fbpx

รู้จักสารทาเลต (Phthalates) ภัยเงียบแอบแฝงในของเล่น!!

Writer : Phitchakon
: 24 สิงหาคม 2565

ภัยอันตรายอยู่รอบตัวเราจริงๆ ค่ะ แม้แต่ของเล่นหน้าตาน่ารักนุ่มนิ่มที่เจ้าตัวน้อยพกติดตัวไปไหนมาไหนก็อาจจะไว้ใจไม่ได้ เผลอๆ ระหว่างที่เรากำลังนั่งยิ้มเอ็นดูลูกคว้ายางกัด คว้าตุ๊กตายางบีบเข้าปาก งับหนุบหนับตามประสาเด็กคันเขี้ยว ลูกของเราอาจกำลังรับสารพิษเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

Parents One อยากจะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านรู้จักกับสารทาเลต (Phthalates) ที่ชื่อฟังดูแล้วอาจไม่คุ้นหู แต่อยู่ใกล้ชิดเด็กๆ มากจนเราคาดไม่ถึงเลยล่ะค่ะ มาดูกันดีกว่าว่าทาเลตคืออะไร อยู่ที่ไหนบ้าง นอกจากนี้จะส่งผลอย่างไรกับลูกของเรา จับให้ได้ รู้ให้ทัน เพื่อห่างไกลภัยร้ายซ่อนแอบใกล้ตัวลูกนะคะ

สารทาเลต (Phthalates) คืออะไร

สารทาเลต (Phthalates) คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่ทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่นและอ่อนตัว ช่วยเพิ่มภาวะคืนรูป ทำให้มีความทนทาน แตกหักยาก มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น มักพบจากสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงของใช้สำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะของเล่น

พบสารทาเลตจากที่ไหนได้บ้าง

สารทาเลตมีอยู่ในผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น

  • ของเล่นพลาสติกที่มีเนื้อนิ่ม อ่อนตัวได้
  • ขวดนม
  • ยางกัด จุกหลอก
  • เครื่องสำอาง
  • ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น สบู่ แชมพู น้ำหอม ยาทาเล็บ สเปรย์ฉีดผม
  • ภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร เช่น ถุง ซอง ฟิล์มห่ออาหาร กล่องพลาสติก

สารทาเลตเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไรกันนะ

สารเคมีกลุ่มนี้ ไม่มีพันธะเคมีเชื่อมกับโพลิเมอร์ แต่จะแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของพลาสติก เพราะฉะนั้นจึงสามารถหลุดออกจากสิ่งของ และเข้าสู่ร่างกายได้ และด้วยธรรมชาติของเด็กที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส จึงมีความเสี่ยงได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าไปสะสมในร่างกายได้ง่าย

  • หยิบเข้าปาก กัด เคี้ยว
  • สัมผัสหยิบจับ
  • สูดดม เข้าทางลมหายใจ

อันตรายจากสารทาเลต

ยังไม่มีการรายงานอันตรายต่อมนุษย์ แต่มีวิจัยในสัตว์ทดลองว่าหากได้รับสารในปริมาณสูงจะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับสัตว์ทดลองอายุน้อย ถึงสารทาเลตจะไม่ส่งผลเสียกับร่างกายทันที แต่การได้รับสารทาเลตในปริมาณมากๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นผลเสียกับสุขภาพในระยะยาว ดังนี้

  • เป็นพิษต่อระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์
  • ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ
  • ระคายเคืองระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีผลทำลายอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ และทางเดินอาหาร

หลายประเทศจึงควบคุมการใช้สารทาเลต ส่วนประเทศไทยเราเอง คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) มีเกณฑ์ควบคุมปริมาณสารทาเลตในของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ และของเล่นที่เด็กสามารถนำเข้าปากได้ ต้องไม่เกิน 0.1%

ทำอย่างไรให้ห่างไกลสารทาเลต

คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจกับการซื้อสิ่งของให้เจ้าตัวเล็กมากๆ โดยสามารถทำได้โดย

  • อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เลือกให้เหมาะกับวัยของลูก
  • สังเกตสัญลักษณ์ Phthalate-Free หรือ PVC-Free
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่ราคาถูกจนเกินไป ถูกและดีอาจไม่จริงเสมอ แทนที่จะคุ้มค่าอาจได้ของแถมเป็นสารปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีกลิ่นเคมีรุนแรง

และหากเล่นของเล่นชิ้นไหนแล้วมีอาการปวดหัว ไม่สบาย ให้หลีกเลี่ยงของเล่นชิ้นนั้นทันที

เรื่องของเล่นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยใช่ไหมคะ ความจริงแล้วยังมีสารเคมีปนเปื้อนอีกมากมายหลายชนิด ในขณะเดียวกันก็ยังมีอันตรายจากของเล่นที่อาจเกิดขึ้นได้อีกเพียบ การซื้อของเล่น ของใช้ครั้งหนึ่ง ความปลอดภัยจึงเป็นข้อสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดเลยค่ะ

ที่มา :

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
16 สิงหาคม 2560
5 วิธีที่คุณพ่อเล่นกับลูกได้
ชีวิตครอบครัว
8 เทคนิคเลือกของเล่นให้เด็กวัยหัดเดิน
กิจกรรมของครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save