fbpx

ลูกเรา "สายตาสั้น" หรือ "สายตาสั้นเทียม" รู้ให้ชัดก่อนตัดแว่น

Writer : Mookky TCN
: 30 มกราคม 2561

ปัจจุบันมีเด็กๆ ที่มีปัญหาสายตาเพิ่มขึ้นเยอะมาก หนึ่งในนั้นก็คือปัญหา “สายตาสั้น” เเต่รู้หรือไม่ว่ามีอีกภาวะที่เด็กอาจจะเป็นเหมือนกันก็คือ “สายตาสั้นเทียม” เรามาทำความรู้จักภาวะนี้ พร้อมทั้งหาวิธีป้องกันเเละรักษาให้เด็กๆ อยู่ห่างไกลจากอาการนี้กันค่ะ

สายตาสั้นเทียมคือ ??

อาการที่เกิดจากการใช้ตาเพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ มากจนเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อภายในลูกตาเกร็ง เเละทำงานหนัก เพราะถูกใช้้งานนานกว่าปกติ จนทำให้ร่างกายมีภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เกิดเป็นการมองภาพใกล้ๆ ไม่ชัด เเต่เมื่อกล้ามเนื้อคล้ายตัวก็จะกลับมามีสายตาปกติเหมือนเดิม จึงเรียกกันว่า “สายตาสั้นเทียม” เเต่ในบางรายอาจพัฒนาไปเป็นสายตาสั้นแบบถาวรได้

สาเหตุ

  • การเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากและนานเกินไป ในระยะที่ใกล้มาก ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า เช่น สมาร์ทโฟน แทปแลต คอมพิวเตอร์  ติดต่อกันนานๆ วันละหลายชั่วโมง
  • โรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
  • ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาคลายกล้ามเนื้อต่าง หรือยารักษาต้อหิน
  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกรอกตา

อาการ

ลองสังเกตว่าลูกของคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า เพราะเป็นพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่เเสดงออกเมื่อมีภาวะนี้

  • มองกระดานไม่ชัด ต้องหยีตาถึงจะมองเห็น
  • ต้องเดินไปใกล้โทรทัศน์มากขึ้นเพื่อให้ดูชัด
  • ก้มลงอ่านหนังสือใกล้มากๆ
  • รับลูกบอลพลาดบ่อยๆ

การแยก “สายตาสั้น” กับ “สายตาสั้นเทียม”

อาการสายตาสั้นจริงเเละสายตาสั้นเทียมที่เหมือนกันคือมองไกลๆ ไม่ชัด ส่วน “สายตาสั้นเทียม” จะมีอาการ คือ

  • เริ่มมองไม่ชัดทันที 

ตรงที่สายตาสั้นปกติจะค่อยๆ มีอาการมองไม่ชัด เเต่สายตาสั้นเทียมจะเริ่มมีอาการมองไม่ชัดแบบฉับพลันทันที เช่น ตามัวไปเลย 1 อาทิตย์

  • ปวดหัว ปวดตา อาเจียน 

อาจมีอาการปวดตา ปวดหัว หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เเละหลังใช้สายตานานๆ ก็จะมีอาการตามัวมากขึ้น

  • ค่าสายตาเปลี่ยนไปมา

เมื่อวัดสายตาแล้วได้ค่าที่ไม่แน่นอน เช่น เมื่อวัดสายตาได้ค่าความสั้นเป็น -5.00 เเล้วลองหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาที่หดตัวผิดปกติคลายออก แล้วลองวัดค่าสายตาใหม่ กลับได้เพียง -4.00 ซึ่งน้อยกว่าที่ตอนแรกวัดได้

วิธีป้องกัน

  • ใช้สูตร 20:20:20

ลองทำตามสูตร 20 : 20 : 20 เพื่อลดการเพ่งสายตาลง คือใช้งานเพ่ง 20 นาที จากนั้นมองไกล 20 ฟุต นาน 20 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อในดวงตาผ่อนคลาย

  • แสงต้องพอ

ไม่ให้ลูกเล่นเกมส์ อ่านหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในที่มืด เพราะจะต้องใช้สายตาหนักขึ้น

  • ลดค่าสายตาของเเว่น

ใช้แว่นที่มีกำลังตามค่าสายตาจริง ไม่ต้องใช้เเว่นที่มีค่าสายตามากกว่าที่วัดได้ โดยค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนเท่ากับค่าสายตาจริงของลูก

  • ดูเเลอารมณ์

เด็กที่มีภาวะ “สายตาสั้นเทียม” มักมีอารมณ์หงุดหงิด เครียดง่าย มากกว่าปกติ คุณพ่อคุณเเม่จึงควรดูเเลใกล้ชิด

  • หากิจกรรมให้ลูกทำ

ควรกหนดเวลาในการเล่นที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ลูกใช้สายตามากเกินไปจนเกิดกล้ามเนื้อเกร็ง หมั่นหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำบ้างนอกจากเฝ้าหน้าจอ

  • ตรวจตาบ่อยๆ

ควรพาเด็กๆ ไปตรวจสายตากับจักษุเเพทย์ เพราะการตรวจสุขภาพในโรงเรียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เเละอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการพาลูกมาตรวจตากับจักษุเเพทย์จะได้ตรวจสอบระบบประสาทตา เเละสายตาโดยรวมอย่างเเม่นยำ(มากกว่าการตรวจที่ร้านขายแว่น หรือที่โรงเรียนเท่านั้น) โดยครั้งเเรกควรเป็นเมื่ออายุ 3-5 ขงวบ ถึงเเม้จะไม่มีอาการผิดปกติทางสายตา เเละมาบ่อยๆ ทุก 1-2 ปี

ถ้าสงสัยว่าลูกตัวเองมีอาการผิดปกติทางสายตาก็ไม่ควรปล่อยทิ้งเอ้าไว้นะคะ เพระปัญหาสายตาอาจทำให้เด็กๆ หมดสนุกได้ เเต่ถ้าคุณพ่อคุรเเม่ดูเเลพวกเขาอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลูกได้มากค่ะ 😀

ขอบคุณ-

haamor

thaihealth

bumrungrad

 

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เด็กสมองไว พ่อแม่สร้างได้
ข้อมูลทางแพทย์
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save