fbpx

หนอนหนังสือสร้างได้ วิธีปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กรักการอ่าน

: 21 เมษายน 2565

ในทุกวันนี้ที่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ต่างจากอวัยวะที่ 33 การอ่านหนังสืออาจกลายเป็นเรื่องที่ห่างหายจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็กขึ้นเรื่อย ๆ 

การอ่านหนังสืออาจดูเป็นสิ่งที่ธรรมดา ไม่หวือหวา แต่การปลูกฝังวินัยในการอ่านที่ดีนั้นจำเป็นต่อพัฒนาการเด็กในทุกด้านเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ รูปแบบไวยากรณ์ คณิตศาสตร์ สี รูปทรง ไปจนถึงการพัฒนาการทางด้านความคิด การเข้าสังคม การใช้จินตนาการ และการใช้อารมณ์ เด็กในวัยนี้ก็เหมือนฟองน้ำที่พร้อมจะซึมซับทุกอย่างที่ได้จากหนังสือเล่มนั้น ๆ ไป

ถึงแม้ว่าหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่การปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กรักการอ่าน ชอบอ่านหนังสือนั้นก็ไม่ยากอย่างที่คิด เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

 

หนังสือที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัย

แน่นอนว่าเด็กแต่ละวัยนั้นเหมาะกับหนังสือแต่ละรูปแบบที่เหมาะกับพัฒนาการในตอนนั้นของเขา ซึ่งสามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้ค่ะ:

  • แรกเกิดถึงอายุ 4 ขวบ: หนังสือภาพเน้นสัมผัส มีหน้ากระดาษหนาและแข็งหรือนุ่มนิ่ม (ตย. กระดุ๊ก กระดิ๊ก กระด๊อก กระแด๊ก, คุณตาหนวดยาว, อีเล้งเค้งโค้ง, ชุดหนังสือนุ่มนิ่มลอยน้ำ)
  • อายุ 2-5 ขวบ: หนังสือนิทานที่มีภาพสีสันสดใส ไม่ยาวจนเกินไป (เฉลี่ย 32 หน้า) มีตัวหนังสือประมาณ 800 คำ (ตย. หนอนจอมหิว, ปลาสายรุ้ง, ความรักของต้นไม้)
  • อายุ 5-8 ขวบ: หนังสือนิทานที่มีเนื้อเรื่องชัดเจนและเข้าใจง่าย มีภาพประกอบที่มีสีสันสดใส ตัวหนังสือประมาณ 1,000 คำ หนังสือกิจกรรม สมุดภาพระบายสี (ตย. ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย, The Cat in the Hat, พระจันทร์ ฝันดี, ลูกกระต่ายคืนรัง)
  • อายุ 6-9 ขวบ: วรรณกรรมเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น หรือแบ่งเป็นหลายเล่มในหนึ่งชุด หนังสือเหล่านี้อาจมีภาพประกอบขาวดำบ้าง มีตัวหนังสือประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คำ (ตย. วรรณกรรมของโรอัลด์ ดาห์ล, กัปตันกางเกงใน, ไดอารี่ของเด็กไม่เอาถ่าน, แมงมุมเพื่อนรัก)
  • อายุ 8-12 ขวบ: วรรณกรรมเยาวชนและหนังสือการ์ตูน เนื้อหามีความซับซ้อนขึ้น มีตัวหนังสือราว 30,000 ถึง 50,000 คำ (ตย. แฮร์รี่ พอตเตอร์, เจ้าชายน้อย, โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง)

 

ซึ่งการที่เด็กจะอ่านหนังสือในกลุ่มที่ต่ำกว่าอายุของเขาเป็นเรื่องปกติ และส่วนมากมักเป็นเพราะว่าเขายังไม่เจอหนังสือเรื่องที่เขาชอบ การสร้างประสบการณ์ในการอ่านที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ แนะนำให้เขาอ่านหนังสือที่เขาชอบและรู้สึกสนุกด้วย เพื่อปลูกฝังความชอบในการอ่านก่อนค่ะ

