fbpx

เด็กก็เป็น PTSD ได้นะ! วิธีดูแลลูกน้อย หลังจิตใจบอบช้ำจากเหตุการณ์รุนแรง 

Writer : Phitchakon
: 26 พฤษภาคม 2565

เมื่อใดก็ตามที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง นอกจากการดูแลรักษาบาดแผลทางร่างกายแล้ว บาดแผลทางจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ก็มีแต่จะส่งผลเสียในระยะยาว ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ค่อยๆ กัดกินหัวใจดวงน้อย ฉกฉวยความสุขไปทีละนิด และในที่สุดก็จะกลายเป็นแผลฝังใจไปตลอด 

Parents One จึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านรู้จักกับ PTSD หรือ Post-traumatic stress disorder โรคทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

เหตุการณ์รุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดโรค PTSD

Post-traumatic stress disorder (PTSD) คือ สภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการประสบกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หวาดกลัวจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน  

ตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงที่กระตุ้นให้เกิด PTSD ได้แก่  

  • เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรง  
  • ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ  
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ  
  • พบเห็นเหตุการณ์ที่บุคคลใกล้ชิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • อยู่ในเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เช่น ภัยพิบัติ สงคราม การก่อการร้าย  

อาการของโรค PTSD  

เด็กที่พบเจอเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ได้เป็น PTSD เสมอไป ในช่วงที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงมาใหม่ๆ เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จะรู้สึกไม่ดี มีอาการเครียด วิตกกังวล ตกใจง่าย ฝันร้าย คิดวนเวียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เจอ เราเรียกอาการในระยะนี้ว่า “โรคเครียดฉับพลัน” หรือ Acute Stress Disorder (ASD) เด็กที่ป่วยในระยะอาการนี้สามารถหายเป็นปกติเองได้  แต่ถ้าหากยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 1 เดือน เราจึงจะเรียกว่า Post traumatic stress disorder (PTSD)  

โดยสามารถจำแนกอาการได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้  

  1. เหตุการณ์นั้นตามมาหลอกมาหลอน (re-experiencing) : ฝันร้าย หลับตาลงทีไรก็เห็นเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า 
  2. มีอาการตื่นตัวมากเกินไป (hyperarousal) : ใจสั่น กระวนกระวาย ตกใจง่าย สะดุ้งง่าย โดยเฉพาะเวลาที่มีสิ่งกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ  
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น (avoidance) หรือมีอารมณ์เฉยชา (emotional numbing) : พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูด หรือนึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเจอมา หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ  
  4. มีความรู้สึกนึกคิดในทางลบ (Negative thoughts and feelings) : เกิดความคิดแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง นำไปสู่ความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป…สัญญาณของโรค PTSD ในเด็ก  

ผู้ใหญ่สามารถอธิบายความผิดปกติของตัวเองออกมาได้ชัดเจน แต่ในทางกลับกัน เด็กยังไม่เข้าใจสภาวะทางอารมณ์ที่ตัวเองเป็นอยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร และไม่รู้วิธีที่จะสื่อสารออกมาให้ผู้ใหญ่รับรู้

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกที่ผิดแปลกไปจากปกติ เช่น 

  • มีอาการเจ็บปวดทางกาย เช่น ปวดหัว หรือปวดท้อง  
  • ซึม เงียบผิดปกติ   
  • ไม่มีสมาธิ  
  • ฝันร้าย หรือเห็นภาพเหตุการณ์เดิมซ้ำๆ  
  • แยกตัวออกจากสังคม 
  • หลีกเลี่ยงสถานที่เกิดเหตุ  
  • นอนหลับยาก  
  • มีพัฒนาการถดถอยกลับไปเป็นเด็กเล็กๆ  
  • แสดงออกทางอารมณ์มากจนเกินไป โมโหร้าย หงุดหงิด ตกใจง่าย  
  • แสดงออกถึงเรื่องราวเหล่านั้นผ่านทางการวาดภาพหรือการทำกิจกรรม เช่น บทบาทสมมุติ  

 วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อเผชิญกับ PTSD 

  • เปิดโอกาสให้ลูกระบายความรู้สึก :

ไม่ปิดกั้น ไม่เบี่ยงประเด็นเมื่อลูกอยากจะพูดหรือบอกเล่าความรู้สึก แต่ให้รับฟังด้วยความเข้าใจ หรืออาจมอบทางเลือกให้ระบายความรู้สึกผ่านการทำกิจกรรม เช่น การวาดรูป ทั้งนี้ไม่ควรกระตุ้นให้เล่าเรื่องซ้ำๆ หากลูกยังไม่รู้สึกปลอดภัยเพียงพอ เพราะมีแต่จะยิ่งย้ำแผลใจให้เจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นไปอีก  

  • แนะนำวิธีการรับมือกับอารมณ์ : 

สอนวิธีการรับมือกับอารมณ์ สอนวิธีการผ่อนคลายในยามที่เกิดความเครียดให้กับลูก เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกการหายใจ ทำสมาธิ

  • ระมัดระวังในการพูด :

หลีกเลี่ยงการตวาด ตะคอก หรือส่งเสียงดังซึ่งอาจกระตุ้นอาการวิตกกังวลมากกว่าเดิม ไม่ควรต่อว่า หรือตำหนิ แต่ให้พยายามใช้คำพูดแง่บวก พูดชมเชยบ่อยๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูก 

  • ให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ : 

อาจจะเป็นเรื่องยากในช่วงแรก แต่การใช้ชีวิตตามปกติเป็นขั้นตอนที่จะทำให้เด็กค่อย ๆ ปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม เผชิญหน้ากับความกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ใช้เวลากับลูกมากขึ้น ให้กำลังใจ ให้ความมั่นใจจนกว่าลูกจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยปราศจากความกลัว

  • ให้ความรัก ความอบอุ่น :

คอยโอบกอดลูกไว้เสมอทุกครั้งที่ลูกต้องการ แสดงออกทางการกระทำ หรือคำพูดที่ทำให้ลูกมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัย เช่น บอกว่า “คุณพ่อคุณแม่จะปกป้องหนูเสมอ” เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าสามารถพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะมีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้างเสมอ

  • พาลูกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ :

นอกเหนือจากการดูแลประคับประคองจิตใจที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกพบจิตแพทย์ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด ฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิม  

เมื่อเด็กต้องเผชิญกับ PTSD คุณพ่อคุณแม่ คือบุคคลสำคัญที่จะทำให้ลูกก้าวข้ามผ่านช่วงเวลานี้ได้ไปได้ หากคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้เป็นอย่างดี ช่วยเหลือ ดูแลด้วยความเข้าใจ ประกอบกับการทำตามคำแนะนำของจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด แม้จะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ในที่สุดแล้ว ความรักอันยิ่งใหญ่ก็จะเยียวยา และทำให้หัวใจดวงน้อยกลับมาเต็มเปี่ยมด้วยความสุขเช่นเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save