เรียกได้ว่าเจ้าแมวเหมียวก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์อย่างเรานิยมนำมาเลี้ยงหรือดูแล เพราะมันเป็นเหมือนเพื่อนที่คอยอยู่ข้างเราในเวลาที่เราเหงา ด้วยนิสัยที่ขี้อ้อนสุดๆ ของมันนั่นเอง แต่เมื่อถึงเวลาที่เรามีลูกน้อยในช่วงตั้งครรภ์ ก็มีหลายๆ ข้อมูลเลยค่ะที่บอกว่าห้ามเลี้ยงแมวเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีโรคบางอย่างติดเข้าสู่คุณแม่และลูกในครรภ์ได้
เพื่อไขข้อข้องใจว่าจริงๆ แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสามารถเลี้ยงเจ้าแมวได้หรือเปล่า เราจำเป็นต้องทิ้งแมวเหมียวไหม วันนี้เราจะพาไปดูข้อเท็จจริงพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ข้อดีของการเลี้ยงแมวขณะตั้งครรภ์
- แม่ๆ ผ่อนคลายและลดความวิตกกังวล
- เป็นเพื่อนคลายเหงา ส่งผลต่ออารมณ์ของแม่และลูกในครรภ์
- การเล่นกับสัตว์เลี้ยงเป็นการออกกำลังกายไปในตัว
ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงห้ามเลี้ยงแมว
เพราะในลำไส้ของแมวจะมีเชื้อโรคหรือพยาธิที่ทำให้เกิดโรค “ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ” หรือที่เราเรียกๆ กันว่า โรคขี้แมว โดยเจ้าโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ได้หากไปสัมผัสกับขี้เกียจแมว และเชื้อโรคนี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายของแม่และส่งผ่านไปยังลูกในครรภ์ได้ด้วย
คุณแม่มีโอกาสติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน
- อันตรายที่สุดคือการติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้
- 60% ไม่พบอาการผิดปกติในเด็ก
- 10% จะมีโอกาสเสียชีวิต
- 30% จะมีอาการรุนแรงต่อเด็ก
นอกจากนี้ยังพบว่า ทารกที่ติดเชื้อ หลังคลอดแล้ว 6-7 เดือน อาจจะตาบอด ปัญญาอ่อน มีปัญหาด้านการเรียนรู้ แต่ในบางเคสก็ไม่พบอาการรุนแรง หรือ ทารกบางคนแม้ได้รับเชื้อก็ไม่มีอาการผิดปกตินั่นเอง
อาการ
กรณีไม่รุนแรง
- อาการคล้ายไข้หวัด
- ปวดตามกล้ามเนื้อ 2-3 วัน แล้วค่อยๆ หาย
กรณีอาการุนแรง
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง (ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด)
- ร่างกายด้านหนึ่งอ่อนแรง ชัก
- มีปัญหาด้านการมองเห็น ตาพร่ามัว
- มีปัญหาด้านการพูด
- มีปัญหาด้านการเดิน
ถ้ามีแมวต้องจัดการแมวอย่างไร โดยไม่ทิ้งน้องแมว
- ควรเลี้ยงแมวในระบบปิด งดแมวสัมผัสกับพื้นดินหรือสิ่งปนเปื้อนภายนอก
- ไม่ให้แมวกินเนื้อที่ปรุงไม่สุก
- หลีกเลี่ยงการให้แมวสัมผัสหรือล่าเหยื่อตามธรรมชาติ เช่น นก หนู เป็นต้น
- ควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจแอนตีบอดีเชื้อโรคในขี้แมว เพื่อคัดกรองเบื้องต้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติอย่าไร
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำไม่สะอาด
- ใส่ถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสดินหรือทรายแมว
- ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
- ปิดกระบะทรายแมวที่ทิ้ง ไว้นอกบ้านเสมอ
- เปลี่ยนกระบะทรายแมวทุกวัน
- ไม่รับแมวจรมาใหม่ขณะตั้งครรภ์
- กำหนดพื้นที่เลี้ยงแมวให้ชัดเจน ไม่นำแมวมานอนด้วย
- ทำความสะอาดของใช้แมว เช่น กรง ชามอาหาร อยู่เสมอ
ข้อควรรู้
- โรคนี้ไม่ได้เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน
- หากแม่ติดเชื้อโรคขี้เกียจแมว เชื้อจะผ่านรกไปยังทารกและทำให้เกิดโรคขี้เกียจแมวแต่กำเนิดได้
- หากแม่ได้รับเชื้อโรคขี้เกียจแมวมาก่อนการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีแอนติบอดี จึงทำให้ไม่เสี่ยงต่อการส่งต่อไปยังทารก
อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ, โรงพยาบาลสมิติเวช, POST TODAY