วิธีที่จะทำให้เจ้าหนูสนุกกับการอ่านหนังสือ

  • อ่านเรื่องที่ชอบซ้ำ ๆ: เป็นปกติที่เจ้าหนูจะหยิบนิทานเล่มโปรดเป็นรอบที่ร้อย ขออย่าให้คุณพ่อคุณแม่ถอดใจไปเสียก่อน เพราะการอ่านเรื่องเดิมซ้ำ ๆ นั้นจะช่วยเพิ่มความไวและความแม่นยำในการอ่าน และส่งเสริมความมั่นใจให้เด็กที่ชอบเรียนรู้ในวิธีที่แตกต่างกันไปค่ะ
  • พกหนังสือไปด้วยทุกที่: ไม่ว่าจะรอตรวจสุขภาพ รอคุณพ่อคุณแม่ทำธุระ หรือที่ใดก็ตามที่เขามีเวลาว่าง ให้พกหนังสือที่เขาชอบหรือหนังสือที่เหมาะสำหรับเด็กติดตัวไปด้วย การทำแบบนี้จะแสดงให้เขารู้ว่าเขามีเวลาที่อ่านหนังสือเสมอ และทำให้เขารู้จักจัดสรรเวลาเพื่ออ่านหนังสือค่ะ
  • ให้ลูกเลือกหนังสือเอง: เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่เวลาไปร้านหนังสือ ก็อยากจะเลือกหนังสือที่เราชอบสมัยเรายังเด็กให้ลูกได้อ่าน แต่การให้ลูกเป็นคนเลือกหนังสือเองจะทำให้เขามีแรงใจและความมุ่งมั่นที่จะอ่านหนังสือมากขึ้นค่ะ
  • ให้ลูกอ่านให้เราฟัง: แทนที่เราจะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ลองเปลี่ยนให้เขาอ่านหนังสือที่คุ้นเคยให้เราฟังดูบ้างเมื่อเขาพร้อม สำหรับเด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่แข็ง จะลองให้เขาเล่านิทานเรื่องนั้นจากที่เขาจำได้ก็เป็นการฝึกใช้ความคิด ความจำและความเข้าใจของเขาที่ดีค่ะ หรือถ้ามีพี่น้อง จะให้คนพี่อ่านให้คนน้องฟังก็ได้ เป็นการกระชับความสัมพันธ์ไปในตัว
  • เลือกหนังสือที่เหมาะกับระดับการอ่านของลูก: บ่อยครั้งที่เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือนั้นมาจากการอ่านหนังสือที่ยากหรือง่ายเกินไปสำหรับเขา เด็กจะมีความสุขกับการอ่านมากกว่าหากได้อ่านหนังสือที่เหมาะกับระดับการอ่านของเขา คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เขาลองอ่านสักสองสามหน้า แล้วถามเขาว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร หากเขามีปัญหาระหว่างการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นเพราะศัพท์ยากเกินไป หรือไม่เข้าใจเนื้อเรื่อง ให้ลองหาเรื่องที่ง่ายขึ้นค่ะ
  • เปิดโอกาสให้กับคำถาม: บางทีการอ่านนิทานให้ลูกฟัง เราก็หวังว่าลูกจะตั้งใจฟังให้จบ แต่แท้จริงแล้วการอ่านอย่างมีส่วนร่วมต่างหากที่จะทำให้เขาสนุกกับการอ่าน อย่ากังวลถ้าเขาจะหยุดระหว่างบรรทัดเพื่อถามคำถาม หรือสงสัยเกี่ยวกับรูปภาพต่าง ๆ ในหน้าหนังสือ นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในหน้านั้น ๆ ให้เขาหัดใช้ความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา หรือเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับหนังสือได้ด้วยค่ะ

 

Tips: สุดท้ายแล้ว อย่ากลัวที่จะเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาหรือบริบทที่เจ้าตัวน้อยไม่คุ้นเคย การให้เขาได้รู้เห็นข้อมูลและเรื่องราวที่หลากหลาย จะเป็นการเตรียมเขาให้พร้อมสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง และให้เขาได้เสพสื่อที่ไม่ซ้ำจำเจค่ะ

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save