fbpx

สอนลูกเล็กอย่างไรให้เข้าใจความเจ็บปวดจากอุบัติเหตุอย่างเหมาะสม

Writer : OttChan
: 31 พฤษภาคม 2565

มุมกำแพงคมมั้ยนะ ถ้าชนเข้าไปต้องบวมแน่ๆ

ขอบโต๊ะ เราเอายางมาติดรึยังเนี่ย

ประตูปิดสนิทดีแล้วรึยัง ลูกจะไปเปิดเอง และหนีบมือเอาไหม

พื้นขุระขระมาก ลูกต้องล้มแน่ๆ ตอนเดิน

ตอนที่ลูกอยู่ในวัยกำลังซน อะไรรอบตัวเขาก็ดูจะอันตรายไปซะหมดเลยสำหรับหัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ ทำให้คำถาม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นผุดขึ้นมามากมาย และวิธีในการสอนเองก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสอนด้วยการบอกกล่าว หรือเป็นการให้ไปลองมีประสบการณ์เจ็บเอาเองก็มี ซึ่งบางครั้งพ่อแม่แบบเราเองก็ไม่มั่นใจหรอกว่า ต้องเท่าไหร่ล่ะ? จึงจะถูกว่าเป็นการให้ลูกเรียนรู้ความเจ็บปวดอย่างเหมาะสม

ต้องให้ลูกไปวิ่งเล่นและล้มจนเลือดออกก่อนรึเปล่า แล้วค่อยสอนว่า “เห็นไหม บอกแล้วอย่าวิ่ง”

หรือ

ห้ามอย่างเด็ดขาดซะเลยเพื่อป้องกันปัญหาล่วงหน้าโดยการบอกว่า ” ห้ามออกไปเล่นเลยนะ ล้มมาจะเจ็บ ห้ามออกไป ”

ในด้านบนนั้น เมื่อลองมาคิดดูดีๆ แล้วไม่ว่าทางไหนก็ดูจะสุดขอบเกินไปจนเราไม่รู้ได้เลยว่า ผลของการสอนหรือควบคุมแบบนี้ จะทำให้ลูกเราเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ว่าความเจ็บปวดหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นหลังการกระทำของเขาคืออะไร และต้องระวังอย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องมาช่วยกันขบคิดหาทางที่พอดีในการสอนลูกให้รู้จักการระวังตนเองค่ะ มาเริ่มไปด้วยกันเลย!!!

รู้จักตัวตนของลูก และหาวิธีสอนที่เหมาะกับเขา

สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องรู้ก่อนเลยคือ ลูกๆ ของเรานั้น ชอบเรียนรู้ด้วยวิธีแบบไหน เพราะวิธีการสอนนั้นมีหลากหลายวิธี เฉกเช่นเดียวกับความอยากรู้ของเด็กเล็ก ว่าเขาต้องการรู้ในเรื่องที่อยากรู้ด้วยวิธีการใด เพียงบอกก็เข้าใจ หรือต้องได้ทดลองเองจึงจะมีประสบการณ์ แต่ทั้งหมดนั้น ตัวผู้ปกครองจะต้องเป็นคนที่ทำการบ้านอย่างหนักในการเตรียมการสอนให้ลูกเพราะยิ่งหาวิธีที่เข้ากับตัวเด็กได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูแลตัวเองได้เร็วขึ้นเท่านั้น ต้องไปลืมว่าเด็กทุกคนมีความแตกต่าง เราต้องเลือกวิธีที่เหมาะกับเขาให้มากที่สุด

สร้างประสบการณ์ไปพร้อมกับพ่อแม่ เพื่อเป็นบทเรียนที่เข้าถึงได้ง่าย

บางครั้ง เราเองก็อยากให้ลูกเรียนรู้จากการเจ็บจริง หรือโดนเข้าแล้วจริงๆ เพื่อให้ลูกได้มีความทรงจำ และประสบการณ์ในการเข้าใกล้ของอันตรายเหล่านั้น แต่ทว่าบางครั้ง มันอาจกลายเป็นปม หรือฝันร้ายไปตลอดของพวกเขา ดังนั้น หากต้องการบอกให้ลูกรู้ว่าอะไรที่ต้องระวัง บางครั้งเราอาจต้องทำให้ดูก่อน และให้เขาทำตาม

เราไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเหตุการณ์สอน แล้วจึงสอน แต่หากมีโอกาส ก็ทำให้เขารู้ตั้งแต่ตอนนั้นว่าหากต้องเจ็บตัวจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะเป็นอย่างไร เพียงเท่านี้ เด็กๆ ก็จะสามารถเรียนรู้ความเจ็บปวดได้ตั้งแต่ต้น โดยไม่ต้องรอให้เจ็บตัวเสียก่อน แล้วจึงรู้ว่ามันทำให้เจ็บ เช่นเหตุการณ์ตัวอย่างง่ายๆ ที่สามารถสอนได้อย่าง

