Parents One

ลูกเรา “สายตาสั้น” หรือ “สายตาสั้นเทียม” รู้ให้ชัดก่อนตัดแว่น

ปัจจุบันมีเด็กๆ ที่มีปัญหาสายตาเพิ่มขึ้นเยอะมาก หนึ่งในนั้นก็คือปัญหา “สายตาสั้น” เเต่รู้หรือไม่ว่ามีอีกภาวะที่เด็กอาจจะเป็นเหมือนกันก็คือ “สายตาสั้นเทียม” เรามาทำความรู้จักภาวะนี้ พร้อมทั้งหาวิธีป้องกันเเละรักษาให้เด็กๆ อยู่ห่างไกลจากอาการนี้กันค่ะ

สายตาสั้นเทียมคือ ??

อาการที่เกิดจากการใช้ตาเพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ มากจนเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อภายในลูกตาเกร็ง เเละทำงานหนัก เพราะถูกใช้้งานนานกว่าปกติ จนทำให้ร่างกายมีภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เกิดเป็นการมองภาพใกล้ๆ ไม่ชัด เเต่เมื่อกล้ามเนื้อคล้ายตัวก็จะกลับมามีสายตาปกติเหมือนเดิม จึงเรียกกันว่า “สายตาสั้นเทียม” เเต่ในบางรายอาจพัฒนาไปเป็นสายตาสั้นแบบถาวรได้

สาเหตุ

อาการ

ลองสังเกตว่าลูกของคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า เพราะเป็นพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่เเสดงออกเมื่อมีภาวะนี้

การแยก “สายตาสั้น” กับ “สายตาสั้นเทียม”

อาการสายตาสั้นจริงเเละสายตาสั้นเทียมที่เหมือนกันคือมองไกลๆ ไม่ชัด ส่วน “สายตาสั้นเทียม” จะมีอาการ คือ

ตรงที่สายตาสั้นปกติจะค่อยๆ มีอาการมองไม่ชัด เเต่สายตาสั้นเทียมจะเริ่มมีอาการมองไม่ชัดแบบฉับพลันทันที เช่น ตามัวไปเลย 1 อาทิตย์

อาจมีอาการปวดตา ปวดหัว หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เเละหลังใช้สายตานานๆ ก็จะมีอาการตามัวมากขึ้น

เมื่อวัดสายตาแล้วได้ค่าที่ไม่แน่นอน เช่น เมื่อวัดสายตาได้ค่าความสั้นเป็น -5.00 เเล้วลองหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาที่หดตัวผิดปกติคลายออก แล้วลองวัดค่าสายตาใหม่ กลับได้เพียง -4.00 ซึ่งน้อยกว่าที่ตอนแรกวัดได้

วิธีป้องกัน

ลองทำตามสูตร 20 : 20 : 20 เพื่อลดการเพ่งสายตาลง คือใช้งานเพ่ง 20 นาที จากนั้นมองไกล 20 ฟุต นาน 20 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อในดวงตาผ่อนคลาย

ไม่ให้ลูกเล่นเกมส์ อ่านหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในที่มืด เพราะจะต้องใช้สายตาหนักขึ้น

ใช้แว่นที่มีกำลังตามค่าสายตาจริง ไม่ต้องใช้เเว่นที่มีค่าสายตามากกว่าที่วัดได้ โดยค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนเท่ากับค่าสายตาจริงของลูก

เด็กที่มีภาวะ “สายตาสั้นเทียม” มักมีอารมณ์หงุดหงิด เครียดง่าย มากกว่าปกติ คุณพ่อคุณเเม่จึงควรดูเเลใกล้ชิด

ควรกหนดเวลาในการเล่นที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ลูกใช้สายตามากเกินไปจนเกิดกล้ามเนื้อเกร็ง หมั่นหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำบ้างนอกจากเฝ้าหน้าจอ

ควรพาเด็กๆ ไปตรวจสายตากับจักษุเเพทย์ เพราะการตรวจสุขภาพในโรงเรียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เเละอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการพาลูกมาตรวจตากับจักษุเเพทย์จะได้ตรวจสอบระบบประสาทตา เเละสายตาโดยรวมอย่างเเม่นยำ(มากกว่าการตรวจที่ร้านขายแว่น หรือที่โรงเรียนเท่านั้น) โดยครั้งเเรกควรเป็นเมื่ออายุ 3-5 ขงวบ ถึงเเม้จะไม่มีอาการผิดปกติทางสายตา เเละมาบ่อยๆ ทุก 1-2 ปี

ถ้าสงสัยว่าลูกตัวเองมีอาการผิดปกติทางสายตาก็ไม่ควรปล่อยทิ้งเอ้าไว้นะคะ เพระปัญหาสายตาอาจทำให้เด็กๆ หมดสนุกได้ เเต่ถ้าคุณพ่อคุรเเม่ดูเเลพวกเขาอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลูกได้มากค่ะ 😀

ขอบคุณ-

haamor

thaihealth

bumrungrad