fbpx

รีวิว Monsters of the Sea ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก

Writer : blahblahboong
: 10 พฤศจิกายน 2560

หากย้อนเวลากลับไปในอดีตเมื่อ 300 ล้านปีก่อน บนพื้นแผ่นดินมีไดโนเสาร์ยืดครองพื้นที่ แต่โลกใต้ทะเลล่ะ ใครเป็นผู้ครอบครอง

นิทรรศการ  ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก Monsters of the Sea มโหฬาร มหึมา มหัศจรรย์ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “โลกใต้ทะเล” ดินแดนลึกลับที่เต็มเปี่ยมได้ด้วยปริศนา มาทำความรู้จักกับ เหล่าสิ่งมีชีวิตยักษ์ใหญ่ชื่อเรียกยากทั้งหลาย ร่วมเรียนรู้เรื่องราวของวิวัฒนาการและการปรับตัวในโลกใต้ทะเลสุดมหัศจรรย์ มาดูกันค่ะ ว่าภายในนิทรรศการมีอะไรน่าสนใจบ้าง

รู้จักกับ “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก Monsters of the Sea มโหฬาร มหึมา มหัศจรรย์”

นิทรรศการจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (อยู่บริเวณเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์)

ตั้งแต่ 15 ก.ย. 2560 – 14 ม.ค. 2561

ราคาบัตร

ผู้ใหญ่ 150 บาท / เด็ก 120 บาท  / สมาชิกอพวช. 100 บาท

(เด็กส่วนสูงไม่เกิน 110 เซนติเมตร)

บรรยากาศภายในนิทรรศการ

เมื่อซื้อบัตรเข้าชมเป็นที่เรียบร้อยกันแล้ว เราก็ตะลุยโลกใต้ทะเลกันเลย โดยเริ่มแรกจะมีกิจกรรม Walk Rally ให้เด็กๆ ได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมตามจุดต่างๆ หากไม่รู้ว่าจะทัวร์นิทรรศการยังไง เดินเล่นเกมส์ไปเรื่อยๆ ก็เพลินดีนะคะ แถมเมื่อเล่นเสร็จยังสามารถมาแลกของรางวัลได้อีกด้วย

กิจกรรมสำหรับเด็กๆ

ภายในงานมีกิจกรรมสนุกๆ มากมายให้เด็กได้เล่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การปัดทรายหาฟอสซิล , ระบายสีสัตว์ยักษ์ ที่ผลงานของเด็กๆ จะได้ขึ้นไปว่ายไป-มาบนจอขนาดยักษ์ , สร้างสัตว์ดึกดำบรรพ์ในแบบของตัวเอง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการทดลองแบบง่ายๆ มาสาธิตให้ดูกันอีกด้วย อย่างอันนี้เป็นการสาธิตเรื่อง แรงดัน เราไม่สามารถเอามือใส่ถุงมือที่อยู่ในโหลแก้วได้ เพราะภายในโหลแก้วมีแรงดันอากาศนั่นเอง

รู้จักกับพระเอกของงาน Monsters of the Sea

เมื่อก้าวเข้ามาภายในของ Monsters of the Sea เราจะรู้สึกเหมือนได้ดำดิ่งลงไปในใต้ทะเลลึก ด้วยแสงสีและบรรยากาศโดยรอบ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าชมอย่างเรามาก และเมื่อมองไปรอบๆ แล้ว เราจะได้พบกับ สัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดยักษ์ ไม่ว่าจะเป็น

ฉลามเมกาโลดอน (Megalodon)

ฉลามยักษ์ นักล่าตัวโต มีฟันขนาดใหญ่คล้ายใบเลื่อย เรียงซ้อนกันเป็นชั้น นอกจากนี้เจ้าฉลามเมกาโลดอนที่นำมาจัดแสดงยังมีจุดเด่น ที่การขยับเคลื่อนไหวของส่วนกราม สร้างความตื่นตาตื่นใจได้มากๆ เลย

เพลซิโอซอรัส (Plasiosaurus)

ตำนานแห่งทะเลสาบล็อคเนส ว่ากันว่าถ้าเจ้า สัตว์ประหลาดเนสซี มีตัวตนจริงๆ ก็น่าจะเป็นเพลซิโอซอรัสตัวนี้นี่แหละ ด้วยลักษณะคอที่ยาว และขนาดตัวที่ใหญ่โต นำมาสู่ข้อสันนิษฐานนี้

นอกจากนี้ยังมีสัตว์ขนาดยักษ์อีกหลายตัวเลย บางตัวก็แอบขยับได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้เราได้ดูได้ศึกษากัน บางชนิดจะมีตัวจริงในปัจจุบันที่ขนาดไม่ได้ใหญ่เท่าเมื่อก่อนมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพอยู่ข้างด้วยๆ

ท้ายสุดของส่วนนิทรรศการจะมีการหยอดคำถามว่า ในปัจจุบันนี้ไม่มีเจ้าสัตว์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้อีกแล้ว แล้วยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึกตัวไหนร้ายกาจที่สุด คำตอบก็คือ

มนุษย์นั่นเอง!!

มนุษย์ผลิตขยะออกมาในระบบนิเวศน์จำนวนเยอะมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใต้ทะเล สัตว์บางชนิดกินเศษถุงพลาสติกเข้าไปเพราะ เข้าใจว่าเป็นอาหาร ทำให้เกิดการสูญเสีย แล้วร้ายแรงที่สุดก็ทำให้เกิดการสูญพันธู์เลยทีเดียว

Monsters of the Sea ได้ให้ข้อคิดกับผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันก้ได้ปลูกฝังจิตสำนึกกับเด็กๆ เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ ช่วยกันรักษาระบบนิเวศน์ เพื่อให้เกิดสมดุลในธรรมชาติให้มนุษย์และเหล่าสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

สรุป “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก Monsters of the Sea มโหฬาร มหึมา มหัศจรรย์”

  • อลังการ ตื่นตาตื่นใจมากๆ เดินเล่นเพลินๆ ก็สนุกสนานเลยทีเดียว
  • ในส่วนของการให้ความรู้ มีการเรียงลำดับชุดข้อมูลได้น่าสนใจ ไม่สับสน เจ้าหน้าในแต่ละจุดให้ความรู้ได้ละเอียด ถ่ายทอดเรื่องราวได้สนุกสนาน
  • มีการสาธิตการทดลองวิทยาศาสตร์ในจุดต่างๆ รวมถึงมีกิจกรรมให้เด็กได้เล่น ไม่เบื่อเลย
  • อาจจะไกลไปหน่อย แต่ภายในบริเวณเดียวกัน ยังมีพิพิธภัณฑ์อีก 2 จุดให้ได้เดินชมด้วยนะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

Writer Profile : blahblahboong

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save