fbpx

Q&A : ถาม-ตอบปัญหาคาใจ ไวรัสตัวร้าย RSV

Writer : Phitchakon
: 22 กันยายน 2565

เรื่องน่ากังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไวรัส RSV ที่กำลังระบาดในหมู่เด็กเล็กและถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัส RSV จะมีอาการที่คล้ายคลึงกับไข้หวัดที่เราคุ้นเคยกันดี แต่บอกเลยค่ะว่าระดับความรุนแรงน่ากลัวกว่าเป็นทวีคูณ​!

หากใครยังไม่รู้จักเจ้าเชื้อไวรัสตัวร้าย นิ่งนอนใจไม่ได้แล้วนะคะ วันนี้ Parents One รวบรวมเรื่องน่ารู้และทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัส RSV มาไขให้กระจ่าง จะมีอะไรบ้าง เป็นเรื่องราวที่ทุกท่านกำลังสงสัยข้องใจอยู่หรือเปล่า ไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

Q : ไวรัส RSV คืออะไร

A : RSV หรือ Respiratory Syncytial Visus เป็นไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และมักระบาดช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในประเทศไทย

Q : ไวรัส RSV ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร

A : RSV มีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงกว่ามาก สังเกตได้จากอาการไข้สูง เหนื่อยหอบ คออักเสบ น้ำมูกเยอะ หายใจมีเสียงหวีด เสียงครืดคราด อาจมีอาการตัวเขียว ถ้าพบอาการดังกล่าว ควรพาลูกพบแพทย์ทันที แพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อจากน้ำมูก น้ำลาย และใช้เครื่องช่วยฟังเสียงการทำงานของปอด รวมถึงตรวจความผิดปกติอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยต่อไป

Q : ไวรัส RSV ติดต่อทางไหนได้บ้าง

A : ไวรัส RSV ติดต่อกันได้ง่ายมาก ทั้งจากการสูดอากาศหายใจรับเอาเชื้อเข้าไปโดยตรง หรือจากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยเชื้อ RSV ยังมีชีวิตอยู่บนมือได้นานกว่าครึ่งชั่วโมง อยู่บนสิ่งของได้นานหลายชั่วโมง เป็นเชื้อที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย

Q : ไวรัส RSV มีระยะฟักตัวกี่วัน

A : มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ จากนั้นจะเริ่มแสดงอาการให้เห็น เริ่มจากอาการไข้ต่ำ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหลประมาณ 2-4 วัน จากนั้นจะเริ่มมีการดำเนินโรคที่ระบบหายใจช่วงล่าง เด็กที่ป่วยเป็น RSV จะมีอาการประมาณ 5-7 วันหรือมากกว่านั้น

Q : ไวรัส RSV อันตรายแค่ไหน

A : ไวรัส RSV เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ ปอดอักเสบและอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวจนถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่แล้วการเสียชีวิตจะไม่ได้มาจากไวรัส RSV โดยตรง แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือกลุ่มเด็กเล็ก เด็กที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคหัวใจ โรคหอบหืด

Q : เคยติดเชื้อ RSV แล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีกได้ไหม

A : น่าเศร้าที่ต้องตอบว่าหนูๆ ที่เคยเป็น RSV แล้ว สามารถกลับมาเป็นอีกครั้งได้ค่ะ ไวรัส RSV มีถึง 2 กลุ่มย่อยที่เป็นไวรัสคนละตัวกัน ภูมิต้านทานจากการเจ็บป่วยครั้งแรกไม่สามารถป้องกันได้ หากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไวรัสตัวนี้ก็พร้อมจะเล่นงานทันที แต่ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงภูมิคุ้มกันที่มากขึ้นจากการติดเชื้อแต่ละครั้ง อาจทำให้อาการน้อยลงเมื่อเทียบกับครั้งแรกๆ ที่เป็นค่ะ

Q : ผู้ใหญ่ติดเชื้อ RSV ได้หรือไม่

A : ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นเดียวกันกับเด็ก มีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หอบหืด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง อาจมีอาการรุนแรงแทรกซ้อนจนถึงขั้นเข้า ICU หรือเสียชีวิตได้

ที่น่ากลัวคือเมื่อผู้ใหญ่ติดเชื้อ RSV ก็สามารถนำเชื้อไปสู่เด็กเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ใดที่ใกล้ชิดเด็กๆ ควรดูแลสุขภาพให้ดีเช่นกันค่ะ

Q : มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV หรือเปล่า

A : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันค่ะ รวมถึงยังไม่มียารักษาเฉพาะ เน้นรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลมช่วยให้หายใจสะดวก บางรายอาการหนักมากก็จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าจะดีขึ้น

Q : จะป้องกันไวรัส RSV ได้อย่างไร

A : การป้องกันไวรัส RSV สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นดูแลความสะอาดบ้านและข้าวของเครื่องใช้ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทั้งตัวเด็กๆ เองรวมถึงคนรอบตัว ใส่หน้ากากอนามัย แยกเด็กที่ป่วยออกจากเด็กคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อติดต่อกัน เป็นไปได้ก็ควรเลี่ยงสถานที่ชุมชนที่มีคนอยู่เยอะ และทางที่ดีไม่ควรให้เด็กๆ สัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะ รวมถึงงดให้ผู้อื่นมาสัมผัสจับตัว จูบ หอมเด็กๆ เพื่อป้องกันการรับเชื้อโดยไม่รู้ตัวนะคะ

ที่มา :

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save