fbpx

วิธีดูแลตัวเองของแม่ท้องวัย 30+

Writer : nunzmoko
: 21 พฤษภาคม 2561

ด้วยแนวโน้มในปัจจุบันที่ผู้หญิงมักแต่งงาน และมีลูกในวัย30 ปีขึ้นไป ทำให้หลายคนต้องประสบกับภาวะมีบุตรยาก รวมถึงความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากภาวะการตกไข่ที่ลดน้อยลงโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัย 35 ปีขึ้นไปซึ่งถือกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ต้องการมีบุตร โดยพบว่าผู้หญิงจำนวนถึงหนึ่งในสามของกลุ่มนี้ มีปัญหาการมีบุตรยาก ขณะที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น วันนี้มีคำแนะนำให้ว่าที่คุณแม่ปฎิบัติตามดังนี้ค่ะ

ภาวะความเสี่ยง และโรคแทรกซ้อน

นอกเหนือจากการตั้งครรภ์ยากแล้ว ว่าที่คุณแม่ยังต้องระวังความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในรายที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษมักเกิดขึ้นในกรณีที่มารดาตรวจพบโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  • การแท้งบุตร โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรก มักมีความเสี่ยงต่อการแท้ง
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารก (ดาวน์ซินโดรม) ความเสี่ยงมักเพิ่มสูงขึ้นตามอายุของมารดา
  • การคลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ
  • ภาวะรกเกาะต่ำ หรือภาวะที่รกเกิดการฝังตัวหรือเกาะอยู่ใกล้กับบริเวณปากมดลูกหรือขวางปากมดลูก ทำให้มีเลือดออกโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรือเกิดการเสียเลือดมากขณะคลอดซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้วิธีผ่าคลอดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ

วิธีการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย

1. ไปพบแพทย์เพื่อตรวจความพร้อมของร่างกาย

ไปพบแพทย์เพื่อตรวจความพร้อมของร่างกายก่อนที่จะมีบุตรและควรพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ รวมถึงไปตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

2. ทานวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิค 400 ไมโครกรัมต่อวัน

ใส่ใจในโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารหรือวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิคให้ได้ในปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน

3. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินกว่ามาตรฐาน

คุณแม่ท้องต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินกว่ามาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง

4. งดแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดสูบบุหรี่

งดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ท้องทุกคนพึงปฎิบัติอยู่แล้วค่ะ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

5. หมั่นออกกำลังกาย ภายใต้การแนะนำของแพทย์

คุณแม่ท้องควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง แต่ต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ด้วยค่ะ

6. ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะจะเสี่ยงต่อลูกน้อยในครรภ์

7. หลังคลอด ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 8 เดือน

หลังคลอด ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 8 เดือน เพราะนมแม่มีประโยชน์ช่วยให้ลูกได้สารอาหารครบถ้วน มีภูมิต้านทาน และนอกจากเป็นประโยชน์ต่อลูกแล้ว การให้ลูกกินนมแม่ ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น ผอมเร็ว เพราะไขมันในร่างกายเอามาทำเป็นน้ำนมให้ลูกกิน และยังเป็นการคุมกำเนิดไปในตัว

จะเห็นได้ว่า แม้ว่าการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่มากขึ้นจะค่อนข้างมีข้อจำกัดในด้านความสมบูรณ์ของร่างกายแต่หากคุณแม่มีการเตรียมความพร้อมและไม่ละเลยการดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ “อายุ” ก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการมีบุตรอย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา – bumrungrad.com

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
25 กันยายน 2560
สิทธิประโยชน์ “ฝากครรภ์ฟรี” ปี 60
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save