ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การมีเจ้าตัวน้อยโดยที่คู่รักหลายๆ คู่ยังไม่พร้อม ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องพบเจอ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่าย, ความพร้อมในการเป็นพ่อแม่หรือแม้แต่ความพร้อมของร่างกายเองก็มีผลอย่างมากเช่นกัน และหนึ่งทางเลือกที่ไม่ว่าใครก็รู้สึกกลัวคือการยุติการตั้งครรภ์ลงเพราะไม่รู้ว่าจะบาปไหม หรือผิดกฎหมายข้อไหนรึเปล่าเกี่ยวกับการกระทำนี้ ดังนั้นเราจะมาสรุปข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์แบบเข้าใจง่ายให้นะคะ
การยุติการตั้งครรภ์ บาปจริงหรือไม่
ในทางความเชื่อ และสิ่งที่เราเรียนรู้มา หากเรารู้ตัวว่าเราตั้งครรภ์แต่ยังไม่พร้อมต้องการหยุดลง ผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่มักจะไม่อยากให้ยุติเพราะกลัวบาปกรรม, กลัวว่าจะมีผีติดตาม และรู้สึกอับอายที่ต้องถูกชาวบ้านติฉินนินทาเอา แต่ในความจริงแล้ว จะบาปหรือไม่ จะผิดรึเปล่านั้น อยู่ที่ตัวของผู้ตั้งครรภ์รู้สึกมากกว่าการบอกกล่าวของคนอื่นและสังคม หากผู้ตั้งครรภ์มั่นใจแล้วว่ามันดีต่ออนาคตของผู้ตั้งและหากเป็นโอกาสอื่นที่เหมาะกว่าที่จะได้ตั้งครรภ์ นั่นก็ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วสำหรับการตัดสินใจค่ะ
มาตรา 301 สำหรับผู้ตั้งครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
ข้ออนุญาต
- สามารถยุติได้ด้วยตนเองและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- อายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์สำหรับยุติการตั้งครรภ์
- การตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้ตั้งครรภ์ไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
ข้อห้าม
- อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์และยุติเอง
- ให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่แพทย์มีใบประกอบวิชาชีพยุติให้
มาตรา 302 สำหรับผู้ช่วยเหลือในการยุติการตั้งครรภ์
ผู้ตั้งครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
- สามารถช่วยพาไปพบแพทย์หรือซื้อยาสำหรับการยุติมาให้ได้
- ห้ามช่วยเหลือด้วยการสอดเครื่องมือหรือให้กินยา แม้ตัวผู้ตั้งครรภ์จะยินยอม
ผู้ตั้งครรภ์อายุครรภ์ระหว่า 12-20 สัปดาห์
- ช่วยเหลือได้แค่พาไปพบแพทย์เท่านั้น
- กรณีผู้ตั้งครรภ์ไม่ยินยอมจะยุติ ห้ามบังคับผู้ตั้งครรภ์ยุติ
มาตรา 305 สำหรับผู้ตั้งครรภ์อายุครรภ์เกิน 12 แต่ไม่ถึง 20 สัปดาห์
- ผู้ตั้งครรภ์เป็นคนตัดสินใจที่จะยุติเอง ไม่ให้การถูกบังคับจากผู้อื่นหรือบุคคลใกล้ชิด
- ห้ามยุติด้วยตนเองแต่ต้องให้แพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้นในช่วยยุติการตั้งครรภ์เพราะอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้
- เหตุที่จะยุตินั้นต้องมาจาก การตั้งครรภ์ในวัยที่ไม่เหมาะสม, ถูกข่มขืน, ร่างกายของผู้ตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายหากตั้งครรภ์ต่อไป, ทารกในครรภ์มีปัญหา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพของทั้งคู่, ผู้ให้บริการทางเพศตั้งครรภ์อย่างไม่ตั้งใจกับผู้มาใช้บริการ
- การยุติต้องได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้ชำนาญและตามหลักเกณฑ์แพทย์สภา
สำหรับผู้ที่อายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์
- ผู้ตั้งครรภ์ต้องตัดสินใจที่จะยุติเอง จะช่วยเหตุผลใดก็ถือว่าเป็นเหตุจำเป็นเช่น สุขภาพของผู้ตั้งครรภ์, ทารกอาจมีความผิดปกติของร่างกายหลังคลอด, ถูกข่มขืนหรือกระทำอนาจารจนตั้งครรภ์
- ได้รับการปรึกษาและยินยอมจากแพทย์ผู้ชำนาญ ว่าหากตั้งครรภ์ต่อไปแล้วอาจส่งผลกระทบได้จริง
- ดำเนินการยุติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของแพทย์สภาเท่านั้น
ที่มา : drive.google , facebook ,