลูกน้อยที่เขาจะต้องถูกดึงดูดด้วยความสนใจต่างๆก่อนแล้วจึงจะเข้ามาสู่เรื่องที่ต้องคิดเองได้จากภายใน

” ถ้าเขามีลูกสมาธิสั้น เขาจะได้ประโยชน์ “

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เพียงการเปิดงานก็ยังได้ความรู้ขนาดนี้ในการดูแลลูกน้อยขนาดนี้ ถ้าได้ลองมาสัมผัสประสบการณ์ปรึกษากับศูนย์ Samitivej Parenting Center เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังประสบปัญหาลูกมีอาการสมาธิสั้น ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเพราะปัญหาสมาธิสั้นในเด็กกำลังมีมากขึ้นในสังคมของเรา จะด้วยสิ่งเร้าอย่างหน้าจอโทรศัพท์หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ, สภาพแวดล้อมสังคมหรือแม้แต่ระบบความคิดและพัฒนาการทางสมอง

ทุกอย่างล้วนต้องได้รับการแก้ไขที่เหมาะสมและรวดเร็ว เพราะจุดประสงค์หลักที่ทางโรงพยาบาลสมิติเวชได้สร้างศูนย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่นี้ขึ้นก็เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถรับมือและดูแลลูกอยู่ที่บ้านได้ด้วยตนเองโดยได้รับข้อมูลและวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง

ซึ่งตัวคุณหมอสุระเกียรติรับรองได้เลยว่า หากลูกมีปัญหาสมาธิสั้นแล้ว จะอย่างไรก็ได้ความคุ้มค่าและประโยชน์กลับไปอย่างแน่นอนค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ samitivejhospitals

#สร้างเกราะให้ใจแกร่ง #SamitivejHospital #bulidresilience

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
2 กุมภาพันธ์ 2564
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save