ร้องไห้ – ลงไปดิ้นกับพื้น – อาละวาด สเตปสุดโหดที่เด็กๆ มักใช้เวลาที่ไม่ได้อะไรดั่งใจตัวเอง พ่อแม่อย่างเราเจอแบบนี้เข้าไป เป็นอันต้องปวดหัวไปตามๆ กันใช่ไหมคะ
เรามารู้ถึงต้นเหตุ ผลเสียของพฤติกรรมอาละวาดในเด็ก รวมไปถึงวิธีรับมือเมื่อตัวดีออกอาการ อาละวาด กันค่ะ
การร้องอาละวาด
- เกิดในเด็กวัย 1 – 3 ปี
- สื่อสารด้วยคำพูดไม่เก่ง
- ใช้พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงถึงความต่อต้าน
ผลเสียที่ตามมาจากการอาละวาด
- ทำลายข้าวของ
- ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
- ขัดขวางการเรียนรู้
- มีปัญหาด้านความสัมพันธ์
วิธีรับมือ
ควบคุมอารมณ์ และวิธีพูดของตัวเอง
อันดับแรก คุณพ่อคุณแม่ต้องควบคุมอารมณ์ของตัวให้ได้ก่อน อย่าเดือดตามลูก แล้วค่อยๆ สอนอย่าใจเย็น อย่าแสดงพฤติกรรมที่เหมือนว่าคุณกำลังอาละวาดเช่นเดียวกับลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า “ในเมื่อพ่อ/แม่ทำได้ ตัวเค้าก็ต้องทำได้เช่นกัน”
ให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ต้องการ
แต่จะให้ทำทุกอย่างเลยก็ไม่ดีนะคะ อย่างน้อยคุณพ่อคุณแม่ควรจะสร้างข้อตกลง หรือทางเลือกให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเลือกทำในสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการบังคับมากจนเกินไป
กำหนดขอบเขตที่ชัดเจน
กำหนดสิ่งที่เค้าสามารถทำได้และไม่ได้ให้ชัดเจน พูดคุยตกลงกันอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ
เพิกเฉย ไม่สนใจ
สำหรับเด็กเล็กมากๆ (1 – 3 ขวบ) อาจจะไม่สามารถสอนเค้าได้ด้วยวิธีที่ซับซ้อนมากนัก ดังนั้นเมื่อเค้าเริ่มเอาแต่ใจ งอแง เรียกร้องอะไรสักอย่าง และเริ่มอาละวาด ให้คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นไม่สนใจ แกล้งทำเป็นไม่ได้ยินไปเลย เมื่อเค้าเริ่มรู้ตัวว่าไม่ได้ผล ก็จะหยุดไปเอง
Time Out
ในกรณีที่เด็กเริ่มโตแล้ว (4 ขวบขึ้นไป) ให้ใช้วิธี “แยกเด็กออกมาจากความสนใจรอบข้างชั่วคราว” หรือ Time Out
สามารถอ่านเรื่อง Time Out เพิ่มเติมได้ที่ : Time Out สอนให้นิ่ง รับมือกับอารมณ์ลูกแบบไม่ต้องเจ็บตัว
ข้อมูลจาก