ลองเคาะลงไปที่ขั้นบันไดให้ดัง ก๊อก ก๊อก บอกให้เขาลองทำตาม และพอลูกเคาะ เราจึงค่อยถามความรู้สึกเขาว่า เจ็บรึเปล่า เห็นไหมว่าบันได้มันแข็งนะ ถ้าเราล้มที่บันได เราจะเจ็บ เราต้องระวังเวลาเดินขึ้นลงนะ จะได้ไม่เจ็บ

เมื่อลูกเจ็บให้สอนเดี๋ยวนั้น เพื่อสร้างการระวังตัวอัตโนมัติ

จากข้อแรกคือในกรณีที่ยังไม่เกิด แต่หากเกิดขึ้นแล้วก็ต้องใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์

ทุกช่วงเวลาในการเลี้ยงลูกคือช่วงเวลาทองที่เราต้องทำทุกช่วงให้มีคุณค่ามากที่สุด รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยของลูกเองก็เช่นกัน ที่ไม่มีบทเรียนไหนจะดีไปกว่า การสอนเขาในทันทีหลังพึ่งเกิดเรื่องขึ้น เพราะจะทำให้ภาพจำของลูกนั้นชัดเจน แต่การสอนนั้นจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช่การถากถาง หรือสมน้ำหน้า ไม่งั้นจากความระวังจะกลายเป็นความกลัวได้ ซึ่งสถานการณ์ที่สอนได้ทันที มีตัวอย่างดังนี้

ลูกเดินแล้วหกล้ม คำที่ควรสอนคือ ” เจ็บใช่มั้ยครับ ที่ลูกล้มเพราะครั้งลูกวิ่งเร็วไป ต่อไปวิ่งช้าๆ นะครับ จะได้ไม่ล้มอีก ไปครับไทำแผลกัน ”

ลูกเอามือไปแตะโดนแก้วกาแฟร้อน คำที่ควรสอนคือ ” มันร้อนครับ เห็นมั้ยว่านิ้วแดงเลย ต้องไม่ไปจับมันอีกนะคะ เห็นอะไรมีควัน มีไอน้ำต้องเรียกพ่อแม่ดูให้เสมอนะ ”

บอกลูกให้เรียกเราเสมอ เมื่อเขากำลังจะทำอะไร

บางครั้งเด็กๆ เองก็ไม่ได้อยากจะซนแต่เพียงเพราะว่าวัยของเขาเป็นช่วงแห่งการจดจำทำให้มีบ้างที่จะทำให้ใจเราตกไปตาตุ่มเวลาเห็นเขาหยิบจับมีดขึ้นมาเล่น, พยายามจะยกแก้วที่หนักมากๆ เพื่อรินน้ำไว้ดื่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มาจากการเลียนแบบผู้ใหญ่เท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะดื้อหรือเล่นซนอะไร ดังนั้นเราจึงต้องออกตัวเสมอว่า หากลูกต้องการทำอะไร ขอให้เขาบอก เพื่อให้เราได้เข้ามาช่วยเหลือ หรือคอยอยู่ดูแลในระหว่างที่กิจกรรมนั้นดำเนินอยู่

เพราะนอกจากจะลดโอกาสที่ลุกจะต้องเจ็บตัวลงแล้วยังทำให้ลูกมีประสบการณ์ในการระวังสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น

” จะเปิดตู้เย็น เรียกพ่อมาเปิดด้วยกันนะครับ ประตูมันหนัก ”

” อย่าลืมเรียกแม่ เวลาจะปีนขึ้นเก้าอี้นะคะ หนุขึ้นเองไม่ไหว เดี๋ยวให้แม่ช่วยนะ ”

 

ความปลอดภัยของลูกคือหน้าที่ของพ่อแม่

ทุกการสอนนั้น แม้ว่าลูกของเราจะระวังตัวเองได้ดีมากขึ้น หรือมีสติที่จะมองซ้ายมองขวามากแค่ไหน แต่ก็อย่าลืมว่า หน้าที่ที่ต้องระวังความปลอดภัยให้ลูกคือตัวของผู้ปกครองเอง ซึ่งก็สามารถทำได้ด้วยกันหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น

  • การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับลูก
  • เก็บอุปกรณ์อันตราย, ของมีคมต่างๆ ให้พ้นมือเด็ก
  • ไม่วางยาอันตราย หรือสารเคมีไว้ให้เด็กเห็น
  • หมั่นเก็บกวาด และตรวจเช็กสภาพภายในบ้านเสมอเพื่อระวังภัยที่คาดไม่ถึงอย่างสัตว์เลื้อยคลาน, ของเล่นมีสันมีคมที่ซ่อนอยู่

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับลูก เป็นจุดเริ่มต้นของความปลอดภัยที่จะตามมาทั้งหมด เพราะนอกจากจะทำให้เขาสามารถไปไหนมาไหนในบ้านได้อย่างคล่องตัวแล้ว ผู้ปกครองแบบเราเองก็สามารถวางใจได้ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้น หรือหากเกิดขึ้น ก็จะสามารถเข้าช่วยเหลือ และหาสาเหตุได้ทันท่วงที

 

ที่มา so03.tci-thaijo , aboutmom

 

 

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
3 มกราคม 2563
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save